PDA

View Full Version : ผลการประกาศรางวัล Fields Medals ปี 2006


nooonuii
24 ตุลาคม 2006, 11:12
รางวัล Fields Medal เป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดสำหรับนักคณิตศาสตร์เทียบเท่ารางวัลโนเบล ชื่อเหรียญรางวัลตั้งขึ้นตามชื่อของ John Charles Fields นักคณิตศาสตร์ชาวแคนาดา รางวัลนี้จะมีการประกาศทุกๆสี่ปี และปีนี้ปี 2006 มีผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด 4 คน คือ
1. Andrei Okounkov
2. Grigori Perelman
3. Terence Tao
4. Wendelin Werner

วันนี้เพิ่งสอบเสร็จ ว่างงานมาก ผมจึงไปค้นประวัติและผลงานคร่าวๆของทั้งสี่คนมาให้อ่านกันครับ :D

Andrei Okounkov เกิดที่กรุง Moscow ประเทศรัสเซีย จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Moscow State University ปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัย Princeton ในอเมริกา ผลงานที่ได้รับรางวัลคือการนำทฤษฎีความน่าจะเป็นและ Representation Theory ไปประยุกต์ใช้ในวิชา Algebraic Geometry ซึ่งเป็นวิชาที่นักคณิตศาสตร์กำลังสนใจกันอย่างกว้างขวาง :great:

Grigori Perelman เป็นชาวรัสเซียเช่นเดียวกัน จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Saint Petersburg State University สำหรับผลงานของคนนี้นั้นนักคณิตศาสตร์กำลังตรวจสอบกันอย่างเอาเป็นเอาตายเพราะพี่แกเป็นคนแรกที่ตีพิมพ์งานวิจัยที่นำไปสู่บทพิสูจน์ของ Conjecture สำคัญทาง Topology สองอย่างคือ Poincare Conjecture และ Thurston Geometrization Conjecture ในชื่อ ?Ricci Flow with Surgery on 3 ? Manifolds? สำหรับ Poincare Conjecture นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นหนึ่งในเจ็ด Millennium Problems ซึ่งมีการตั้งรางวัลไว้สูงถึงปัญหาละหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ :died: ส่วน Thurston Geometrization Conjecture เป็น conjecture ที่ต่อยอดจาก Poincare Conjecture อีกทีนึงครับ ตอนนี้เป็นที่แน่ชัด(รึเปล่า?)แล้วว่า Poincare Conjecture นั้นได้ถูกพิชิตไปเรียบร้อยแล้วโดยนาย Perelman คนนี้เพราะมีรายงานว่าไม่ตรวจพบข้อผิดพลาดใดๆในแนวทางการพิสูจน์ที่เขานำไปตีพิมพ์ไว้ที่ http://arxiv.org/archive/math แต่อย่างใด แต่น่าเสียดายที่พี่แกสละสิทธิ์ไม่ยอมรับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ซะงั้น เอากะพี่แกสิ แนวจริงๆ :laugh:

Terence Tao นานๆคนเอเชียเราจะได้มีชื่อจารึกไว้ในวงการคณิตศาสตร์ซักทีครับ(แอบดีใจไปกะเขาด้วย :p ) Terry(ชื่อเล่นเขาครับ) เกิดที่ออสเตรเลียแต่พ่อแม่เป็นชาวฮ่องกง คนนี้ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะของวงการคณิตศาสตร์ยุคปัจจุบันครับ :great: เขาเป็นผู้เข้าแข่งขันที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก โดยเริ่มเข้าแข่งขันในรายการนี้ด้วยอายุเพียงสิบขวบและได้เหรียญทองแดง และในที่สุดเขาก็ได้เหรียญทองเมื่ออายุเพียง 12 ปีเท่านั้น ตอนนี้ก็ยังเป็นเจ้าของสถิติเหรียญทองคณิตศาสตร์โอลิมปิกที่อายุน้อยที่สุดอยู่ครับ :great: Terry เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเมื่ออายุเพียง 9 ขวบ :died: เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Princeton ด้วยอายุเพียง 20 ปี ปัจจุบันอายุ 31 ปี(แก่กว่าผมสามปีเอง) ตีพิมพ์งานวิจัยไปแล้วประมาณ 80 ชิ้น :great: ผลงานเด่นๆมีเยอะครับแต่ที่ผมจะเล่าให้ฟังคือ การพิสูจน์ conjecture ทางทฤษฎีจำนวนที่ว่า

?มีลำดับเลขคณิตของจำนวนเฉพาะในทุกความยาวที่กำหนดให้?

เช่น 109, 219, 329, 439, 549 เป็นลำดับเลขคณิตของจำนวนเฉพาะความยาว 5 เป็นต้น Terry พิสูจน์ทฤษฎีบทนี้กับเพื่อนอีกคนนึงชื่อ Ben Green ก่อนหน้านี้มีทฤษฎีบทที่เข้าใกล้ทฤษฎีนี้มากที่สุดซึ่งพิสูจน์โดยนักคณิตศาสตร์ชาวฮังการีชื่อ Endre Szemeredi แต่ก็ยังไม่ได้อยู่ดีเนื่องจากเซตของจำนวนเฉพาะนั้นไม่สอดคล้องเงื่อนไขในทฤษฎีบทของ Szemeredi (เคยเรียนวิธีพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้มาเหมือนกันครับอยู่ใน Dynamical Systems) แต่สุดท้าย Terry และ Green ก็พิสูจน์สำเร็จจนได้

Terry มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม หยิบจับอะไรก็ดูดีไปหมด(ตามสไตล์ของอัจฉริยะ :D ) งานวิจัยของเขาไม่ได้จำกัดอยู่ในสาขาใดสาขาหนึ่งทางคณิตศาสตร์ แต่กระจายไปยังสาขาต่างๆมากมายอาทิเช่น Nonlinear Differential Equations, Harmonic Analysis, Combinatorics, Number Theorey ยังมีงานวิจัยอีกหลายสาขาของเขาที่ผมยังไม่ได้เล่าให้ฟัง ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับ Differential Equations ครับ :great:

Wendelin Werner เกิดที่เยอรมันแต่ปัจจุบันถือสัญชาติฝรั่งเศส จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก University of Paris VI ผลงานของเขาส่วนใหญ่จะเกี่ยวโยงกับฟิสิกส์ครับ เกี่ยวกับพวก Brownian Motion อะไรพวกนั้น ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่เขานำไปใช้ส่วนใหญ่จะเป็น ทฤษฎีความน่าจะเป็น และ Complex Analysis คนนี้ผมไม่รู้ประวัติมากเลยโม้ได้แค่นี้ครับ :great:

nooonuii
24 ตุลาคม 2006, 11:31
เข้าไปดูหน้าตาของพวกเขาได้ที่นี่ครับ :) http://www.mathunion.org/medals/2006/

gon
05 พฤศจิกายน 2006, 17:43
Terry Tao คนนี้ผมก็จำหน้าได้แม่นเลยครับ ลงนิตยสาร มิติที่ 4 มั้ง เมื่อสิบกว่าปีก่อน รูปที่ถ่ายออกมาเป็นท่านั่งกัดปากกาตอนทำข้อสอบโออยู่ ไม่นึกว่ายังอยู่ในวงการ เหอ ๆ :)

thee
09 พฤศจิกายน 2006, 20:25
เขาได้เงินกันคนละเท่าไรเหรอครับ รางวัลนี้อะครับ

Switchgear
09 พฤศจิกายน 2006, 21:12
อ่านประวัติแล้วน่าชื่นชม และค้นหาประวัติได้ดีมากเลยครับ
ขอขอบคุณที่หาเนื้อหาดีๆ มาเล่าให้ฟัง :-)

nooonuii
10 พฤศจิกายน 2006, 06:27
ข้อความเดิมของคุณ thee:
เขาได้เงินกันคนละเท่าไรเหรอครับ รางวัลนี้อะครับ

จะได้เงินรางวัลประมาณ 7000 ปอนด์ ซึ่งคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 500,000 บาทครับ

comment : ผมว่าเงินรางวัลมันน้อยไปนะ :laugh:

thee
10 พฤศจิกายน 2006, 22:51
เงินรางวัลน้อยจริงๆ ครับ ถ้าเทียบกับโนเบล แต่ก็ดูมีศักดิ์ศรี เทียบเท่ากับโนเบลเลยใช่ปะครับ

nooonuii
11 พฤศจิกายน 2006, 04:28
หลังจากได้อ่านประวัติของ Perelman อีกรอบ พบว่าคนนี้ก็สุดยอดเหมือนกันครับ เคยได้เหรียญทองคณิตศาสตร์โอลิมปิกในปี 1982 ด้วยคะแนนเต็มมาแล้ว :great: ตอนนี้ได้ข่าวว่าเขาอาจจะสละสิทธิ์ไม่รับเงินรางวัลจาก Clay Institute อีกด้วย ซึ่งเงินรางวัลที่เขาจะได้จากการที่เขาพิสูจน์ Poincare Conjecture ได้นั้น สูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่อาจจะต้องแบ่งกับ Richard Hamilton ซึ่งเป็นคนคิด Ricci Flow ครับ

nooonuii
18 ธันวาคม 2006, 02:03
เข้ามา update ข่าว...

ปีนี้รู้สึกว่าจะเป็นปีทองของ Terence Tao จริงๆครับ ล่าสุดได้รับรางวัล Sastra Ramanujan Prize ไปอีกหนึ่งรางวัล รางวัลนี้มอบให้กับนักคณิตศาสตร์ที่สร้างผลงานทางคณิตศาสตร์โดยใช้ผลงานทางคณิตศาสตร์ที่ Ramanujan ได้พัฒนาขึ้นมา Ramanujan เป็นนักคณิตศาสตร์อัจฉริยะชาวอินเดีย มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1887 - 1920 สร้างผลงานน่าทึ่งทางคณิตศาสตร์เอาไว้มากมายโดยเฉพาะทางด้าน ทฤษฎีจำนวน และ อนุกรมอนันต์ ดร.กิตติกร นาคประสิทธิ์ เล่าประวัติของ Ramanujan ไว้น่าอ่านมากที่นี่ครับ
http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=241 (http://Ramanujan)

nooonuii
20 สิงหาคม 2010, 00:04
ขอ update รางวัลสำหรับปี 2010 เอาไว้ที่นี่ด้วยเลย


And the Fields medals go to....

1. Stanislav Smirnov, Université de Genève

2. Elon Lindenstrauss, Hebrew University

3. Ngô Bảo Châu, Université Paris-Sud

4. Cédric Villani, Institut Henri Poincaré

Comment:
คนที่สามเป็นชาวเวียดนาม ยินดีกับชาวเวียดนามด้วยครับ :great:

หยินหยาง
20 สิงหาคม 2010, 00:17
แล้วคนไทยมีมั้ยครับ
2011 คุณ nooonuii ไปเอารางวัลนี้มาฝากคนไทยบ้างนะครับ

nooonuii
20 สิงหาคม 2010, 00:45
แล้วคนไทยมีมั้ยครับ
2011 คุณ nooonuii ไปเอารางวัลนี้มาฝากคนไทยบ้างนะครับ

โอยไม่ไหวหรอกครับ แค่นั่งชื่นชมอยู่ห่างๆก็พอ

แต่คิดว่าอีกไม่นานไทยเราจะมีนักคณิตศาสตร์ในระดับนี้แน่นอน

ตอนนี้ยังอยู่ในช่วงส่งไป train กันอยู่ครับ

อ้อรางวัลนี้เขาแจกกันทุกสี่ปีครับ มาพร้อมบอลโลกเลย:D

Onasdi
21 สิงหาคม 2010, 00:11
คนเอเชียสู้ๆครับ

Real Matrik
26 มิถุนายน 2011, 21:29
ถ้าจำไม่ผิด ญี่ปุ่นได้ไป 3 เหรียญแล้วครับ :aah:

ปล. ทำไมไวลส์ไม่ได้รางวัลนี้นะ :confused:

nooonuii
26 มิถุนายน 2011, 22:27
ถ้าจำไม่ผิด ญี่ปุ่นได้ไป 3 เหรียญแล้วครับ :aah:

ปล. ทำไมไวลส์ไม่ได้รางวัลนี้นะ :confused:

อายุเกิน $40$ ปีครับ เป็นข้อกำหนดของรางวัล