PDA

View Full Version : อัจฉริยะ ที่เกิดจาก "ความพยายาม" มีจริงไหม?


zzz010307
04 มิถุนายน 2005, 21:54
ขอถามสิ่งที่อาจจะไม่เกี่ยวกะคณิตศาสตร์หน่อยนะครับ

คือผมอยากทราบว่า

อัจฉริยะในทางคณิตศาสตร์นั้น

จำเป็นต้องมีพรสวรรค์มาตั้งแต่เกิดเลยหรือไม่?

สมมติว่า มีคนๆหนึ่ง ที่ไม่มีพรสวรรค์ทางด้านนี้เลย

จะสามารถเก่งเท่ากับพวกที่มีพรสวรรค์มาตั้งแต่เกิดได้หรือไม่?

จะสามารถเก่งด้วยความพยายามและการฝึกฝนอย่างหนักเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีพรสวรรค์ได้หรือไม่ครับ?

แบบว่า ตอนแรกไม่เก่งเลย สอบทีไรได้ 0 เกรดคณิตไม่เคยเกิน 2 จะสามารถฝึกฝนตนเองให้เก่งเท่าๆกับตัวแทนคณิตโอลิมปิก หรือนักคณิตศาสตร์เก่งๆได้หรือไม่?

ผมเองไม่ค่อยเก่งคณิตศาสตร์เลยครับ แต่ก็รักวิชานี้ เลยอยากถามให้แน่ใจ

ไม่งั้นคงต้องตัดใจไปหาวิชาเอกวิชาอื่นเอา

gon
05 มิถุนายน 2005, 19:00
เส้นชัยของนักคณิตศาสตร์ ไม่ได้อยู่ที่เกรด 4 หรือ ตัวแทนโอลิมปิกเท่านั้นนะครับ. หนทางของนักคณิตศาสตร์ไม่มีวันจบวันสิ้นครับ. การได้เกรด 4 หรือ รางวัลอื่น ๆ เป็นทางผ่านอย่างหนึ่งซึ่งเป็นผลลัพธ์ของความอึด. !

นักคณิตศาสตร์ที่ได้รับการขนานนามว่า "อัจฉริยะ" ทั้งหลาย ถ้าเราลองไปอ่านประวัติดูโดยละเอียด ก็จะพบว่าล้วนแล้วแต่ขยันจนแทบบ้า !!!! . . .. ... ..... ........ .............
ตัวอย่างที่ชัดเจน ก็คือ รามานุจัน ซึ่งไม่ได้มีอาจารย์เป็นตัวเป็นตน ไม่ได้เรียนวิธีการคิดแบบที่เขาเรียน รามานุจัน มีเพียงตำราอยู่ 2 เล่ม คือ "Loney's Trigonometry " กับ "Carr's A Synopsis of Elementary Results in Pure Mathematics" โดยเฉพาะหนังสือเล่มหลัง เป็นหนังสือบ้า ๆ แบบหนึ่ง เอ๊ะ. จะว่าบ้าก็ไม่ใช่ เป็นหนังสือของ Carr ซึ่งเป็น Tutor อยู่ที่ Cambridge , Carr รวบรวม ทบ.ต่าง ๆ กว่า 6000 ทบ. แต่เกือบทั้งหมดไม่มีบทพิสูจน์ ;)

ด้วยความรักในวิชาคณิตศาสตร์ รามานุจันทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจเพื่อที่จะพิสูจน์ ทบ. ต่าง ๆ ในหนังสือ 2 เล่มที่เขามีอยู่ และ ทำให้เขาได้บรรลุ ถึง ทบ. ใหม่ได้ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 12 ปี (1903 - 1914) !!!

ดังนั้น ถ้าถามว่า รามานุจันเป็นคนอัจฉริยะไหม ตอบได้เลยว่า "เขาเป็นอัจริยะในเรื่องของความบ้ารักคณิตศาสตร์" คิดดูถ้าไม่บ้าจริง ๆ จะทำแบบนั้นได้เป็นสิบ ๆ ปี ? แล้วถามว่า ถ้าไม่ขยันจะทำได้ไหม ??? :cool:

คนเราอาจจะเกิดมามีพรสวรรค์ต่างกัน โดยแต่กำเนิด แต่เหล่านี้เราไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขออกมาเทียบเคียงได้ คนเรามีความสามารถในการทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้ไม่เท่ากัน แต่เวลาและโอกาสมนุษย์มีเท่ากัน ถึงแม้ว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาโดยกำเนิด อาจจะไม่เอื้อให้คน ๆ นั้นพัฒนาตัวเองได้ในระยะต้น แต่เมื่อเขาโตขึ้นกว่านี้ เขาจะสามารถเลือกชีวิตของเขาได้เองว่า จะมุ่งมั่นกับอะไรแค่ไหน.

รามานุจัน วัยเด็กเราไม่ทราบประวัติของเขามากนัก เรารู้แต่ว่า เขาสอบได้ทุน 2 ครั้ง และสอบตกปลายภาคทั้ง 2 ครั้ง เพราะเขาสอบผ่านวิชาคณิตศาสตร์แค่วิชาเดียว ต่อมาเขาถูกบังคับแต่งงาน และ จำต้องหางานเพื่อหาเลี้ยงชีพ ซึ่งสุดท้ายเขาได้เป็นเสมียน และ โชคดีอย่างมาก ซึ่งเขามีนายจ้างที่คอยสนับสนุนให้เขาคิดค้นผลงานออกมามาก ๆ

เอ๊ะชักยาว. พี่อยากจะบอกให้ฟังว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ในการทำสิ่งใดให้ลุล่วง จักต้องประกอบด้วยหลัก อิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หากมี 4 ข้อนี้ครบพร้อมแล้ว อนาคตของน้องก็อยู่ในกำมือของน้องครับ. ;)

จะเลือกเดินทางไหน ย่อมสำเร็จสมปรารถนาแน่นอน อย่าไปสนใจเรื่องพรสวรรค์โดยแต่กำเนิดมากนัก ตั้งแต่เกิดมาพี่ยังไม่เคยเจอคนที่เรียกว่านั่งเฉย ๆ แล้วทำอะไรได้สำเร็จเลย เบื้องหลังแต่ละคน ล้วนแล้วแต่จะต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมาก ยิ่งถ้าที่บ้านน้องมีพร้อมทุกอย่าง ยิ่งต้องรีบใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ครับ. :)