PDA

View Full Version : คณิตศาสตร์ในชิวิตประจำวัน


first
11 ธันวาคม 2008, 22:36
ช่วยหาบทความคณิตศาสตร์ที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้หน่อยครับ
เป็นทฤษฎีที่มีการนำมาประยุกต์ใช้แล้วก็ได้ครับ
ช่วยผมหน่อยครับ ผมขอ3เรื่องครับ

nongtum
12 ธันวาคม 2008, 09:09
ออกนอกบ้าน แล้วไปตลาด ไปที่จุดก่อสร้าง ห้าง หรือที่ไหนก็ได้ครับ เจอแน่ๆเผลอๆเร็วกว่าค้นจากกูเกิล เพียงแต่อาจดูเผินๆไม่เห็นเท่านั้นเอง

คusักคณิm
12 ธันวาคม 2008, 19:09
มีหนังสืออยู่เล่มนึง.....
คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
ปีพิมพ์ :3/2549
ราคาปกติ :100 บาท
ผู้แต่ง นายสุธี เรืองวิเศษ

คusักคณิm
12 ธันวาคม 2008, 21:49
คณิตศาสตร์ กับ การผวนคำ

คุณเคยหัดผวนคำกันมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ ในชีวิต

ยกตัวอย่างเช่น สวัสดี ผวนเป็น สะ หวี ดัด

ฝึกหัดคำแบบนี้ก็สนุกดีนะครับ มึนดีครับ

ผมสังเกตว่า การผวนคำเป็นการบริหารของสมองทั้งสองซีก โดยซีกซ้ายทำหน้าที่ผวน และซีกขวาทำหน้าที่ตกแต่งคำตามภาษาศิลป์

มองๆ แล้วก็เหมือนกับ การ เอ็นโค๊ด ดีโค๊ด ในการเข้าและถอดรหัสลับนะครับ

ยกตัวอย่างเช่น นายสมพร

เข้ารหัสไปเรื่อยๆ เช่น

นายสมพร เป็น นอนสมพาย

นอนสมพาย เป็น นอนสายพม

นอนสายพม เป็น นมสายพอน

นมสายพอน เป็น นมสอนพาย

นมสอนพาย เป็น นายสอนพม

นายสอนพม เป็น นายสมพร

เห็นไหมครับ นี่คือความงามของภาษาแบบครบวงจรนะครับ สามารถเขียนได้ตามหลักและสูตรของการเรียงสับเปลี่ยน ว่าด้วย วรรณคำผวน

คุณเห็นไหมครับ ว่า นั่นจากคำสามพยางค์ เรามองได้โดยการสลับที่เป็น 6 กรณี

ใน 6 กรณีนั้น จะเข้าสู่ระบบหลักทางคณิตศาสตร์ว่า สามารถเรียงสับเปลี่ยนกันได้ 3! (สามแฟกตอเรียล) กรณีที่ไม่มีสระซ้ำครับ

ซึ่ง 3! = 1x2x3 = 6 กรณีครับ

แล้วเช่น โกทูโนว หล่ะครับ ผวนได้ กี่วิธีครับ

เห็นไหมครับ ว่า คณิตศาสตร์ อยู่ทางซ้ายซ้าย ภาษาอยู่ด้านขวาของสมอง

สรุปคือ การผวนคำเป็นการบริหารสมองทั้งสองซีกของคุณอย่างสมบูรณ์ครับ

คุณเห็นอย่างไร ผมเห็นแบบนี้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

จาก http://learners.in.th/blog/mathsindailylife/90630

คusักคณิm
12 ธันวาคม 2008, 21:51
1. ความหมายและพัฒนาการความคิดทางคณิตศาสตร์
- ความหมายของคณิตศาสตร์
- พัฒนาการความคิดทางคณิตศาสตร์
- การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
2. คณิตศาสตร์กับตัวเลขและสัญลักษณ์
- ความเป็นมาและความหมายของตัวเลขและสัญลักษณ์ที่น่าสนใจ
- ตัวเลขและสัญลักษณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
3. คณิตศาสตร์กับปรากฏการณ์ธรรมชาติ
- ตัวอย่างปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องในมุมมองของคณิตศาสตร์
- หลักการและทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
- การศึกษาความสัมพันธ์และการหาคำตอบของปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าสนใจ
- ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับสัดส่วนทองคำ (Golden ratio)
4. คณิตศาสตร์กับศิลปและความงาม
- ความสวยงามในมุมมองของคณิตศาสตร์ (Heart curve , Fractal , Golden ratio, …)
- เรขาคณิตกับศิลป ( Origami , Tangram , …)
- ตัวอย่างการออกแบบลวดลาย (Patterns, Tilings, Tessellations, ลายไทย, การออกแบบลวดลายผ้า, การปักครอสติส,การร้อยลูกปัด, ...)
- ตัวอย่างการออกแบบโครงสร้าง (โครงสร้างอาคาร, แผนที่, เขาวงกต, ...)
- ความสวยงามของผลึก/โครงสร้างอะตอม
5 . คณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี
- ระบบเลขฐานกับเทคโนโลยี
- จากลูกคิดสู่คอมพิวเตอร์
- Discrete mathematics
- Fuzzy logic กับเทคโนโลยี
- คอมพิวเตอร์กราฟฟิก / เกม กับคณิตศาสตร์
- รหัสผ่านและการเข้ารหัสถอดรหัส
- การประมวลผลภาพ ในมุมมองของคณิตศาสตร์
- การอ่านลายนิ้วมือ หรือ ม่านตา ที่เกี่ยวกับ คณิตศาสตร์
- ไวรัสคอมพิวเตอร์ กับ คณิตศาสตร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม, ความรู้เกี่ยวกับแผนที่เบื้องต้น, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System, GIS)
- รหัสพันธุกรรม
6. คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหาและตัดสินใจในชีวิตประจำวัน
- มาตรา การชั่ง ตวง วัด
- ดัชนีมวลกาย และ การหาพื้นที่ผิวของร่างกาย
- การคิดค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ, ค่าไฟ)
- การเสียภาษีรายได้
- การฝากเงิน การกู้เงิน ดอกเบี้ย
- คณิตศาสตร์ กับ เกม / การพนัน / การเสี่ยงโชค
- คลื่นเสียง กับ คณิตศาสตร์
- ดนตรี กับ คณิตศาสตร์
- ทักษะในการคิดเลขเร็ว (คณิตศาสตร์กับลูกคิด, Vedic Mathematics,…)
7. คณิตศาสตร์กับศาสนาและความเชื่อ
- คณิตศาสตร์ในศาสนาหรือนิกายต่างๆ
- ความเชื่อและสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ( Mandala , หยินหยาง, โป๊ยก่วย. ยันต์, …)
- คณิตศาสตร์ สถิติ ความน่าจะเป็นกับการพยากรณ์ (โหราศาสตร์, อี้จิง, เซียมซี, Numerology, …)
- เรียนรู้บุคลิกภาพ/เรียนรู้ใจตนเอง จากตัวเลข
8. แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
- ประเภทของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
- การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
- ตัวอย่างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์

คนชอบคณิตศาสตร์
13 มกราคม 2009, 00:30
ความจริงก็มีอยู่รอบตัวของท่านเองนั่นแหละ
เช่น

1. การบวก คงไม่ยาก หากไปซื้อของหลายอย่าง แล้วต้องจ่ายเงิน การนับเงินจ่าย ต้องรวมเงินก่อน การรวมเงินก็คือการบวก ถ้าต้องการแสดงเป็นตัวเลข
การรวมเงิน ก็คิดในใจได้ เช่น ซื้อของ 3 ชนิด ราคา 1,028 บาท, 646 บาท, และ 97 บาท เป็นต้น
วิธีคิด ต้องจ่ายเงินด้วย
แบงก์พัน 1 ใบ เป็นเงินพันบาท
แบงก์ร้อย 6 ใบ หกร้อยบาท รวมเป็นเงิน หนึ่งพันหกร้อยบาท
เหรียญสิบ 15 เหรียญ เป็นเงินหนึ่งร้อยห้าสิบบาท หรือ แบงก์ร้อย 1 ใบ กับเหรียญสิบ 5 เหรียญ รวมเป็นเงิน หนึ่งพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาท
เหรียญบาท 21 เหรียญ เป็นเงินยี่สิบเอ็ดบาท หรือ เหรียญสิบ 2 เหรียญ เหรียญบาท 1 เหรียญ รวมเป็นเงินที่ต้องจ่าย คือ หนึ่งพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาท
ง่ายไหม?
2. ถ้าลบก็คือห้กกัน เอาออก หรือหาส่วนเกินก็ได้ ในกรณี ข้อ 1 ถ้าจ่ายเงินค่าสินค้า 1771 บาท ไปเป็นเงิน 1780 บาท ก็จะได้ทอน 9 บาท เพราะให้เกินไป 9 บาท
ถ้าให้ไป 1800 บาท ก็จะได้ทอน ก็จะได้ทอน เหรียญสิบ 2 เหรียญ กับเหรียญบาท 9 เหรียญ หรือ 29 บาท เพราะจ่ายเงินเกินไป 2 เหรียญสิบ และ 9 เหรียญบาท จริงไหม? และ
หากให้ไป 2000 บาท แสดงว่า จ่านเกินแบงก์ร้อยเกินไปอีก 2 ใบ จึงต้องได้เงินทอน แบงก์ร้อย 2 ใบ เหรียญสิบ 2 เหรียญ และเหรียญบาท 9 เหรียญ หรือ 229 บาท
3. การคูณก็เป็นการซื้อของอย่างเดียว ราคาเดียวกัน หลายๆ ชิ้น เช่น ซี้อของ 7 ชิ้นราคาชิ้นละ 329 บาท ก็ต้องจ่ายเงินดังนี้
3.1. แบงก้ร้อย 21 ใบ หรือ แบงก์พัน 2 ใบแบงก์ร้อย 1 ใบ หรือ สองพันหนึ่งร้อยบาท
3.2. เหรียญสิบ 14 เหรียญ หรือ แบงก์ร้อย 1 ใบ เหรียญสิบ 4 เหรียญ หรือหนึ่งร้อยสี่สิบบาท รวมเป็น สองพันสองร้อยสี่สิบบาท
3.3. เหรียญบาท 63 เหรียญ หรือ เหรียญสิบ 6 เหรียญ และเหรียญบาท 3 เหรียญ หรือหกสิบสามบาท รวมต้องจ่ายทั้งสิ้น สองพันสามร้อย(เหรียญสิบอีกหกเหรียญกับสีเหรียญ เป็นหนึ่งร้อยบาท)สามบาท หรือ 2303 บาท ก็ไม่ยากเห็นไหม?

หรือลองหัดปูกระเบื้องพื้นดูบ้างก็จะได้การแสดงวิธีคูณด้วย
4. การหารก็ง่ายๆ ไม่ยาก เช่น มีเงิน 2000 บาท ซื้อของราคา 726 บาทได้กี่ชิ้น ให้คิดดังนี้
- ของชิ้นหนึ่งต้องจ่ายแบงก์ร้อย 7 ใบ ถ้าซื้อ 3 ชิ้น ต้องจ่าย 21 ใบ แต่มีแบงก์ร้อยเพียง 20 ใบเท่านั้น ไม่พอจ่าย ก็ซื้อได้เพียง 2 ชิ้น หรือ หนึ่งพันสี่ร้อยบาท เท่านั้น
- ถ้าอยากจะทราบว่าเหลือเงินเท่าไร ก็คิดต่อไปว่า
ก. เหลือเงินอีก 600 บาทต้องจ่ายค่าของอีก 2 ชิ้น ชิ้นละ 2 เหรียญสิบ เป็น 4 เหรียญสิบ ก็ต้องจ่ายแบงก์ร้อยไปอีก 1 ใบ คงเหลืออีก 5 ใบ กับเงินทึ่จ่ายเกินอีก 6 เหรียญ
ข. ต้องจ่ายค่าของอีก 12 เหรียญบาท หรือ 2 เหรียญสิบ จึงต้องได้รับทอนอีก 4 เหรียญสิบ รับทอนเป็นเหรียญบาทอีก 8 เหรียญบาท รวมเงินทอน 548 บาท

ค่อยๆ อ่านและคิดตามนะ ถ้าจะให้ดี เอาเงินออกมาแสดงเลย จะเข้าใจยิ่งขึ้น ครั้งแรกต้องเงินมาตามจำนวนที่แสดงเป็นต้วเลขก่อน แล้วจึงแลก จึงทอน จะช่วยให้เข้าใจคณิตศาสตร์ถึงธรรมชาติของมันเลย

แล้วท่านจะใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น

LInDaRMan_BUs
27 มกราคม 2010, 11:17
อ่่านแล้วหนุกดีจัง

มือใหม่หัดเรียน
28 มกราคม 2010, 18:35
ความจริงก็มีอยู่รอบตัวของท่านเองนั่นแหละ
เช่น

2. ถ้าลบก็คือห้กกัน เอาออก หรือหาส่วนเกินก็ได้ ในกรณี ข้อ 1 ถ้าจ่ายเงินค่าสินค้า 1771 บาท ไปเป็นเงิน 1780 บาท ก็จะได้ทอน 9 บาท เพราะให้เกินไป 9 บาท
ถ้าให้ไป 1800 บาท ก็จะได้ทอน ก็จะได้ทอน เหรียญสิบ 2 เหรียญ กับเหรียญบาท 9 เหรียญ หรือ 29 บาท เพราะจ่ายเงินเกินไป 2 เหรียญสิบ และ 9 เหรียญบาท จริงไหม? และ
หากให้ไป 2000 บาท แสดงว่า จ่านเกินแบงก์ร้อยเกินไปอีก 2 ใบ จึงต้องได้เงินทอน แบงก์ร้อย 2 ใบ เหรียญสิบ 2 เหรียญ และเหรียญบาท 9 เหรียญ หรือ 229 บาท


เอ่อ ครูผมสอนว่าจริงๆแล้ว การลบในโลกนี้ไม่มีอยู่จริงอะครับ= = ครูบอกว่า สมมุต 2-1 จริงๆเเล้วก็คือ 2+(-1)อะ
ไม่ทราบเเน่ชัดเเต่ครูสอนมาอ่าครับ= =a

TARNTY ♥
10 เมษายน 2010, 19:13
มีหนังสืออยู่เล่มนึง.....
คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
ปีพิมพ์ :3/2549
ราคาปกติ :100 บาท
ผู้แต่ง นายสุธี เรืองวิเศษ

มีหนังสือชื่อนี้ ไม่แน่ใจว่าผู้แต่งชื่อ สุธี หรือเปล่า
แต่สนุกมากค่ะ :kiki:

fuukun
10 มีนาคม 2011, 16:30
ขอบคุณค่ะ อ่านเเล้วเข้าใจเข้าใจมากขึ้นเลย:laugh:

coolmost
14 กันยายน 2011, 20:09
ข้อความเดิมของคุณ คนรักคณิตศาสตร์
1. การบวก คงไม่ยาก หากไปซื้อของหลายอย่าง แล้วต้องจ่ายเงิน การนับเงินจ่าย ต้องรวมเงินก่อน การรวมเงินก็คือการบวก ถ้าต้องการแสดงเป็นตัวเลข
การรวมเงิน ก็คิดในใจได้ เช่น ซื้อของ 3 ชนิด ราคา 1,028 บาท, 646 บาท, และ 97 บาท เป็นต้น
วิธีคิด ต้องจ่ายเงินด้วย
แบงก์พัน 1 ใบ เป็นเงินพันบาท
แบงก์ร้อย 6 ใบ หกร้อยบาท รวมเป็นเงิน หนึ่งพันหกร้อยบาท
เหรียญสิบ 15 เหรียญ เป็นเงินหนึ่งร้อยห้าสิบบาท หรือ แบงก์ร้อย 1 ใบ กับเหรียญสิบ 5 เหรียญ รวมเป็นเงิน หนึ่งพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาท
เหรียญบาท 21 เหรียญ เป็นเงินยี่สิบเอ็ดบาท หรือ เหรียญสิบ 2 เหรียญ เหรียญบาท 1 เหรียญ รวมเป็นเงินที่ต้องจ่าย คือ หนึ่งพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาท
ง่ายไหม?

คือว่าคณิตศาสตร์ก็อยู่กับเราทุกวันเช่น การซื้อสินค้านั่นแหละ