PDA

View Full Version : คิดว่าจริงไหม?


t.B.
09 พฤษภาคม 2008, 01:14
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000052884
ลองอ่านกันดูเองนะครับ ไม่ขอพูดอะไรมาก:rolleyes:

RETRORIAN_MATH_PHYSICS
09 พฤษภาคม 2008, 02:09
มันก็จริงครับ

คusักคณิm
09 พฤษภาคม 2008, 08:40
true :p(for my)

Aermig
11 พฤษภาคม 2008, 00:21
ไม่ใช่ไม่มีที่ให้เด็กไม่เก่งหรอกครับ ไม่มีที่ให้เด็กจนซะมากกว่า
ก็เล่นกวดวิชาซะขนาดนั้น ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้เองได้
แล้วก็ทำให้เด็กไม่มีเวลาคิดทบทวนว่าตัวเองถนัดหรือชอบอะไร
เป็นเพราะพวกกวดวิชาที่ขึ้นมาสูบเลือดเด็กกันเต็มบ้านเต็มเมือง
(ผมเห็นเข้าไปแล้วเรียนไม่ไหวก็เยอะ เพราะตอนสอบได้ก็คงเหราะกวดวิชานั่นแหละ)

Puriwatt
11 พฤษภาคม 2008, 22:34
ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศไทย นับวันยิ่งเป็นปัญหาเรื้อรังที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ...
ในจังหวัดที่ผมอยู่ จะเริ่มมีการสอนพิเศษตั้งแต่ชั้นอนุบาล1 และผู้ปกครองจะสนับสนุนอย่างแรง
พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกตนเองเรียนเก่งและสอบเรียนต่อในสถาบันการศึกษาที่ดังๆได้

ครูบางคนก็นำข้อสอบเก่ามาสอนในตอนเรียนพิเศษ เพื่อให้เด็กมีคะแนนสอบสูงและได้เกรดดี
จะได้มีผู้ปกครองสนับสนุนมากๆ โดยไม่รู้ว่าอาหารสำเร็จรูปนี้ ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหาร(สมอง)
ครูเปรียบเสมือนผู้ชี้ทาง นักเรียนควรจะเดินทางด้วยตัวเองบ้าง ไม่เช่นนั้นต้องเรียนพิเศษตลอดชีพแน่ๆ

คusักคณิm
12 พฤษภาคม 2008, 21:16
การศึกษานั้นควรพัฒนาเด็กตามความสามารถนั้นถูกต้องแล้ว ประเทศพัฒนาแล้วก็ดำเนินการเช่นนี้ แต่มีปรัชญาว่าไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังคนเดียว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เหมือนการเดินเป็นกลุ่ม คนเดินเร็วก็เดินข้างหน้า ใครเดินช้าก็เดินอยู่หลัง บ้านเราการเรียนการสอนแบบนี้ยังมีน้อยกว่าหลายๆประเทศมาก โดยเฉพาะประเทศแถบนี้ อย่าพูดถึงจีน เกาหลี หรือสิงคโปร์เลย เวียตนามเขาก็ก้าวหน้ากว่าเราหลายขุมแล้ว และที่แย่กว่านั้นโรงเรียนส่วนใหญ่เน้นการท่องจำ การสอบเป็นแบบท่องจำ ทำให้ต้องกวดวิชา จึงไม่แปลกเลยที่คนเรียนได้ 4 บางโรงเรียน พอสอบเอเนต โอเนตแล้วได้เลขแค่นิดน้อย จะว่าข้อสอบยากเหรอก็ไม่น่าจะใช่ เพราะมีคนทำคะแนนเต็มมากมายกว่าสมัยผมเอ็นทรานซ์ซะอีก สิ่งที่ต้องทำคือสร้างห้องเรียนเด็กพิเศษขึ้นทุกอำเภอ มีระบบการคัดเด็กและส่งต่อเพื่อพัฒนาเด็กให้ถูกต้อง อัจฉริยะมีอยู่ในทุกที่ ถ้าไม่พัฒนาก็จะกลายเป็นเด็กปกติ หรืออาจเลวร้ายกลายเป็นเด็กมีปัญหาได้ อย่ารังเกียจกับห้องพิเศษเลย ไม่เช่นนั้นเราจะดักดานเหมือนที่ผ่านมาหลายสิบปี ที่เน้นทุกคนต้องเก่งเท่ากัน ท่องเหมือนๆกัน โลกเขาไปถึงไหนกันแล้ว
เลิกทำแบบเมื่อยี่สิบปีก่อนเถอะ
ไปเอาข้อความจากความคิดเห็นเขา มาเห็นว่าดีเลยเอามาให้อ่าน

