PDA

View Full Version : อยากทราบ ความแตกต่าง ระหว่าง text book กับ ตำราไทย


zzz010307
18 มิถุนายน 2005, 23:09
มันต่างกันยังไงเหรอครับ?

เห็นมีแต่คนบอกว่า คุณภาพของ text book ดีกว่า ตำราดีๆของไทยเกือบทั้งหมด

งงครับ มันต่างกันตรงไหนเหรอครับ?

ผมเคยอ่าน text มาสองสามเล่ม

ผมว่า เนื้อหาที่เขียนน่ะ น้อยกว่าของไทยอีก

อย่างเช่น เขาจะเขียนมาบทละประมาณ 50-60 หน้า

แต่ของไทย ประมาณ 100 กว่าหน้า ละเอียดมากด้วย

ก็เลยค่อนข้างงงครับ

มันดีกว่าตำราดีๆของไทยตรงไหนเหรอครับ?

ช่วยตอบด้วยคับ เฉพาะ text คณิตศาสตร์ ก็ได้

R-Tummykung de Lamar
18 มิถุนายน 2005, 23:43
ใช่ครับๆ ผมสนับสนุนตำราไทยนะครับ :mad:

แต่บางเรื่องก็สมควรใช้ ตำราต่างประเทศครับ อย่างคณิตเนี่ย มันก็มีระดับของมัน ที่หน้าน้อยๆนั่นเค้าอาจจะแทรก อะไรดีๆไว้ก็ได้ครับ :D

passer-by
19 มิถุนายน 2005, 00:36
คงเป็นความโชคดี ของน้อง zzz 010307 ที่ เจอตำราไทยที่ หนา ละเอียด และอ่านรู้เรื่อง เพราะเท่าที่เคยเห็นมา หาตำราไทยแบบนี้ยากมากครับ

ยังดีที่ ปัญหาคุณภาพ ตำราไทยกับ textbook ในระดับ มัธยมและประถม ยังไม่เข้มข้นเท่าไหร่ครับ เท่าที่เคยได้ยิน จะเป็นพวก ชีววิทยาซะมากกว่า

แต่ถ้าระดับมหาวิทยาลัย อันนี้ เป็นปัญหาใหญ่พอสมควร เพราะต้องเรียนวิชาที่เฉพาะทางมากขึ้น มีตำราไทยอ่านน้อยลง

สาเหตุหนึ่งที่มี คนไม่พอใจในคุณภาพของตำราไทย อันนี้ ผมว่า มาจาก ลักษณะการเขียน ของคนเขียนคนนั้น ซึ่งต้องยอมรับว่า มีตำราไทย หลายเล่ม ที่แปลมา ชนิดที่ว่า บรรทัดต่อบรรทัด ไม่มีการ ขัดเกลา เรียบเรียง ให้รู้เรื่อง

ถ้าเป็นคณิตศาสตร์ ปัญหานี้ จะพบเห็นมากใน ตำราเลข ที่มี wording เยอะๆ มีพิสูจน์ยาวๆ แถมยังแถมศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน เข้าไป ยิ่งทำให้คนอ่าน งงหนักกว่าเดิมอีก

แล้วศัพท์ ราชบัณฑิต สำหรับคณิตศาสตร์ เนี่ยก็ไม่ธรรมดา ครับ เท่าที่ผมเห็น ตำราไทยที่ อ่านแล้วเครียดมาก จนต้องวิ่งกลับไปหา textbook ก็คือ วิชา Abstract Algebra หรือ พีชคณิตนามธรรม ถ้าไม่เชื่อ ลองไปพิสูจน์ ที่ CU book สาขาไหนก็ได้ครับ

