Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=3)
-   -   my math problem collection (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=17060)

-InnoXenT- 20 สิงหาคม 2012 00:15

my math problem collection
 
ผมได้เก็บรวมรวมโจทย์เลขจากที่ต่างๆ ที่ผมเห็นตั้งแต่ตอนผม ม.ปลาย จนถึงปี 2 เกือบประมาณ 1300 ข้อแล้วครับตอนนี้ (ตอนนี้ผมเรียนปี 4) ก็เลยกะว่า จะมาปล่อยในนี้ครับ โจทย์ที่เห็นอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตา user ท่านอื่นๆ เพราะว่าผมเองก็ไม่ใช่คนแต่งโจทย์ เป็นเพียงคนเก็บสะสมมานาน เฉยๆ ถ้าข้อไหนเคยเฉลยแล้ว ก็อย่าว่ากันนะครับ :wacko: ผมจะค่อยๆปล่อยละกัน :) ความยากของโจทย์ก็มีคละๆกันไป

1. จงหาค่่าของ $\displaystyle{\sqrt[8]{2207-\frac{1}{2207-\frac{1}{2207-...}}}}$ ในรูป $\frac{a+b\sqrt{c}}{d}$ เมื่อ $a,b,c,d \in \mathbb{Z}$

2. กำหนดให้ $\alpha,\beta,\gamma,\delta$ เป็นคำตอบ 4 คำตอบในสมการ $\left| x^2-3x+2\right| =mx$
2.1) จงหาช่วงของค่า $m$ ที่ทำให้ $\alpha\neq\beta\neq\gamma\neq\delta$

2.2) จงแสดง $S = \frac{1}{\alpha^2}+\frac{1}{\beta^2}+\frac{1}{\gamma^2}+\frac{1}{\delta^2}$ ในรูปของ $m$

2.3) จงหาช่วงของค่า $S$

3. Simplify $\sqrt[2003]{2\sqrt{11}-3\sqrt{5}}\sqrt[4006]{89+12\sqrt{55}}$


4. กำหนดให้ $x,y > 0$ ที่ทำให้
$$3 = k^2(\frac{x^2}{y^2}+\frac{y^2}{x^2})+k(\frac{x}{y}+\frac{y}{x})$$
จงหาค่าที่เป็นไปได้มากสุดของค่า $k$


5. กำหนดให้ $m \otimes n = \frac{m+n}{mn+4}$ จงหาค่าของ $((...((2005\otimes 2004)\otimes 2003)\otimes ...\otimes 1)\otimes 0)$


-Math-Sci- 20 สิงหาคม 2012 08:09

ขอบคุณสำหรับน้ำใจ ครับ พี่ Innoxent

มีแต่โจทย์โหด ๆ ขอผมนั่งดูอย่างเดียวละกัน 555555555555. :haha::haha:

-InnoXenT- 20 สิงหาคม 2012 17:23

ความจริง พี่ก็ทำได้ไม่หมดหรอกครับ ที่ทำมา ก็มั่วๆไป ฮ่าๆๆ :( ช่วยเฉลยหน่อยก็ดีนะ

Euler-Fermat 20 สิงหาคม 2012 20:06

5. $m \otimes n = \dfrac{m+n}{mn+4}$
ได้ ว่า $k \otimes 2 = \dfrac{k+2}{2k+4}$ = $\dfrac{1}{2}$ เมื่อ k เป็นจำนวนจริงใดๆ
ดังนั้น $((...((2005\otimes 2004)\otimes 2003)\otimes ...\otimes 1)\otimes 0)$
= $(\dfrac{1}{2}\otimes 1)\otimes 0 = \dfrac{\dfrac{3}{2}}{\dfrac{9}{2}} = \dfrac{1}{3} \otimes 0 = \dfrac{\dfrac{1}{3}}{4} = \dfrac{1}{12}$