คณิตศาสตร์
18 พฤษภาคม 2008, 18:08
อืม เรื่องนี้ผมว่านะถูกแล้วครับครูเป็นเพียงผู้ชี้แนวทางว่าให้เราก้าวต่อไปทางไหนเท่านั้นเองและเป็นที่ปรึกษาแก่นักเรียนนะครับ
และที่เด็กเวียดนามเขาไปไกลนะเพราะเขาเปลี่ยนระบบการศึกษาใหม่ ดูประเทศเราสิเรียนๆๆๆเรียนเยอะอย่างแรงเลยครับ เรียนเอาเป็นเอาตายครับ ทำให้ไม่มีสุขภาพจิตที่ดี เรียนจนไม่มีเวลาว่าง เรียนในสิ่งที่ไม่จำเป็น สอบก็เยอะทำให้เด็ดเครียดเข้าทุกทีครับ
อย่างห้องผมนะครับ เพื่อนผมเรียนเยอะกว่าผมอีกผมเรียนแค่ 4 วันเอง เพื่อนผมเรียนทุกวันยังไม่เข้าใจบางส่วนเลยครับ เรียนๆจนไม่มีเวลาว่างสำหรับตัวเองเลยครับ ในโลกนี้มีคำว่า ตัณหา ถึงมีการกวดวิชาขึ้นมาครับ และการไม่ยอมรับผู้อื่น ในที่นี้เฉพาะบางคนครับ
สรุปคือ การเรียนอยู่ในห้อง เรียนให้เต็มที่ เมื่อไม่เข้าใจก็ถาม ถ้าไม่เข้าใจจริงๆก็ไปเรียนพิเศษเพิ่มส่วนที่ไม่เข้าใจ แล้วกลับไปอ่านทบทวนสม่ำเสมอ ทีนี้ก็ไม่จำเป็นต้องไปเรียนพิเศษเยอะให้มันเสียเวลา เสียเงิน เสีย... ไปอีกตลอด เรียนเท่าที่จำเป็นเพื่อเราจะได้มีเวลาไปออกกำลังกายบ้าง พักผ่อนบ้าง ไม่งั้นสมองมึนไม่รับการเรียนรู้ใดๆทั้งสิ้น (อันนี้เคยโดนมาแล้ว อ่านหนังสือติดต่อกัน 3-6 ชั่วโมงไม่พัก มึนมากๆต้องนอนเลยครับ) ลองไปอ่านบทความดูว่าสมองเราต้องการอะไรถึงจะดีนะครับ
ปล.ครูที่ปรึกษาผมยังเห็นด้วยครับเกี่ยวกับเรื่องนี้

mathematiiez
24 พฤษภาคม 2008, 11:15
อื้ม

จริงมาก

แต่ถ้าเราตั้งใจจริง

เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน

เหมือนกันคือ...ประสปผลสำเร็จ^^

Aermig
24 พฤษภาคม 2008, 17:44
:)บางคนอาจจะคิดว่า การจัดห้องอัจฉริยะจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของนักเรียน(ซึ่งก็เป็นความจริง ขนาดแค่มีห้องคิงมันก็ยังเกิดขึ้นแล้ว)
ดังนั้น การจัดห้องพิเศษจะส่งผลเสียทางสังคม
จริงๆแล้วควรเป็นการพัฒนาความสามารถพิเศษของนักเรียนเหล่านั้นในยามว่าง
ซึ่งโรงเรียนควรจัดการ อาจจะเป็นสัปดาห์ละครั้งหรือ2ครั้ง หลังเลิกเรียน
ที่สำคัญไม่ควรเก็บค่าบริการ เพราะไม่เช่นนั้นมันจะกลายเป็นกวดวิชาไปในที่สุด

mathematiiez
25 พฤษภาคม 2008, 21:28
เสียทางสังคม.......อื้มม

อีกอย่าง คนที่อยู่ห้องคิง บางคนทะนงตัวมากกกก

อย่างนี้แหละ ได้อย่างเสียอย่าง

เฮ้ออออ

TS_SME
01 มิถุนายน 2008, 18:16
คงจะจริงมั๊ง

ถึงจะโง่แต่ก้อไม่ไร้สมอง
11 กรกฎาคม 2008, 21:14
ให้ตายสิ
มันเป็นจริงทุกประการเลยอ่ะ
โรงเรียนเราก้อมีอะไรแบบนี้เหมือนกันนะ

แต่อย่าให้เราวิจารณ์เรื่องนี้เลย
ไม่จบเป็นอ่ะ

Anonymous314
11 กรกฎาคม 2008, 23:33
ผมว่าเป็นเกือบทุกโรงเรียนเลยครับ :great:

Walk_on
16 กรกฎาคม 2008, 16:19
มันขึ้นอยู่กับที่ คนให้ความรู้ หรือ ครู ในโรงเรียนด้วยครับ ถ้าคุณดีจริง เด็กไม่ต้องไปเรียนพิเศษที่อื่น แต่ก็ทำข้อสอบ ได้เท่าเทียมกับเด็กที่ไปเรียนพิเศษ
แต่ ยุคสมัยนี้มันไม่ใช่แล้วครับ คนเป็นครูเพราะว่า ไม่มีอะไรให้ทำเยอะแยะไป เดี๋ยวนี้เข้าครูง่ายเสียเหลือเกิน ผมเรียนเอกคณิตศาสตร์กับเพื่อน เพื่อนผมที่มาเรียนเอกเดียวกับผม ยัง บวกลบเศษส่วนไม่เป็นด้วยซ้ำ แต่ยังมาเรียน ครุ + คณิต
ขอแสดงความคิด ในฐานะครูคณิต คนนึง

Puriwatt
17 กรกฎาคม 2008, 12:09
1.ครูอาจารย์ คือผู้สอนสั่งชี้นำทั้งในหลักแห่งวิชาการและหลักจริยธรรม
- ครูควรจะมีความรู้เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างดี และควรมีความรักเอาใจใส่ในอาชีพของตน
- ครูที่มีความรักในอาชีพของตน จะหมั่นศึกษาค้นคว้า ในหลักวิชาที่ตนรับผิดชอบอยู่ และมักจะมีความรู้ที่ทันสมัย
- การพัฒนาศักยภาพของครู ถ้าได้ครูมีคุณภาพดีมาเป็นผู้ชี้ทางให้เด็กแล้วประเทศไทยคงจะเจริญกว่านี้แน่
- จากการสังเกตุดูพบว่ามีครูบางคนในบางโรงเรียนได้กลายเป็นพนักงานรับจ้างสอนไปแล้ว และบางคนก็สอนพิเศษ
เพื่อให้มีรายได้เพิ่ม ทำให้ผู้ปกครองบางคนคิดว่า "การศึกษาสามารถซื้อได้ด้วยเงิน" จึงเป็นการศึกษาขาดตอน

2. นักเรียน คือผู้ศึกษาหาความรู้ความชำนาญตามที่ครูสั่งสอน
- นักเรียนมีหลายประเภท แต่ส่วนใหญ่มีผู้ปกครองเป็นผู้ชี้นำและคอยควบคุมขีดเส้นให้เดิน
- น้อยคนนักที่จะรู้ว่าตนต้องการอะไร และจะสามารถไปถึงจุดหมายที่ต้องการได้อย่างไร
- เมื่อเริ่มเป็นวัยรุ่นก็มักจะเลือกเรียนตามเพื่อน และเรียนพิเศษในสถาบันต่างๆ โดยไม่เข้าใจหลักการเรียนรู้
- เมื่อเด็กที่เติบโตขึ้นมาในสภาพนี้จะมีแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาที่ผิด และจะทำให้เกิดวงจรการซื้อความรู้
และไม่สามารถประยุกต์หลักการแท้จริงของการศึกษามาใช้กับการดำรงชีพได้อย่างถูกต้อง

3.การจัดห้องเรียนพิเศษ สำหรับเด็กที่มีความสามารถเฉพาะทางนั้นเป็นการสมควรแล้ว
เพราะจากงานวิจัยต่างๆในต่างประเทศ มักจะมีข้อสรุปตรงกันว่า "เมื่อนำเด็กที่มีพรสวรรค์เหล่านี้มาเรียนรวมกันแล้ว
จะสามารถพัฒนาอัจฉริยภาพได้ดีขึ้น และดีกว่าปล่อยทิ้งขว้างไปตามยถากรรม"
- ในหลายประเทศจึงมีการจัดกลุ่มการเรียนรู้ตามความสามารถที่เรียกว่า ห้อง คิง, ควีน, วิทย์ เป็นต้น
- ในการจัดการสอนสำหรับเด็กพิเศษ ก็เพื่อให้เกิดการฝึกฝนไปพร้อมกันได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
- ความรู้ที่เกิดจากการรับรู้ จะเป็นการแปลสารโดยใช้ประสบการณ์เดิม (จะผิด-ถูก ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว)
- ต้องนำมาฝึกฝนจนชำนาญ(หมั่นคิด+หมั่นทำ) จึงจะถูกต้องและสามารถนำไปใช้การได้จริง
- เรียนพิเศษ เป็นเรื่องพิเศษสำหรับคนพิเศษ ถ้าเพียงแค่รับรู้แล้วไม่นำมาฝึกฝน,ฝึกทำ มันก็แค่ผ่านไปเท่านั้น

"ขอขอบคุณ คุณครู ผู้สอนสั่ง...ผู้เป็นดั่ง แสงไฟ ให้ทางฉัน
คิดถึงครู ผู้ชรา มานานวัน...ฝันถึงวัน ที่ฉันได้ กลายเป็นครู"

Pocket
23 กรกฎาคม 2008, 12:26
ผมว่าอยุ่ที่ตัวเด็ก 90 เปอร์เซนต์ครับ

อีกสิบเปอร์เซนต์เปนของผุ้สอนในโรงเรียน

เพราะตัวผมเองก้อเคยเจอในลักณะนั้นมาแล้ว

ผมออกไปเรียนพิเศษเคมีที่สถาบันกวดวิชาแห่งหนึ่งที่เขาว่ากันว่าดีนักหนา

แต่ว่า เคมีนั้นยังไม่ใช่ศาสตร์ที่ผมสนใจเลยซักนิด ถึงครูจะดีแค่ไหน แต่ถ้าเด็กไม่รับมันก้อไม่ได้อะไรเรย

ผิดกับวิชาคณิตศาสตร์(ซึ่งเป้นวิชาที่ผมสนใจ) แค่เรียนในห้องตอนมอปลายผมก้อเข้าใจแล้ว

ถึงแม้ผมจะไปเรียนพิเศษเพิ่มเติมบ้างนิดหน่อย แต่พอลองมาเทียบดู ทุกที่ที่สอนพิเศษ ก็ไม่ได้ต่างจากที่อาจารย์สอนในห้องเรียนเลย

เพราะอย่างไรก้อมาจากศาสตร์ตัวเดียวกัน เพียงแต่ในห้องเรียน มันจะช้ากว่าเท่านั้นเอง เพราะครูต้องอธิบายโดยละเอียด

แต่เมื่อไปเรียนพิเศษ ซึ่งอาจารย์เขาจะคิดว่าเราจะรุ้พื้นฐานมาอยู่แล้ว ทำให้เขาไปไวกว่า (เพราะยังไงก้อต้องเรียนในห้องเรียนที่โรงเรียนมาแล้ว)

แล้วพอกลับมาในห้องเรียนอีกที เด็กกลายเป็นว่าที่เรียนพิเศษสอนง่าย ไว และเข้าใจกว่าซะได้

ทั้งๆที่ถ้าเราไม่มีพื้นฐานจากห้องเรียนไปก่อน เราก้อจะม่มีทางรู้เรื่องที่เรียนพิเศษได้เรย





โดยส่วนตัวอยากบอกว่า ครูคณิตศาสตร์ มอปลาย ที่โรงเรียนเก่าผมสอนดีมากครับ ยังเคารพท่านอยุ่เรย
จากเด็กปริญญษตรีปี 2 ภาคคฯิตศาสตร์

love_math
26 กรกฎาคม 2008, 11:23
แต่ละโรงเรียนสอนต่างกันแล้วจะใช้สิ่งใดมาวัดมาตราฐานการศึกษา

Puriwatt
26 กรกฎาคม 2008, 22:17
แต่ละโรงเรียนสอนต่างกันแล้วจะใช้สิ่งใดมาวัดมาตราฐานการศึกษา
เนื่องจากมีผู้ดูแลระบบการศึกษาที่ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้จัดระบบการสอบวัดมาตราฐานการศึกษา
ที่เรารู้จักในนาม National Test หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า การสอบ N.T. ของแต่ละระดับชั้นนั่นเอง

MAGMaster_ราชันชุดขาว
27 กรกฎาคม 2008, 16:00
คงจะจริงครับ