แต่ถ้าเจอคนแปล แปลดี เขียนรู้เรื่อง พูดภาษาเทพให้คนเข้าใจได้ ตำราไทย เล่มนั้น ก็จะปลอดจากเสียงก่นด่า และ up ยอดขายไปด้วย ซึ่งตำราไทย ลักษณะนี้ ก็มีให้เห็นอยู่บ้าง เพียงแต่ไม่เยอะมาก

tana
19 มิถุนายน 2005, 22:22
อืม เท่าที่เห็นมา ตำราของไทยนี่ หนังสือของโครงการ สอวน อันใหม่นี้เขียนดีมากแล้วครับ ทั้ง 3 วิชาเลย ( แต่ชอบเล่ม ทฤษฎีจำนวนมากสุดครับ ) หนังสือ math ของรามก็มีที่ใช้ได้อยู่หลายเล่มครับ วิชา Abstract Algebra ของรามก็พอโอเคครับ ( อันที่เล่มใหญ่นะครับ ) แต่เนื้อหาน้อยไปหน่อย กับของรามอีกอันที่โอเคก็คือ Combinatorics ครับ ส่วนหนังสือ แคลคูลัส นี่ของ อ.จุฬาเขียนนี่ก็โอเคแล้วครับ แต่พวกการพิสูจน์ยังน้อยไปครับ ถ้าอยากดูการพิสูจน์ของแคลคูลัสจริงๆ คิดว่าคงต้องดูจาก Text จะดีกว่า เพราะมันเข้าไปผสมอยู่ในวิชา Math Analysis ด้วยอ่านะครับ

gon
20 มิถุนายน 2005, 18:57
ข้อดีของ Text คือ มันมีจำนวนเนื้อหลากหลาย และ ลึกกว่าในหลาย ๆ เรื่อง เพราะเขียนโดยภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล จึงทำให้คนที่รู้ภาษาอังกฤษสามารถ go inter ได้ อย่างเช่น ตอนผมจะหาเรื่องตรีโกณมิติ อย่างเข้มมาศึกษา หาเท่าไรก็ไม่มีหรอกของภาษาไทย แต่ไปเจอ Text เมื่อราวยุค 19xx สุดยอดมาก :cool:

ถ้าจะให้หนังสือภาษาไทยมีความหลากหลาย จะต้องมีนักเขียนมากกว่านี้ โดยหลักการผมคิดว่าอาจารย์ที่สอนอยู่ทุกระดับชั้น 10 ปี ผ่านไป ควรจะมีตำราออกมาสัก 1 เล่ม ถ้าเรามีครู อาจารย์ สัก 2000 คน 10 ปีก็ต้องมีอย่างน้อย 2 หมื่นเล่ม แต่ในความจริงมันไม่ใช่ คนที่คิดจะเขียนตำราอย่างจริงจังมีอยู่น้อย ทางแก้ง่ายที่สุดคือ ตัวเราเองนั่นล่ะ ต้องพยายามเขียนออกมาในชีวิต อย่างน้อย 1 เล่ม ก็ดีครับ. :)

PaoBunJin
23 กรกฎาคม 2005, 21:43
พี่กรครับ ไอ้ text ตรีโกณเข้มข้นที่ว่านี่ ชื่อเรื่องอะไรเหรอครับ อยากอ่านบ้าง ไม่รู้ที่ห้องสมุดจะมีหรือปล่าวครับ แล้วพี่กรไปเจอที่ไหนครับ ขอบคุณล่วงหน้ากับคำตอบครับ :D

gon
24 กรกฎาคม 2005, 00:17
Text ที่ว่าชื่อ Plane Trigonometry ครับ. โดยนักคณิคศาสตร์ที่พี่ชื่นชอบมากคนหนึ่งคือ Todhunter เจอที่ไหน ? เจอที่ห้องสมุดคณะวิศวะพี่เองครับ. แต่เป็นการมาหาหลังจากจบไปแล้วราว 4 ปีมั้ง โ่ง่อยู่ตั้งนานไม่รู้ว่าที่้ห้องสมุดคณะตัวเองมีขุมทองซ่อนอยู่ :cool: ซึ่งอยู่ในสภาพเรียกว่าจะไปมิไปแหล่เพราะหนังสือมันเก่ามาก พิมพ์ครั้งแรกปี 1891 ครั้งที่พี่มีปี 1925 ห้องสมุดที่ไหนจะมีได้ก็คงต้องขลังสักหน่อย หนังสือเล่มนี้ถ้าจะประมาณระดับแบบนิยายจีน ก็ต้องบอกว่าระดับคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น พลังขั้นสี ... ว่าไปเข้าโน่น 555 ;)