PDA

View Full Version : Out of Universe


Mastermander
19 กุมภาพันธ์ 2007, 22:49
ตั้งกระทู้นี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับคณิตเลยครับ :p

แต่มีคำถามมาถามเล่นๆว่า

ถ้าออกนอกจักรวาลจะเจออะไรครับ :huh: (ไม่ใช่ปัญหาวิชาการครับ)

XP Pro SP2 keys:
RDFXQ-CD4PW-XPB9T-9JTCH-FQKVT
VCCTF-GFBBC-4TJ4Y-HK8P3-B6CTD
C2V3T-4R22B-FMBYR-3V72C-X3TGM
CTBGM-8CYMK-V9QY8-6W8WC-KFRTB
MCRXF-FMMPG-PKK4J-YRX4M-9R8PM
TRBR2-KGFW9-BTGX8-HVHKC-WR6GQ
P2YWW-92WK9-4GCHQ-7RP29-6TBVM
XD9PC-XRP2R-BFCCY-HBTBK-99J3Y
DYBJ7-JD3C3-9KG8Q-8MQR4-THDPJ
CQ4Q9-BHWBF-DWY3M-9KR8K-VQYQ8
RMGDC-DTWWC-J4QJR-Y3GQJ-HGBG3
TJK86-QMBFQ-CPB89-JWKX6-3XVJ8
FM4FJ-PK6MW-CVJWC-KJBDY-C27GJ
JJQJ2-9HBMJ-BFXMT-J6P9T-YJMTT
MRBKX-23DR8-P2WTQ-MKKXC-6B343

strawnie
03 มีนาคม 2007, 10:58
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~pornchai/7.36/universe.pdf ลองเปิดดูนะคะ

Timestopper_STG
03 มีนาคม 2007, 16:02
รู้สึกว่าถามเล่นๆแต่จะเจอของจริงนะครับ :p

iMissU
17 พฤษภาคม 2007, 15:13
สุริยจักรวาลของเรามีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ต่าง ๆ เป็นบริวารรวมกันทั้งสิ้น 65 ดวง นอกจากดาวเคราะห์และดวงจันทร์เหล่านี้แล้ว สุริยจักรวาลยังมีดาวหางและดาวเคราะห์น้อย (asteroid) อีกหลายหมื่นดวง แต่ถึงจะมีดาวจำนวนมากดวงปานนี้ก็ตาม โลกกลับเป็นดาวเคราะห์ของสุริยจักรวาลดวงเดียวเท่านั้นที่มีมนุษย์อยู่

คำถามที่นักปราชญ์ นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป ได้พยายามจะตอบมานานหลายพันปีแล้ว ก็คือมนุษย์ต่างดาว ต่างกาแล็กซี ต่างจักรวาล มีหรือไม่มี และถ้ามี มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดเฉลียวเหล่านั้น จุติอยู่บนดาวดวงใด และดาวดวงนั้นสติอยู่ที่ตรงส่วนใดของจักรวาล (universe)

จักรวาลที่นักวิทยาศาสตร์รู้จัก มีขนาดกว้างใหญ่อภิมโหฬารสุด ๆ นักดาราศาสตร์ประมาณว่า จักรวาลมีดาวฤกษ์ทั้งหมดประมาณ 1057 ดวง (เลข 1 ที่มีศูนย์ตามหลัง 57 ลูก) กาแลกซีทางช้างเผือก(Milky Way) ซึ่งมีสุริยจักรวาลเป็นเพียงส่วนหนึ่งนั้น มีดาวฤกษ์ทั้งสิ้น 4 พันล้านดวง 10% ของดาวฤกษ์เหล่านี้ (หรือ 400 ล้านดวง) มีลักษณะและรูปพรรณสัณฐาน เหมือนดวงอาทิตย์ และถ้าเราคิดว่า 10% ของดวงอาทิตย์เหล่านี้มีดาวเคราะห์ นั่นก็แสดงว่า ทางช้างเผือกทั้งกาแล็กซีมีดาวเคราะห์ 40 ล้านดวง และถ้าเราเป็นคนมองจักรวาลในแง่ร้ายมาก คือเราคิดว่าโอกาสที่ดาวเคราะห์เหล่านี้ จะมีมนุษย์อยู่เป็นเพียง 1 ใน 10 ล้านดวง และถ้าเราเป็นคนมองจักรวาลในแง่ร้ายมาก คือ เราคิดว่าโอกาสที่ดาวเคราะห์เหล่านี้ จะมีมนุษย์อยู่เป็นเพียง 1 ใน 10 ล้าน เราก็จะได้ว่า ทางช้างเผือกน่าจะมีโลกมนุษย์ถึง 40 โลก และเมื่อจักรวาล(universe) มี 1012 กาแล็กซี นั่นก็หมายความว่าจักรวาลนั้น มีโลกที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ถึง 40 ล้าน ล้าน โลก