จูกัดเหลียง 20 สิงหาคม 2012 20:45

4.$3=k^2\Big(\dfrac{x^2}{y^2}+\dfrac{y^2}{x^2}\Big)+k\Big(\dfrac{x}{y}+\dfrac{y}{x}\Big)=k^2\Big(\dfrac{x}{y}+\dfrac{y}{x}\Big)^ 2+k\Big(\dfrac{x}{y}+\dfrac{y}{x}\Big)-2k^2\ge 2k^2+2k$
ดังนั้น $max(k)=\dfrac{-1+\sqrt 7}{2}$

-InnoXenT- 22 สิงหาคม 2012 03:04

6. จงหาค่าต่ำสุดของ $\left| \sin{x}+\csc{x}+\tan{x}+\cot{x}+\cos{x}+\sec{x}\right| $


7. ถ้า $\displaystyle{\frac{(a-b)(b-c)(c-a)}{(a+b)(b+c)(c+a)} = \frac{2004}{2005}}$ จงหาค่าของ $\displaystyle{\frac{a}{a+b}+\frac{b}{b+c}+\frac{c}{c+a}}$


8. จงพิสูจน์ว่า $\displaystyle{\tan^{-1}{(\frac{2}{1^2})}+\tan^{-1}{(\frac{2}{2^2})}+\tan^{-1}{(\frac{2}{3^2})}+... < \pi}$


9. จงแก้อสมการ $\sqrt{x^2-3x-1}+\sqrt{x^2-3x-2}+\sqrt{x^2-3x-3}+\sqrt{x^2-3x-4} \geq 3$


10. กำหนดให้ $\displaystyle{S = \cos{(\frac{\pi}{2549})}+\cos{(\frac{3\pi}{2549})}+\cos{(\frac{5\pi}{2549})}+...+\cos{(\frac{2547\pi}{2549})}}$ จงหาค่าของ $\log_{\frac{1}{S}}{1024S}$


-Math-Sci- 22 สิงหาคม 2012 10:18

9. จงแก้อสมการ $\sqrt{x^2-3x-1}+\sqrt{x^2-3x-2}+\sqrt{x^2-3x-3}+\sqrt{x^2-3x-4} \geq 3$

$\sqrt{x^2-3x-1}+\sqrt{x^2-3x-2}+\sqrt{x^2-3x-3}+\sqrt{x^2-3x-4} = S $

$\sqrt{(x-\frac{3}{2})^2-\frac{13}{4}}+\sqrt{(x-\frac{3}{2})^2-\frac{17}{4}}+\sqrt{(x-\frac{3}{2})^2-\frac{21}{4}}+\sqrt{(x-\frac{3}{2})^2-\frac{25}{4}} \geq 3$


พิจารณา $\sqrt{(x-\frac{3}{2})^2-\frac{25}{4}} \geq 0 $

$(x-\frac{3}{2})^2 \geqslant \frac{25}{4}$

แทนในรากทุกตัว

$S \geqslant \sqrt{\frac{25}{4}-\frac{13}{4}} + \sqrt{\frac{25}{4}-\frac{17}{4}}+ \sqrt{\frac{25}{4}-\frac{21}{4}} + \sqrt{\frac{25}{4}-\frac{25}{4}} = \sqrt{3} + \sqrt{2} + \sqrt{1} + 0 \geq 3 $ :great:

edit : เผื่อใครงง สรุปช่วง ตอบ $(-\infty,-1] \cup [4,\infty)$ มาจาก $x^2-3x-4 \geq 0 $

Thgx0312555 22 สิงหาคม 2012 19:30

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ -InnoXenT- (ข้อความที่ 145220)
7. ถ้า $\displaystyle{\frac{(a-b)(b-c)(c-a)}{(a+b)(b+c)(c+a)} = \frac{2004}{2005}}$ จงหาค่าของ $\displaystyle{\frac{a}{a+b}+\frac{b}{b+c}+\frac{c}{c+a}}$

ให้ $x=\dfrac{a-b}{a+b},y=\dfrac{b-c}{b+c},z=\dfrac{c-a}{c+a}$
จะได้ $xyz=\dfrac{2004}{2005}$

จาก $(x+1)(y+1)(z+1)=\dfrac{8abc}{(a+b)(b+c)(c+a)}$
และ $(x-1)(y-1)(z-1)=\dfrac{-8abc}{(a+b)(b+c)(c+a)}$

$(x+1)(y+1)(z+1)+(x-1)(y-1)(z-1)=0$
$xyz+x+y+z=0$
$\therefore x+y+z=-\dfrac{2004}{2005}$

$\dfrac{a}{a+b}+\dfrac{b}{b+c}+\dfrac{c}{c+a} = \dfrac{x+1}{2}+\dfrac{y+1}{2}+\dfrac{z+1}{2}=\dfrac{4011}{4010}$

Slow_Math 22 สิงหาคม 2012 19:37

ข้อ 10 Hint : คูณ 2sin pi/2549 เข้าไป

Keehlzver 23 สิงหาคม 2012 21:58

ผมมาแถมให้ครับ :)
ข้อ 7 สังเกตว่า
$\frac{a-b}{a+b}+\frac{b-c}{b+c}+\frac{c-a}{c+a}=\frac{(a-b)(b-c)(a-c)}{(a+b)(b+c)(c+a)}$
ก็จะได้ว่า
$\frac{a}{a+b}+\frac{b}{b+c}+\frac{c}{c+a}=\frac{1}{2}(3-\frac{(a-b)(b-c)(c-a)}{(a+b)(b+c)(c+a)})$

-InnoXenT- 24 สิงหาคม 2012 15:46

ข้อ 8. นี่ทำยังไงเหรอครับ :wacko:

-InnoXenT- 24 สิงหาคม 2012 16:54

11. กำหนดให้ $\displaystyle{\delta = x^{x^{x^{x^{...}}}}}$ เมื่อ $\delta\in\mathbb{R}$ จงหาค่าสูงสุดของ $\delta$


12. กำหนดให้ $A = \bmatrix{1 & 1 & 0 \\ 3 & 1 & 0 \\ 0 & 0 & -2}$
$B = A^{15}+A^{14}+...+I$
$C = A^{15}-A^{14}+A^{13}-...+A-I$
จงหา $\displaystyle{\frac{\det{(AB)}}{\det{C}}}$


13. จงแก้ระบบสมการ
$x + y + z = 0$
$x^3+y^3+z^3 = 12$
$x^6+y^6+z^6 = 264$


14. จงแก้สมการ $\displaystyle{\tan^{-1}{(\frac{1}{x})}+\tan^{-1}{(\frac{1}{x+3})}+\tan^{-1}{(\frac{1}{x+6})} = \frac{\pi}{4}}$


15. กำหนดให้ $a+b+c = 1$ และ $a^2+b^2+c^2 = 2$ จงหาค่าสูงสุดของ
$\displaystyle{(1+a)(1+b)(1+c)+(a+b)(b+c)(c+a)}$


Pain 7th 24 สิงหาคม 2012 17:53

15. $\displaystyle{(1+a)(1+b)(1+c)+(a+b)(b+c)(c+a)}= (ab+bc+ca+1)(a+b+c+1)= 2(1-\dfrac{1}{2})=1$

มันเท่ากับเลยอ่ะครับ ไม่แน่ใจว่าถูกไหมนะครับ

Pain 7th 24 สิงหาคม 2012 18:04

13. $x+y+z= 0 , x^3+y^3+z^3= 3xyz$ จะได้ $xyz=4$

$x^3y^3+y^3z^3+z^3x^3 = -60$

$x^3y^3+y^3z^3+z^3x^3-3x^2y^2z^2= (xy+yz+zx)(xy+yz+zx)^2$

$xy+yz+zx = -3\sqrt[3]{4}$

เพราะฉะนั้น x,y,z เป็นราของสมการ

$A^3-3\sqrt[3]{4}A-4=$

$A= \sqrt[3]{16}, -\sqrt[3]{2},-\sqrt[3]{2}$

Slow_Math 24 สิงหาคม 2012 18:21

12 Hint: AB = ? , AC = ?

-InnoXenT- 25 สิงหาคม 2012 23:57

16. กำหนดให้ $a,b,c \in \mathbb{R}^+$ ที่ทำให้ $\displaystyle{\frac{a}{b}+\frac{b}{c}+\frac{c}{a}=\frac{b}{a}+\frac{c}{b}+\frac{a}{c}}$ จงพิสูจน์ว่า $\displaystyle{(\frac{a}{b})^n+(\frac{b}{c})^n+(\frac{c}{a})^n=(\frac{b}{a})^n+(\frac{c}{b})^n+(\frac{a}{c})^n}$

17. กำหนดให้ $x_1,x_2,...x_{84}$ เป็นรากของ $x^{84}+7x-6 = 0$ จงหา $\displaystyle{\sum_{k=1}^{84}\frac{x_k}{x_k-1}}$


18. กำหนดให้ $a,b,c \in \mathbb{R}$ ที่ทำให้
$\left| a+b+c\right| \leq 3 $
$\left| a-b+c\right| \leq 2 $
$\left| a+b-c\right| \leq 1 $
จงหาค่ามากที่สุดของ $\left| a+2b+3c\right|$


19. กำหนดให้ $P(x) = x^6-x^5-x^3-x^2-x$ และ $Q(x) = x^4-x^3-x^2-1$
$Q(x)$ มี $z_1,z_2,z_3,z_4$ เป็นราก
จงหาค่าของ $P(z_1)+P(z_2)+P(z_3)+P(z_4)$


20. จงหาค่า $a < b < c$ ทั้งหมด ที่ทำให้
$2^a+2^b+2^c = 33554466$


polsk133 26 สิงหาคม 2012 00:22

19.ใช่6รึเปล่าครับ

-InnoXenT- 26 สิงหาคม 2012 00:29

ไม่ทราบเหมือนกันครับ เพราะโจทย์ที่ผมโพสท์ส่วนใหญ่ ผมยังไม่เคยลองทำ ผมโพสท์แล้วถึงจะมาลองทำกับทุกๆคนในนี้นี่แหละ :(

-InnoXenT- 26 สิงหาคม 2012 02:24

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ polsk133 (ข้อความที่ 145472)
19.ใช่6รึเปล่าครับ

ผมคิดได้ 14 นะครับ

Slow_Math 26 สิงหาคม 2012 17:51

16. Induction หรือ สมมุติตัวแปร $x,y,z$
19. $Q(x)$ หาร $P(x)$
20. $2^a(1+2^{b-a}+2^{c-a}) = 33554466$

Suwiwat B 26 สิงหาคม 2012 19:22

ข้อ 17 เเอบอธิบายยากมากๆๆๆๆ
สังเกตก่อนว่า$ x_1 -1,x_2 -1 ,...,x_{84} - 1$ เป็นรากของสมการ$ (x+1)^{84} + 7(x+1) - 6 = 0$
นั่นคือ$ x^{84} + ... + 91x+2=0$
ดังนั้น
$\sum_{n = 1}^{84}\frac{1}{x_k -1}$
$= \sum_{n=1}^{84}\frac{ผลบวกของผลคูณที่ละ 83 ตัว}{ผลคูณราก 84 ตัว}$
$= -\frac{91}{2}$
ทำให้
$\sum_{n = 1}^{84}\frac{x_k}{x_k -1}$
$= \sum_{n = 1}^{84}(1+\frac{1}{x_k -1}) $
$= 84 - \frac{91}{2}$
$=\frac{77}{2}$

truetaems 26 สิงหาคม 2012 19:40

my math problem collection
 
อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Euler-Fermat (ข้อความที่ 145100)
5. $m \otimes n = \frac{m+n}{mn+4}$
ได้ ว่า $k \otimes 2 = \frac{k+2}{2k+4}$ = $\frac{1}{2}$ เมื่อ k เป็นจำนวนจริงใดๆ
ดังนั้น $((...((2005\otimes 2004)\otimes 2003)\otimes ...\otimes 1)\otimes 0)$
= $(\frac{1}{2}\otimes 1)\otimes 0 = \frac{\frac{3}{2}}{\frac{9}{2}} = \frac{1}{3} \otimes 0 = \frac{\frac{1}{3}}{4} = \frac{1}{12}$

ได้ ว่า $k \otimes 2 = \frac{k+2}{2k+4}$ = $\frac{1}{2}$ เมื่อ k เป็นจำนวนจริงใดๆ
คิดยังไงครับ ผมยังมองไม่ออกเลย

-InnoXenT- 27 สิงหาคม 2012 01:07

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ truetaems (ข้อความที่ 145525)
ได้ ว่า $k \otimes 2 = \frac{k+2}{2k+4}$ = $\frac{1}{2}$ เมื่อ k เป็นจำนวนจริงใดๆ
คิดยังไงครับ ผมยังมองไม่ออกเลย

ผมก็มองไม่ออกครับ :sweat:

Thgx0312555 27 สิงหาคม 2012 20:52

16 สมมติ $x=\dfrac{a}{b},y=\dfrac{b}{c},z=\dfrac{c}{a}$
จาก $x+y+z=xy+yz+zx$ และ $xyz=1$
$x+y+z-1=xy+yz+zx-1$
$xyz-xy-yz-zx+x+y+z-1=0$
$(x-1)(y-1)(z-1)=0$

$(x^n-1)(y^n-1)(z^n-1)=0$
จัดรูปจะได้ตามต้องการครับ

yellow 27 สิงหาคม 2012 21:25

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ truetaems (ข้อความที่ 145525)
ได้ ว่า $k \otimes 2 = \frac{k+2}{2k+4}$ = $\frac{1}{2}$ เมื่อ k เป็นจำนวนจริงใดๆ
คิดยังไงครับ ผมยังมองไม่ออกเลย


ดูที่ $k = (...((2005\otimes 2004)\otimes 2003)\otimes ...\otimes 3)$ ครับ

-InnoXenT- 28 สิงหาคม 2012 10:49

ข้อ 18. นี่คิดไม่ออกจริงๆนะเนี่ย :sweat:

Suwiwat B 28 สิงหาคม 2012 15:38

ข้อ 18 ผมลองคิดมั่วๆ ดูนะครับ โดยถอด absolute ออกก่อนจะได้
$-3\leqslant a+b+c \leqslant 3$ คูณ 2.5 ทั้งอสมการได้ $-7.5 \leqslant 2.5a+2.5b+2.5c \leqslant 7.5$
$-2\leqslant a-b+c \leqslant 2$ คูณ -0.5 ทั้งอสมการได้ $-1 \leqslant -0.5a+0.5b-0.5c \leqslant 1$
$-1\leqslant a+b-c \leqslant 1$ คูณ -1 ทั้งอสมการได้$ -1 \leqslant -a-b+c \leqslant 1$
บวกกันหมดจะได้
$-9.5 \leqslant a+2b+3c \leqslant 9.5$
$|a+2b+3c|\leqslant 9.5$
น่าจะตอบ $9.5$
สำหรับตัวคูณ ถ้าถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าต้องคูณด้วย 2.5 , -0.5 , -1 ผมให้ตัวคูณเป็น x , y , z เเล้วตั้งสมการ
$$x+y+z = 1$$
$$x-y+z=2$$
$$x+y-z=3$$

-InnoXenT- 28 สิงหาคม 2012 23:06

21. จงหาค่า $x,y,z \in \mathbb{I}$ ทั้งหมดที่ทำให้
$x^3-4x^2-16x+60=y$
$y^3-4y^2-16y+60=z$
$z^3-4z^2-16z+60=x$


22. กำหนดให้ $\displaystyle{a_n = \left\lfloor\frac{n^2+11n+270}{n+12}\right\rfloor }$ จงหา $a_{100}+a_{101}+...+a_{400}$


23. จงแก้สมการ $(\sin{x}+\sin{(2x)}+\sin{(3x)})^2+(\cos{x}+\cos{(2x)}+\cos{(3x)})^2 = 1$


24. กำหนดให้ $\displaystyle{A=\frac{1}{\sqrt[3]{1000}}+\frac{1}{\sqrt[3]{1001}}++\frac{1}{\sqrt[3]{1002}}+...+\frac{1}{\sqrt[3]{1000000}}}$ จงหาค่าของ $\left\lfloor\frac{A}{4}\right\rfloor $


25. กำหนดให้ $\theta$ เป็นค่าคงที่ในช่วง $(0,\pi)$ ที่ทำให้ $\displaystyle{x+\frac{1}{x}=2\cos{\theta}}$ จงหาค่าของ $\displaystyle{x^n+\frac{1}{x^n}}$ ในรูปของ $n$ และ $\theta$ เมื่อ $n \in \mathbb{I}^+$


Suwiwat B 29 สิงหาคม 2012 19:04

ข้อ 21 จัดรูปสมการเล็กน้อยจะได้
$(x-4)^2(x+4)=y+4$
$(y-4)^2(y+4)=z+4$
$(z-4)^2(z+4)=x+4$
จับคูณหมดเลยจะได้
$(x+4)(y+4)(z+4)(x-4)^2(y-4)^2(z-4)^2 = (x+4)(y+4)(z+4)$
ดังนั้น $(x+4)(y+4)(z+4)=0$หรือ $(x-4)(y-4)(z-4)=1 $หรือ $(x-4)(y-4)(z-4)=-1$
กรณีที่ 1 : $(x+4)(y+4)(z+4)=0$ สมมติว่า$ x=-4$ เมื่อนำกลับไปเเทนในสมการ จะได้ว่า$ x=y=z=-4$ เท่านี้น ($y $กับ $z$ เช่นกัน)
กรณีที่ 2 :$ (x-4)(y-4)(z-4)=1$ จะได้ว่า$( x-4=1 เเละ y-4=1 เเละ z-4=1)$ หรือ$(มี 1 คู่ที่เป็น -1)$
ซึ่งเเบบหลังเป็นไปไม่ได้ (ลองไปเเทนดูนะครับ) ทำให้ $x=y=z=5$
กรณีที่ 3 : $(x-4)(y-4)(z-4)=-1$ จะได้ว่า$( x-4=-1 เเละ y-4=-1 เเละ z-4=-1)$ หรือ $(มี 1 คู่ที่เป็น 1)$
ซึ่งเเบบหลังเป็นไปไม่ได้ (ลองไปเเทนดูนะครับ เหมือนกัน) ทำให้ $x=y=z=3$

สรุปได้ว่า คำตอบ$ (x,y,z)$ ที่เป็นไปได้คือ $(-4,-4,-4) , (5,5,5) , (3,3,3)$

Suwiwat B 29 สิงหาคม 2012 19:12

23.
จาก $(sinx + sin2x+sin3x)^2 = (2sin2xcosx + sin2x)^2 = sin^2 2x(2cosx+1)^2$
$(cosx+cos2x+cos3x)^2 = (2cos2xcosx+cos2x)^2 = cos^2 2x(2cosx+1)^2$
จะได้ $(sin^2 2x + cos^2 2x)(2cosx+1)^2 = 1$
$(2cosx+1)^2 = 1$
$2cosx+1 = 1$ หรือ$ 2cosx+1=-1$
$cosx=0 $หรือ$ cosx=-1$
$x = n\pi + \frac{\pi}{2} , 2n\pi + \pi$ โดย $n$ เป็นจำนวนเต็ม

-InnoXenT- 30 สิงหาคม 2012 21:39

ข้อ 24. นี่ไปไม่เป็นจริงๆครับ T T

-Math-Sci- 31 สิงหาคม 2012 09:22

#32 คุ้น ๆ ว่า ต้องฝัน ช่วงขึ้นมา

แต่ถ้าไม่ัฝันต้องใช้ integrate อ่ะครับ จำได้ว่า พี่ gon เคย โพสต์ไว้ในไหนสักที่นี่แหละ

-InnoXenT- 31 สิงหาคม 2012 17:36

โอเคครับ ได้แล้วครับ :wacko:

26. กำหนดให้ $p\in \mathbb{R}$ จงหาค่า $x$ ทั้งหมดที่ทำให้ $\sqrt{x^2-p}+2\sqrt{x^2-1}= x$


27. ถ้าผลคูณของรากสองค่าจากทั้งสี่ค่าของสมการ $x^4-18x^3+kx^2+200x-1984 = 0$ มีค่าเท่ากับ $-32$ จงหาค่า $k$


28. จงหาค่าของ $\displaystyle{\frac{\frac{1}{1^{10}}+\frac{1}{3^{10}}+\frac{1}{5^{10}}+\frac{1}{7^{10}}+...}{\frac{1}{2^{10}}+\frac{1}{4^{10}}+ \frac{1}{6^{10}}+\frac{1}{8^{10}}+...}}$


29. กำหนดให้ $\displaystyle{a_n = \sqrt{9+\sqrt{a_{n-1}}}, a_1 = 9}$ จงหาค่าของ $\displaystyle{\lim_{n\rightarrow\infty}a_n}$


30. จงแก้สมการ $\displaystyle{\sqrt{2+\sqrt{2+\sqrt{2+x}}}+\sqrt{3}\big(\sqrt{2-\sqrt{2+\sqrt{2+x}}}\big) = 2x}$ เมื่อ $x\geq 0$


จูกัดเหลียง 31 สิงหาคม 2012 20:37

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ -InnoXenT- (ข้อความที่ 145823)

26. กำหนดให้ $p\in \mathbb{R}$ จงหาค่า $x$ ทั้งหมดที่ทำให้ $\sqrt{x^2-p}+2\sqrt{x^2-1}= x$

27. ถ้าผลคูณของรากสองค่าจากทั้งสี่ค่าของสมการ $x^4-18x^3+kx^2+200x-1984 = 0$ มีค่าเท่ากับ $-32$ จงหาค่า $k$

28. จงหาค่าของ $\displaystyle{\frac{\frac{1}{1^{10}}+\frac{1}{3^{10}}+\frac{1}{5^{10}}+\frac{1}{7^{10}}+...}{\frac{1}{2^{10}}+\frac{1}{4^{10}}+ \frac{1}{6^{10}}+\frac{1}{8^{10}}+...}}$

ข้อ 26.นี่ได้เเค่ว่า $x\in \mathbb{R}-(-1,1)$ ป่ะครับ
27. ผมได้เลขไม่สวยเลยครับ ไม่รู้ว่าคิดผิดหรือป่าว 555+
28.ผมได้ว่า $=2^{10}-1$ ครับ

truetaems 31 สิงหาคม 2012 21:29

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ yellow (ข้อความที่ 145613)
ดูที่ $k = (...((2005\otimes 2004)\otimes 2003)\otimes ...\otimes 3)$ ครับ

ผมหมายถึงว่าจาก $k = (...((2005\otimes 2004)\otimes 2003)\otimes ...\otimes 3)$ แล้วเป็น $k \otimes 2 = \frac{k+2}{2k+4}$ = $\frac{1}{2}$ มาได้ไงครับ

-Math-Sci- 31 สิงหาคม 2012 21:34

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ truetaems (ข้อความที่ 145846)
ผมหมายถึงว่าจาก $k = (...((2005\otimes 2004)\otimes 2003)\otimes ...\otimes 3)$ แล้วเป็น $k \otimes 2 = \frac{k+2}{2k+4}$ = $\frac{1}{2}$ มาได้ไงครับ

ก็เราให้ค่าข้างหน้า ไม่ว่าจะออกมากี่พันล้าน ล้าน ล้าน เป็น k แล้วเมื่อมา operate กับ 2 มันก็จะได้ $\frac{1}{2}$ เสมอไงครับ

ปัญหาคือ จะมอง trick นี้ออกยังไงมากกว่า

-Math-Sci- 31 สิงหาคม 2012 21:40

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ -InnoXenT- (ข้อความที่ 145823)
28. จงหาค่าของ $\displaystyle{\frac{\frac{1}{1^{10}}+\frac{1}{3^{10}}+\frac{1}{5^{10}}+\frac{1}{7^{10}}+...}{\frac{1}{2^{10}}+\frac{1}{4^{10}}+ \frac{1}{6^{10}}+\frac{1}{8^{10}}+...}}$

