PDA

View Full Version : ช่วนแนะนำเกี่ยวกับหนังสือคณิตศาสตร์ มหัศจรรย์


คusักคณิm
08 พฤษภาคม 2008, 08:23
เป็นของสำนักพิมพ์สารคดี ผู้แปลคือดร.กิตติกร นาคประสิทธิ์และโกสุม กรีทอง ควรซื้อรึเปล่า เนื้อหาดีไหม :confused:

Lekkoksung
08 พฤษภาคม 2008, 09:59
หนังสือทุกเล่มจะมีค่าน่าน่าสนใจหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับเจ้าของของมันน่ะครับ ว่าจะทำกับหนังสือให้เป็นอย่างไรครับ
คือผมอยากเห็นหน้าตาของหนังสือเล่มนี้จัง

EulerTle
08 พฤษภาคม 2008, 10:47
ก็ดีครับเกี่ยวกับการนำคณิตศาสตร์ไปใช้ในด้านต่างๆปัญหาคณิตศาสตร์ที่โด่งดัง นักคณิตศาสตร์ที่โด่งดัง

mathematiiez
08 พฤษภาคม 2008, 11:07
อื้มมม น่าสนใจแฮะ ^^

คusักคณิm
08 พฤษภาคม 2008, 14:21
หน้าตามันนะ

>> Kurogo <<
08 พฤษภาคม 2008, 20:58
รู้จักคุณสตีเฟนไหมครับ

คนที่พิกานต้องพูกผ่านทางคอมพิวเตอร?น่ะครับ

เค้าเป็นคนที่รองจากไอนสไตน์แล้วนิวตันเลยนะครับ

ถ้ามีเวลาลองศึกษาประวัติเขาดูสิครับ
น่าสนใจมากๆเลยค่า

คusักคณิm
08 พฤษภาคม 2008, 21:20
ประวัติย่อๆ
สตีเฟน ฮอว์คิงเกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่เมืองอ๊อกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ ในวัยเด็กเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนเซนต์แอลแบน จากนั้นเข้าศึกษาต่อสาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และรับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2505 ต่อมาได้เข้าศึกษาที่ทรินิตีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาจักรวาลวิทยา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นก็ได้รับการคัดเลือกเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

ในต้นทศวรรษที่ 1960 (ประมาณ พ.ศ. 2503-2508) สตีเฟน ฮอว์คิงก็มีอาการที่เรียกว่า amyotrophic lateral sclelar (ALS) อันเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมีผลกับประสาทสั่งการ (motor neurons) นั่นคือ เส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของ กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะอ่อนแอลงจนเกือบเป็นอัมพาต แต่เขายังคงทำงานวิชาการต่อไป


การทำงาน
ฮอว์คิงเริ่มทำงานในสาขาสัมพัทธภาพทั่วไป และเน้นที่ฟิสิกส์ของหลุมดำ เมื่อปี พ.ศ. 2508 ขณะที่กำลังทำงานวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ฮอว์คิงได้อ่านรายงานของนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชื่อ โรเจอร์ เพนโรส (Roger Penrose) ซึ่งเพนโรสเสนอทฤษฎีที่ว่าดวงดาวที่ระเบิดอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของตัวเอง จะมีปริมาตรเป็นศูนย์ และมีความหนาแน่นเป็นอนันต์ อันเป็นสภาพที่นักฟิสิกส์เรียกว่า ซิงกูลาริตี้(singularity) ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือหลุมดำ ซึ่งไม่ว่าแสงหรือวัตถุใดๆ ก็ไม่หนีออกมาไม่ได้

จากนั้น ในปี พ.ศ. 2513 ฮอว์คิงและเพนโรสก็ได้ร่วมกันเขียนรายงานสรุปว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ นั้นกำหนดให้เอกภพต้องเริ่มต้นในซิงกูลาริตี้ ซึ่งปัจจุบันนี้รู้จักกันว่า บิ๊กแบง และจะสิ้นสุดลงที่ หลุมดำ

ฮอว์คิงเสนอว่า หลุมดำไม่ควรจะเป็นหลุมดำเสียทีเดียว แต่ควรจะแผ่รังสีอะไรออกมาบ้าง โดยเริ่มที่วัตถุจำนวนมหาศาลนับพันล้านตัน แต่มีความหนาแน่นสูง คือกินเนื้อที่ขนาดเท่าโปรตอน เขาเรียกวัตถุเหล่านี้ว่าหลุมดำจิ๋ว (mini black hole) ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงและมวลมหาศาล แต่สุดท้ายหลุมดำนี้ก็จะระเหิดหายไป การค้นพบนี้ถือเป็นงานชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งของฮอว์คิง

เมื่อ ปี พ.ศ. 2517 เขาได้เป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษ และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี พ.ศ. 2520 และเมื่อในปี พ.ศ. 2522 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” (Lucasian Chair of Mathematics - เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2206 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) บุคคลที่ 2 ที่ได้รับตำแหน่งนี้ก็คือ เซอร์ไอแซค นิวตัน คนทั่วไปจึงเปรียบเทียบสตีเฟน ฮอว์คิง กับนิวตันและไอนสไตน์)

สตีเฟน ฮอว์คิงเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่นักฟิสิกส์จะพัฒนาทฤษฎีที่จะรวมเอาแรงทั้ง 4 ของธรรมชาติเข้าด้วยกัน นั่นคือ แรงโน้มถ่วง, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม อันจะนำไปสู่ ทฤษฎีสรรพสิ่ง (Theory of Everything) ที่เคยกล่าวกันมา ส่วนเรื่องการขยายตัวของเอกภพนั้น ฮอว์คิงเชื่อว่า เอกภพขยายตัวออกไปโดยมีความเร่ง


ชีวิตส่วนตัว
สตีเฟน ฮอว์คิงแต่งงานครั้งแรกกับเจน ฮอว์คิง ภายหลังได้หย่าร้าง และแต่งงานใหม่กับพยาบาล ชื่อ เอเลน เมสัน ปัจจุบัน สตีเฟน ฮอว์คิงต้องนั่งรถไฟฟ้าที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาพูดและขยับตัวไม่ได้ ทำได้เพียงขยับนิ้วและกะพริบตา แต่ก็ยังสามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่สังเคราะห์เสียงพูดได้จากตัวอักษร

ผลงาน
A Large Scale Structure of Space-Time (1973) , แต่งร่วมกับ G.F.R. Ellis)
Superspace and Supergravity (1981)
The Very Early Universe (1983)
A Brief History of Time : from the Big Bang to Black Holes (1988)
Black Holes and Baby Universe and Other Essays (1994)
The Universe In A Nutshell..

RETRORIAN_MATH_PHYSICS
09 พฤษภาคม 2008, 02:14
รู้จักคุณสตีเฟนไหมครับ

คนที่พิการต้องพูดผ่านทางคอมพิวเตอร?น่ะครับ

เค้าเป็นคนที่รองจากไอนสไตน์แล้วนิวตันเลยนะครับ

ถ้ามีเวลาลองศึกษาประวัติเขาดูสิครับ
น่าสนใจมากๆเลยค่า
ผมว่า Hawking ไม่ได้เป็นรอง Einstein หรือ Newton เลยนะครับ เพราะผมคิดว่าคนพวกนี้ เท่าเทียมกันคือคำว่าอัฉริยะ

คusักคณิm
09 พฤษภาคม 2008, 08:35
ผมว่า Hawking ไม่ได้เป็นรอง Einstein หรือ Newton เลยนะครับ เพราะผมคิดว่าคนพวกนี้ เท่าเทียมกันคือคำว่าอัฉริยะ

แล้วแต่จะคิด อ่านะ

mathematiiez
07 มิถุนายน 2008, 11:09
อัจฉริยะบนโลกนี้มีเยอะ แต่...แววอัจฉริยะของเขาจะค่อยๆหายไป ถ้าไม่ได้รับการลับสมอง
อย่างถูกวิธี คิดแล้วก็เสียดายแทนนะ ^^