แต่เหตุใด เราจึงไม่เคยเห็นโลกเหล่านี้ และไม่เคยเห็นแม้แต่ดาวเคราะห์ต่างจักรวาลสักดวงเลย ดาวที่เราเห็น ๆ อยู่ทุกคืนนั้น ต่างก็เป็นดาวฤกษ์ทั้งสิ้น

ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่าในอดีตการศึกษา หรือการมีจิตนนาการเกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาว หรือต่างจักรวาลอาจจะนำมาซึ่งพิษภัย เช่น ในปี พ.ศ. 2143 ที่จัตุรัสแห่งหนึ่งในกรุงโรม Giordano Bruno ได้ถูกพิพากษาให้ตายทั้งเป็นด้วยการถูกเผาเปลือย ในฐานะที่มีความคิดว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนดาว ดวงอื่น

จึงนับเป็นเรื่องดีที่ปัจจุบัน ใครก็ตามที่เชื่อเหลือเกินว่า จักรวาลนี้มีมนุษย์ต่างดาว จะไม่ถูกพิพากษาเยี่ยงนั้นอีกต่อไป และถ้าคน ๆ นั้นเห็นโลกมนุษย์ เขาก็จะได้รับการสดุดี การสรรเสริญ และข่าวการค้นพบของเขาก็จะปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วโลก

ในความคิดทั่วไป การค้นหาดาวเคราะห์ที่กำลังโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ น่าจะป็นเรื่องง่าย แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่ายเลย ขั้นตอนการค้นหา จะเริ่มโดยนักดาราศาสตร์ หาดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิ ขนาด และอายุใกล้เคียงดวงอาทิตย์ก่อน เมื่อได้ดาวฤกษ์ตามสเป็กแล้ว เขาจึงมองหาดาวเคราะห์ต่อ แต่การที่จะเห็นดาวเคราะห์ บริวารของดาวฤกษ์ดวงนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะดาวฤกษ์ตามธรรมดา จะสุกสว่างกว่าดาวเคราะห์ประมาณ 100 ล้านเท่า ดังนั้นแสงจากดาวฤกษ์จะกลบแสงจากดาวเคราะห์หมด ทำให้เรามองดาวเคราะห์ไม่เห็น ความยากลำบากในการค้นหาดาวเคราะห์ ด้วยวิธีนี้ จึงเปรียบเสมือนการพยายามมองหา หิ่งห้อยที่บินผ่านบ้านหลังใหญ่ ที่กำลังถูกไฟไหม้ จากตำแหน่งเกิดเหตุ 1 ล้านกิโลเมตร แต่หากจะใช้วิธีสังเกตดาวฤกษ์ ขณะที่มีดาวเคราะห์โคจรตัดหน้าก็ไม่ให้ผล เช่นกัน เพราะดาวเคราะห์มีขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับดาวฤกษ์ และเคลื่อนที่ช้าอีกต่างหาก ดังนั้นเวลาดาวเคราะห์โคจรตัดหน้าดาวฤกษ์ ความสว่างของดาวฤกษ์ จึงปรากฏ "ไม่เปลี่ยนแปลง" และเมื่อความสว่างไม่เปลี่ยนแปลง เราก็เลยคิดไปว่าไม่มีอะไรโคจรตัดหน้าเลย

วิธีการที่นักดาราศาสตร์ นิยมใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์ คือวิธีที่ต้องอาศัยปรากฏการณ์ ดอปเปลอร์ (Doppler effect) ซึ่งพบโดย C. Doppler ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยท่านได้พบว่าเสียงหวูด ของรถไฟจะเปลี่ยนความถี่ ขณะรถไฟวิ่งเข้าหา หรืออกจากผู้สังเกต นักดาราศาสตร์ได้อาศัยหลักการนี้ ในการค้นหาดาวเคราะห์ โดยยึดถือว่าเวลาดาวเคราะห์ โคจรไปรอบ ๆ ดาวฤกษ์ ดาวทั้งสองมีแรงดึงดูดกัน และกัน แรงดึงดูดนี้จะทำให้ดาวทั้งคู่โคจรไปรอบ ๆ จุด ๆ หนึ่งโดยมีวงโคจรที่ต่างกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในกรณีของดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ น้ำหนักที่มหาศาลของดาวพฤหัสบดี จะมากพอที่จะทำให้ดาวพฤหัสบดี มีความเร็ว 10 กิโลเมตร/วินาที และดวงอาทิตย์มีความเร็ว 12 เมตร/วินาที ดังนั้นเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ คลื่นแสงที่พุ่งจากดวงอาทิตย์ ถึงโลกจะมีความถี่มากขึ้น หากดวงอาทิตย์พุ่งเข้าหาโลก และจะมีความถี่ลดลง เมื่อดวงอาทิตย์พุ่งออกจากโลก การวัดความถี่เป็นอีกนัยหนึ่ง การวัดความยาวคลื่นแสงของดวงอาทิตย์ ที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะบอกได้ว่าดาวเคราะห์ ที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์มีมวลมากเพียงใด สำหรับในกรณีของดวงอาทิตย์นั้น นักดาราศาสตร์ได้พบว่าความยาวคลื่นแสง มีค่าขึ้น – ลง อยู่ในช่วง + 0.0003% ของความยาวคลื่นปกติ ดังนั้นเมื่อตัวเลขปรากฏออกมาในลักษณะนี้ นักดาราศาสตร์ก็สามารถอ้างได้เลยว่า เพราะดวงอาทิตย์มีดาวเคราะห์ที่มีน้ำหนักพอ ๆ กับดาวพฤหัสบดี เป็นบริวาร โดยไม่จำเป็นต้องเป็นดาวพฤหัสบดีเลย ดังนั้น เมื่อโลกมีน้ำหนักเบากว่าดาวพฤหัสบดีเข้าไปอีก คือเบากว่าดวงอาทิตย์ถึง 3 แสนเท่า การสังเกตเห็นโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์อื่น ๆ โดยใช้วิธีนี้จึงยากยิ่งขึ้นเป็นตรีคูณ

ในปี พ.ศ.2538 M. Mayor และ D. Queloz ได้ ประกาศว่าเขาเห็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง โคจรรอบดาวม้าบิน (51 Pegasi) และ G. Marcy กับ P. Butler ก็ประกาศว่าเขาได้เห็นดาวเคราะห์อีกดวง โคจรอยู่รอบดาวหมีใหญ่ (47 Ursae Majoris) เช่นกัน ซึ่งก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจ เพราะดาวฤกษ์ทั้งสองดวงนี้มีอายุ และอุณหภูมิคล้ายดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ที่เห็นก็มีขนาดพอ ๆ กับดาวพฤหัสบดีของ สุริยจักรวาลเรา

แต่ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงที่พบใหม่นี้ โคจรใกล้ดาวฤกษ์ทั้งสองมากเกินไป คือดาวเคราะห์ ที่โคจรรอบ ๆ 51 pegasi นั้นอยู่ห่างออกไปเพียง 8 ล้านกิโลเมตรเท่านั้นเอง แทนที่จะอยู่ห่าง 800 ล้านกิโลเมตร การอยู่ใกล้มากเช่นนี้ ทำให้อุณหภูมิของดาวเคราะห์สูงถึง 1,300 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้

และเมื่อเร็ว ๆ นี้ นักดาราศาสตร์อีกลุ่มหนึ่ง รายงานว่า ความแปรปรวนของแสงที่เปล่งออกมาจาก 51 pegasi นั้น เกิดจากการเคลื่อนไหวของผิวดาวฤกษ์ดวงนั้น หาได้เกิดจากการมีดาวเคราะห์โคจรรอบมันใด ๆไม่ ซึ่งถ้าการคัดค้านนี้เป็นจริง นั่นก็หมายความว่า ทฤษฎีการกำเนิดดาวเคราะห์ยังคงใช้ได้ต่อไป แต่ถ้าไม่เป็นความจริงนั่นก็หมายความว่า ทฤษฎีการกำเนิดดาวเคราะห์ต้องนำมาเขียนใหม่หมด

ขณะนี้ทุกวันนี้ การค้นหาดาวเคราะห์ต่างจักรวาลกำลังทำให้เรารู้ว่า มีดาวเคราะห์อีกหลายดวง ที่กำลังโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ชื่อ Rho Cancri A, Tau Bootes A, Upsilon Andromedae และ Rho Coronae Borealis ซึ่งนักดาราศาสตร์กำลังศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของดาวเคราะห์เหล่านี้อยู่

เราหวังว่าวันหนึ่งในอนาคตอันไกลโพ้นเมื่อเทคโนโลยีการเดินทางในอวกาศพัฒนาถึงระดับที่ทำให้มนุษย์สามารถเดินทางด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตร/วินาที(ซึ่งเร็วกว่าความเร็วปัจจุบัน ถึง 10 เท่า) มนุษย์ก็ยังต้องการเวลานานถึง 8,000 ปี กว่าจะเดินทางถึงดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ที่สุดชื่อ Proxima Centauri และถ้าเขาเห็นดาวเคราะห์บริวารของดาวดวงนี้ มีบรรยากาศและเห็นก๊าซออกซิเจน เห็นคาร์บอนไดออกไซด์ เห็นรูโหว่โอโซน เห็นสาร Chlorofluorocarbon (CFC) เห็นการเผาป่า เขาก็จะรู้ว่าดาวเคราะห์ดวงนั้น มีคนอาศัยอยู่แน่ๆ ครับ

iMissU
17 พฤษภาคม 2007, 15:15
ในอดีตเมื่อหลายพันล้านปีมาแล้ว ดาวอังคารเคยมีบรรยากาศที่อบอุ่น และผิวดาวเคยมีทะเลปกคลุม ยาน Viking ที่สหรัฐ ฯ เคยส่งไปสำรวจรายงานกลับมายังโลกว่า ถึงแม้บรรยากาศของดาวอังคาร จะเจือจางกว่าโลกก็ แต่ดาวอังคารก็มีก๊าซชนิดต่าง ๆ เหมือนโลก

มนุษย์สนใจและใฝ่ฝันที่จะได้ไปเยือน ดาวอังคารมานานหลายพันปีแล้ว นักดาราศาสตร์ชาวบาบิโลนเมื่อเห็นดาวดวงนี้ มีสีแดงเรื่อ ๆ จึงตั้งชื่อว่า Nergal ซึ่งแปลว่า มรณเทพ คนจีนโบราณเรียกดาวอังคารว่า ดาวเพลิง เพราะมีสีแดง ส่วนชาวกรีกและชาวโรมันเรียกดาวนี้ว่า ดาวสงคราม

ในปี พ.ศ. 2420 G.V. Schiaparalli นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ Galileo ประดิษฐ์ขึ้นศึกษาดาวดวงนี้อย่างจริงจัง เขาได้เห็นร่องรอยการกระทบกระแทก โดยอุกกาบาตที่ผิวดาวอังคารและได้เห็นเส้นสายต่าง ๆ พาดผ่านผิวดาวอังคารมากมาย เขามีจินตนาการว่าเส้นมัว ๆ ที่เขาเห็นคือ "คลอง" ประจวบกับขณะนั้น Ferdinand de Lesseps ผู้เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ได้ประสบความสำเร็จในการขุดคลอง Suez ที่ยาว 150 กิโลเมตร โดยใช้เวลานานถึง 11 ปี ผู้คนในสมัยนั้น จึงคิดว่า "คลอง" บนดาวอังคารที่เห็นยาว 1,500 กิโลเมตรนั้น เป็นคลองที่เทวดาขุดแน่ ๆ

ข้อสรุปเช่นนี้นำมาซึ่งความแตกตื่น และเมื่อนักประพันธ์ชื่อ H.G Wells ได้แต่งนวนิยายที่เกี่ยวกับมนุษย์บนดาวอังคารว่า ได้เดินทางมารุกรานโลก คนหลายคนจึงเชื่อว่ามีมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อาศัยอยู่บนดาวอังคาร และเขาเหล่านี้ มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเหนือมนุษย์บนโลกมาก

ในปี พ.ศ. 2508 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานอวกาศ ชื่อ Mariner 4 ไปสำรวจดาวอังคารที่ระดับสูง 1,000 กิโลเมตร กล้องถ่ายภาพบนยานได้บันทึกภาพ และภาพที่ได้แสดงให้เห็นชัดว่า บนดาวอังคารไม่มีสิ่งมีชีวิต ที่มีขนาดใหญ่อาศัยอยู่เลย

ในปี พ.ศ. 2518 ยานViking 2 ได้ทะยานจากโลก แล้วโคจรไปลงจอดบนดาวอังคาร ผลการวิเคราะห์ดินบนดาว แสดงให้เราเห็นอีกครั้งว่าบนดาวดวงนี้ ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย

ดาวอังคารนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ระยะห่าง โดยเฉลี่ย 235 ล้านกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นระยะทางประมาณ 1.5 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ ดังนั้นอุณหภูมิของดาวโดยเฉลี่ย จะเย็นกว่าของโลกมาก ในเวลากลางวันอุณหภูมิจะสูงประมาณ 10 องศาเซลเซียส แต่ในเวลากลางคืน อุณหภูมิจะลดต่ำกว่าศูนย์ ถึง 90 องศา และจากการที่แกนของดาวเอียงทำมุม 24 องศา กับระนาบ การโคจรของมัน ดาวอังคารจึงมีฤดูกาลเหมือนโลกเรา โดยมีวันหนึ่งๆ นาน 24 ชั่วโมง 31 นาที และปีหนึ่งๆ นาน 687 วัน ภาพถ่ายที่ได้จากยานอวกาศแสดงให้เห็นว่าในอดีตเมื่อหลายพันล้านปี มาแล้ว ดาวอังคารเคยมีบรรยากาศที่อบอุ่น และผิวดาวอังคารเคยมีบรรยากาศที่อบอุ่น และผิวดาวเคยมีทะเลปกคลุม ยาน Viking ที่สหรัฐฯเคยส่งไปสำรวจดาว รายงานกลับมายังโลกว่า ถึงแม้บรรยากาศของดาวอังคารจะเจือจางกว่าของโลก ก็ตาม แต่ดาวอังคารก็มีก๊าซชนิดต่างๆ เหมือนโลก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์(95%) และไนโตรเจน (3%) ดังเลขที่แสดงให้ดูนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่าดาวอังคาร มีคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไปและไนโตรเจนน้อยเกินไป ดังนั้นหากสิ่งมีชีวิตใดๆจะอุบัติได้บนดาวอังคาร ชีวิตนั้นก็ไม่ควรจะมีรูปร่าง เหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรารู้จัก

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมามานี้ D.Mckay แห่งองค์การบินและอวกาศของสหรัฐฯ (NASA) ได้ออกแถลงการณ์ผ่านหนังสือพิมพ์ New York Times ว่าในอุกกาบาตก้อนหนึ่งที่ NASA สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นอุกกาบาตจากดาวอังคาร มีซากฟอสซิล (Fossil) ของจุลินทรีย์

อุกกาบาตก้อนนี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า ALH 84001 เพราะนักธรณีวิทยาได้ขุดพบมันที่บริเวณภูเขาชื่อ Allan Hills ในทวีปแอนตาร์กติกา และอุกกาบาตก้อนนี้มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับมันฝรั่ง แต่หนักกว่ามากถึง 1.9 กิโลกรัม ในการวัดองค์ประกอบของอุกกาบาต นักธรณีวิทยาพบว่ามันประกอบด้วยหิน basalt และ pyroxenite โดยมีอัตราส่วนที่เท่ากับหินบนดาวอังคารที่ยาน Viking ได้เคยวัดไว้เมื่อ 22 ปี ก่อนทุกประการ ดังนั้น Mckay จึงสามารถสรุป ได้ว่าอุกกาบาต ALH 84001 มีกำเนิดจากดาวอังคาร

สำหรับการที่ ALH 84001 เกิดอุบัติเหตุตกจากดาวอังคารสู่โลกนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์พบว่า ในอดีตที่นานมาแล้วได้มีอุกกาบาตขนาดใหญ่ก้อนหนึ่ง พุ่งชนดาวอังคาร ทำให้หินและดินบนดาวแตกกระจุยกระจาย ก้อนหินบางก้อนได้พุ่งหนีจากสนามแรงดึงดูดของดาวอังคารไปลอยวนเวียนอยู่อากาศนาน 6 ล้านปี จึงได้ถูกโลกดึงดูดให้ตกลงสู่โลกที่ Allan Hills และถูกฝังอยู่ในน้ำแข็งที่นั่นนาน 13,000 ปีจนนักธรณีวิทยา จาก NASA ได้ขุดพบในเวลาต่อมา
จากการใช้แสงเลเซอร์สำรวจอุกกาบาต ALH 84001 McKay และคณะอ้างว่ามีฟอสซิลของสัตว์เซลล์เดียว ที่ร่างกายประกอบด้วยโมเลกุลชื่อ Polycyclie Aromatic Hydrocarbon (PAH) ซึ่ง McKay มั่นใจว่าเป็นที่มาจากดาวอังคาร หาได้มาจากการปนเปื้อนโดยสิ่งแวดล้อม ต่ออุกกาบาต ALH 84001 ไม่ ข้อสังเกตของ McKay อีกประการหนึ่งก็คือว่า ฟอสซิลที่เห็นนี้มีขนาดเล็กกว่าจุลินทรีย์ที่เล็กที่สุด ของโลกถึง 100 เท่า ทำให้เขาไม่สามารถเห็นโครงสร้างภายใน หรือโครงสร้างผนังเซลล์ของมันได้เลย ข้อสรุปนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ สงสัยว่าจริง ๆ ไม่น่าจะมีชีวิตบนดาวอังคาร

ในการประชุมประจำปีของ Lanar and Planetary Science Conference (LPSC) ที่ Houston รัฐ Taxas ในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 17-21 มีนาคมศกนี้ ที่ประชุมได้อภิปรายข้อมูลล่าสุดจาก ALH 84001 ว่า เม็ด carbonate ที่ McKay สังเกตเห็นแล้วลงความเห็นว่า เป็นฟอสซิลนั้นอาจจะเกิดจากกระบวนการที่ไม่เกี่ยวกับทางชีววิทยาใด ๆ นอกจากนี้จากการวัดอุณหภูมิ ของอุกกาบาตขณะเกิด "ฟอสซิล" นักวิจัยได้พบว่าอุณหภูมิที่ว่านั้นสูงถึง 700 องศาเซลเซียสซึ่งสูงเกินกว่าที่สิ่งที่มีชีวิตใด ๆ จะดำรงได้ (จุลินทรีย์บนโลกทนความร้อนได้สูงสุดแค่ 120 องศาเซลเซียส)

จะอย่างไรก็ตามที่ประชุมก็ยังคงเชื่อเหมือน Mckay ว่าในอดีตชีวิตอาจจะเคยอุบัติบนดาวอังคาร ดังนั้นความพยายามในการค้นหาชีวิต บนดาวอังคารจึงสมควรดำเนินต่อไป โดยขณะนี้ยานอวกาศ Pathfinder กำลังมุ่งหน้าสู่ดาวอังคารและมีกำหนด จะลงจอดบนดาวในวันที่ 4 กรกฎาคม หากพายุบนดาวอังคารพัดรุนแรงการสำรวจ ดาวโดยรถยนต์ที่ถูกบังคับทางไกลอาจจะมีปัญหา แต่หากทัศนวิสัยดี Pathfinder ก็คงจะทำให้เรามั่นใจว่าสิ่งมีชีวิตได้เคยมี กำลังมีหรือจะมีบนดาวอังคารด้วยหาก Pathfinder ไม่มีคำตอบในปี พ.ศ. 2544 ที่จะถึงนี้ NASA กำหนดปล่อยหุ่นยนต์ออกสำรวจ ดาวอังคารอีกสองครั้งเพื่อจะรู้ให้ได้ว่า ดาวอังคารมีชีวิตหรือไม่มีวันมี

iMissU
17 พฤษภาคม 2007, 15:16
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/index.html น่าสนใจมากมาย