แนวนี้ไม่มีไรมากครับ บวกเพิ่ม ดึงข้างล่างออก เด่วก็จบ

$\displaystyle{\frac{\frac{1}{1^{10}}+\frac{1}{3^{10}}+\frac{1}{5^{10}}+\frac{1}{7^{10}}+...}{\frac{1}{2^{10}}+\frac{1}{4^{10}}+ \frac{1}{6^{10}}+\frac{1}{8^{10}}+...}} = k $


$\displaystyle{\frac{\frac{1}{1^{10}}+\frac{1}{2^{10}}+\frac{1}{3^{10}}+\frac{1}{4^{10}}+\frac{1}{5^{10}}+\frac{1}{6^{10}}+...}{ \frac{1}{2^{10}}+\frac{1}{4^{10}}+\frac{1}{6^{10}}+\frac{1}{8^{10}}+...}} = k+1 $

$\displaystyle{\frac{\frac{1}{1^{10}}+\frac{1}{2^{10}}+\frac{1}{3^{10}}+\frac{1}{4^{10}}+\frac{1}{5^{10}}+\frac{1}{6^{10}}+...}{ \frac{1}{2^{10}}(\frac{1}{1^{10}}+\frac{1}{2^{10}}+\frac{1}{3^{10}}+\frac{1}{4^{10}}+...)}} = k+1 $

$2^{10} =k+1 $ ดังนั้น $k= 2^{10}-1 = 1023 $

Keehlzver 01 กันยายน 2012 18:59

26. IMO 1963 ข้อ 1 ครับ
29. โจทย์สมมูลกับการหาค่าของ $\sqrt{9+\sqrt{9+\sqrt{9+...}}}$

เอามาลงเยอะๆเลยครับ :great:

-InnoXenT- 01 กันยายน 2012 21:14

ผมไม่เข้าใจว่า โจทย์ข้อ 29. มันสมมูล กับ $\displaystyle{\sqrt{9+\sqrt{9+\sqrt{9+...}}}}$ ได้ยังไง

ผมคิดว่า ถ้าจะให้มันสมมูล โจทย์มันต้องเป็น $\displaystyle{a_n = \sqrt{9+a_{n-1}}}$ โดยที่ $a_1 = \sqrt{9}$ รึเปล่า

Keehlzver 01 กันยายน 2012 22:47

ขอโทษในความสะเพร่าไม่ยอมลองแทนดูของนะครับ :please:

มันได้ว่า $a_{n}=\sqrt{9+\sqrt[4]{9+\sqrt[4]{9+\sqrt[4]{9+...}}}}$ โดยที่ $n$ ระบุถึงจำนวนเลข 9 ที่ปรากฏ

จะได้สมการ $x=\sqrt{9+\sqrt{x}}$
ได้ว่า $x^2=9+\sqrt{x} \geq 9$ จะได้ $x \geq 3$
สมการข้างบนยกกำลังสองอีกครั้ง ได้สมการ $x^4-18x^2-x+81=0$
เพราะว่า $\frac{11663}{144}=80.99$
ดังนั้นสมการกำลังสี่นี้มีคำตอบใกล้เคียงกับสมการ $x^4-18x^2-x+\frac{11663}{144}=0$
หรือ $(x^2+6x+\frac{109}{12})(x^2-6x+\frac{107}{12})=0$
วงเล็บแรกไม่มีคำตอบ ดังนั้นวงเล็บหลังต้องเท่ากับศูนย์
ก็จะได้ว่า $x$ มีค่าเท่ากับ $3+\frac{\sqrt{3}}{6}$ หรือ $3-\frac{\sqrt{3}}{6}$
แต่ $x \geq 3$ ต้องได้ว่า $x=3+\frac{\sqrt{3}}{6}$
ดังนั้นข้อนี้ตอบ 3.28 ครับ


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 04:15

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha