Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ข้อสอบในโรงเรียน ม.ต้น (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=32)
-   -   ข้อสอบ สพฐ. รอบที่ 1 ปี 2560 (มัธยมต้น) (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=23656)

Benten10 25 มกราคม 2017 11:46

ข้อ 16 เอนเอส 8 เอนอี 2 ? ผมได้ 4 อะครับ

Hutchjang 26 มกราคม 2017 09:05

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ otakung (ข้อความที่ 183937)
ให้มุม DEC=a ลาก DO จะได้ DOE=a ด้วย เพราะว่าเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
จะได้มุม BDO=2a ทำให้ DBO=2a ด้วย

ก็จะได้ว่า BOA=3a

ดังนั้น $K=\frac{1}{3}$ และ $27K=9$ ครับ

ขอบคุณมากครับ รบกวนสอบถามข้อ 24 หน่อยนะครับ ว่ามีวิธีหาคำตอบอย่างรวดเร็วมั้ยครับ ข้อนี้ในห้องสอบ ผมเสสียเวลาไปมากครับ และก็ไม่ได้คำตอบ แม้ตอนนี้จะรู้คำตอบแล้ว แต่ก็เสียเวลาทดลองไปเยอะมากครับ

otakung 26 มกราคม 2017 09:44

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Hutchjang (ข้อความที่ 183951)
ขอบคุณมากครับ รบกวนสอบถามข้อ 24 หน่อยนะครับ ว่ามีวิธีหาคำตอบอย่างรวดเร็วมั้ยครับ ข้อนี้ในห้องสอบ ผมเสสียเวลาไปมากครับ และก็ไม่ได้คำตอบ แม้ตอนนี้จะรู้คำตอบแล้ว แต่ก็เสียเวลาทดลองไปเยอะมากครับ

ผมไล่เอาครับ 55 ไม่รู้มีเร็วกว่านี้มั้ย แต่ผมว่าไล่เอาก็ง่ายดี เลขมันไม่เยอะ ผลบวกต้องเป็นเลขคี่ดังนั้น a หรือ b ต้องเป็นเลขคู่ ก็สมมติให้เป็น a ไป อีกตัวเป็นเลขคี่

เริ่มจาก a=2 จะได้ b เริ่มตั้งแต่ 15 แล้วมันเจอเลยตัวแรกว่า p อย่างมากต้องเป็น 229
ลอง a=4 (หลังจากนี้ b ต้องไม่ถึง 15 แล้ว) จะได้ b ต้องเริ่มตั้งแต่ 15 ก็ข้ามไป
ลอง a=6 จะได้ b ต้องเริ่มตั้งแต่ 13 แต่ลองแล้วไม่ใช่

ก็ประมาณนี้น่ะครับ แต่ละค่าของ a มันจะไล่ b ไม่กี่ค่าก็ข้าม เพราะว่าได้ 229 มาตั้งแต่แรก ถ้าเอาให้ครบก็ไล่ถึง a=14 ก็ไม่น่าจะนานมาก

ถ้าท่านไหนมีวิธีดี ๆ ก็รบกวนแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ

gon 26 มกราคม 2017 21:34

ข้อ 24. ผมคิดแบบนี้ เรารู้ว่า p ต้องเป็นจำนวนคี่ที่หารด้วย 4 แล้วเหลือเศษ 1

ดังนั้นถ้าเริ่มจากจำนวนคี่ที่หารด้วย 4 แล้วเศษ 1 ขึ้นไปคือ 201, 205, 209, 213, 217, 221, 225, 229

จะพบว่า 229 เป็นจำนวนเฉพาะจำนวนแรก แล้วเมื่อลองให้ a = 2 ก็จะเจอ b ทันทีครับ.

otakung 26 มกราคม 2017 22:04

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gon (ข้อความที่ 183955)
ข้อ 24. ผมคิดแบบนี้ เรารู้ว่า p ต้องเป็นจำนวนคี่ที่หารด้วย 4 แล้วเหลือเศษ 1

ดังนั้นถ้าเริ่มจากจำนวนคี่ที่หารด้วย 4 แล้วเศษ 1 ขึ้นไปคือ 201, 205, 209, 213, 217, 221, 225, 229

จะพบว่า 229 เป็นจำนวนเฉพาะจำนวนแรก แล้วเมื่อลองให้ a = 2 ก็จะเจอ b ทันทีครับ.

ขอบคุณครับ ดูเร็วดี ไล่ไม่กี่ตัวเอง

Uncle Laem 27 มกราคม 2017 10:42

สอบถามข้อ12 ครับ
ลองจับคู่แล้วแจกแจงมาได้ทั้งหมด 28 คู่ แต่มี A จำนวน 2 ตัว เลยนำคู่ที่ซ้ำตัดออกจะเหลือ 22 คู่ ในทำนองเดียวกัน จับคู่กับพยัญชนะได้ 15 คู่ ตัดที่ซ้ำกันออก จะเหลือ10 คู่ ถ้าไม่ตัดออก ความน่าจะเป็น= 15/28 แต่ถ้าตัดคู่ที่ซ้ำออก ความน่าจะเป็นจะเท่ากับ 5/11 อยากทราบว่าควรจัดคู่ที่ซ้ำหรือไม่

lek2554 27 มกราคม 2017 17:31

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Uncle Laem (ข้อความที่ 183966)
สอบถามข้อ12 ครับ
ลองจับคู่แล้วแจกแจงมาได้ทั้งหมด 28 คู่ แต่มี A จำนวน 2 ตัว เลยนำคู่ที่ซ้ำตัดออกจะเหลือ 22 คู่ ในทำนองเดียวกัน จับคู่กับพยัญชนะได้ 15 คู่ ตัดที่ซ้ำกันออก จะเหลือ10 คู่ ถ้าไม่ตัดออก ความน่าจะเป็น= 15/28 แต่ถ้าตัดคู่ที่ซ้ำออก ความน่าจะเป็นจะเท่ากับ 5/11 อยากทราบว่าควรจัดคู่ที่ซ้ำหรือไม่

สมมติว่า มีสลาก 3 ใบขนาดเท่ากัน เขียนอักษร A ลงบนสลาก 2 ใบ เขียนอักษร B ลงบนสลาก 1 ใบ

ใส่สลากทั้ง 3 ใบลงในกล่องใบหนึ่ง เขย่ากล่องแล้วสุ่มหยิบสลากขึ้นมา 1 ใบ

1.โอกาสได้สลากที่เขียนอักษร A จะมากกว่าโอกาสได้สลากที่เขียนอักษร B ไหมครับ

2.โอกาสได้สลากที่เขียนอักษร A มีค่าเท่าใด

3.โอกาสได้สลากที่เขียนอักษร ฺB มีค่าเท่าใด

Puriwatt 27 มกราคม 2017 19:26

ข้อ 25 ให้ $P(x) = (x-a)(x-b)(x-c)(x-d)$ และ $M = ab+ac+ad+bc+bd+cd$

จะได้ $P(0) = abcd = N$ และ $P(e)+P(-e) = 2(e^4+Me^2+N) $

จากเงื่อนไขที่โจทย์ให้มา จะได้ว่า $2((\frac{1}{2})^4+M(\frac{1}{2})^2+N)$ = $2((\frac{1}{3})^4+M(\frac{1}{3})^2+N)$

และ $M[(\frac{1}{2})^2-(\frac{1}{3})^2] = (\frac{1}{3})^4-(\frac{1}{2})^4$ ดังนั้น M = $- \frac{13}{36}$

เนื่องจาก $\frac {2[(\frac{1}{2})^4+M(\frac{1}{2})^2+N]}{N} = 6 $ ได้ $2N = \frac{1}{2})^4+M(\frac{1}{2})^2$ = $-\frac{1}{36}$ และ $N = -\frac{1}{72}$

สิ่งที่โจทย์ต้องการให้หาค่าคือ $ \frac{M}{N} = (-\frac{13}{36}) \div (-\frac{1}{72}) = 26$

Hutchjang 27 มกราคม 2017 20:39

ขอบคุณ คุณอา gon และคุณ otakung มากครับ

gon 28 มกราคม 2017 08:21

ข้อที่ 12. เรื่องความน่าจะเป็น หลักการก็คือไม่ว่าจะเป็นของเหมือนกัน หรือ ของต่างกัน เวลาคิดจะต้องคิดว่าเป็นของที่ต่างกันเสมอครับ.

นั่นคือ THAILAND คิดว่าเป็น

$T, H, L, N, D$,

$A_1, A_2, I$

ถ้าหยิบพร้อมกันทั้งสองตัว คือ คิดว่า $A_1T$ เหมือนกับ $TA_1$ จะได้ $\frac{n(E)}{n(S)} = \frac{\binom{5}{1}\binom{3}{1}}{\binom{8}{2}} = \frac{15}{28}$

แต่ถ้าคิดว่าหยิบทีละครั้ง แต่ไม่ใส่คืนก่อนหยิบครั้งถัดไป คือคิดว่า $A_1T$ เป็นคนละวิธีกับ $TA_1$จะได้ $\frac{n(E)}{n(S)} = \frac{5\times 3 \times 2!}{8\times 7} = \frac{15}{28}$ เช่นกันครับ.

Uncle Laem 28 มกราคม 2017 09:07

ขอบคุณครับ


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 07:01

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha