Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ฟรีสไตล์ (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=6)
-   -   ".999..... เท่ากับหนึ่ง" (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=22569)

share 07 มิถุนายน 2015 15:24

".999..... เท่ากับหนึ่ง"
 
กลอนเก้า

@ ".999..... เท่ากับหนึ่ง" ใช่หรือไม่
ก่อนตอบไป ให้คำนึง ถึงเงื่อนไข
สมมติฐาน กำหนดกรอบ ขอบเขตใด
แจงชัดไซร้ ก่อนว่าใคร "ผิดแน่นอน"

@ สังคมวุ่น วิปริต คิดตนแน่
"ตูนั้นแท้ อื่นอื่นผิด อย่าบิดสอน"
ลองสอบค้น คิดตรองตรึก ใคร่ขอวอน
ศาสตร์ศิลป์คณิต วิทย์ลองย้อน กล่าวกระไร


*** คิดต่างได้ครับ
กรุณาเปิดใจกว้าง พูดคุยกันฉันมิตรครับ

nooonuii 07 มิถุนายน 2015 15:45

เห็นด้วยครับว่า "กรอบความคิด" คือสิ่งที่คนเถียงกันในเรื่องนี้

share 07 มิถุนายน 2015 21:54

Mathematics is the study of topics such as quantity (numbers),[2] structure,[3] space,[2] and change.[4][5][6]
There is a range of views among mathematicians and philosophers as to the exact scope
and definition of mathematics.
[7][8]

Mathematicians seek out patterns[9][10] and use them to formulate new conjectures. Mathematicians resolve
the truth or falsity of conjectures by mathematical proof.


When mathematical structures are good models of real phenomena, then mathematical reasoning
can provide insight or predictions about nature.


Through the use of abstraction and logic, mathematics developed from counting, calculation, measurement,
and the systematic study of the shapes and motions of physical objects. Practical mathematics has been
a human activity for as far back as written records exist.
The research required to solve mathematical problems can take years or even centuries of sustained inquiry.

Mathematicians also engage in pure mathematics, or mathematics for its own sake, without having any application in mind.
There is no clear line separating pure and applied mathematics, and practical applications
for what began as pure mathematics are often discovered.[18]

share 08 มิถุนายน 2015 09:59

เหตุใด"จุด เก้าเก้าเก้า..." เท่ากับหนึ่ง
คิดอยู่ครึ่ง ค่อนคืน เพราะสงสัย
หลักคิด คณิตศาสตร์ คงก้าวไกล
คนบุราณ สมัย ได้แต่งง

สุวรรณ

share 09 มิถุนายน 2015 13:05

...เกณฑ์กรอบคิด คณิตนั้น คนกำหนด
ด้วยเห็นกฎ ธรรมชาติ ดาษไสว
จึงมุ่งเพียร เรียนรู้ อย่างตั้งใจ
หวังอธิบาย ใช้ได้ ในชีวิน

...เกณฑ์กฎมี เงื่อนไข กำหนดชัด
ไป่เป๋ปัด ตามใจ ใครถวิล
จำนวนเต็ม ทศนิยม ใช้อาจิณ
บ่งใหญ่เล็ก ทั้งสิ้น ตามตกลง


แฮะ ๆ เพิ่งได้แค่นี้ ฮา
ขอไปทำงานแล้วครับ

share 10 มิถุนายน 2015 00:03

@ ลึกเรียนรู้ สู่ห้วง จักรวาล
เลขประมาณ ยิ่งมาก ยิ่งยากประสงค์
ล้านล้านล้าน ล้านล้าน ล้านจนงง
เอ๊ะแน่คง ต้องเริ่ม เพิ่มเกณฑ์กัน

@ ยิ่งเรียนรู้ สู่โลก เล็กกระจิดริด
เลขประมาณ ยุ่งไม่นิด ควรคิดสรรค์
เล็กเล็กเล็ก เล็กเล็ก เล็กงงงัน
"เล็กใหญ่อนันต์" จึงคิด ประดิษฐ์มา

@ 0.99 99... ไม่สิ้นสุด
นี่แหละผุด ประเด็น แห่งปัญหา
เท่ากับ 1 เงื่อนไข ใช้ต่างนา
ตระหนักหนา หยิบใช้ ให้ระวัง

@ แม้จริงแท้ อันคณิต คิดประหลาด
แต่ไป่ขาด เหตุผล ดลผิดหวัง
วางรากฐาน รัดกุม ขุมพลัง
มิมุ่งพัง รื้อบ้าน แค่ปรับแปลง

share 10 มิถุนายน 2015 07:43

@ เมื่อพินิจ พิเคราะห์ ลึกลงเรื่อง
ถกต่อเนื่อง ประจักษ์ชัด จึ่งจัดแถลง
"ค่าประมาณ" ค่าใกล้ใกล้ ใช้แสดง
หาก"สมบูรณ์" คงแกล้ง ให้ลำเค็ญ

@ ในชีวิต ประจำวัน อันปกติ
ค่าประมาณ นั่นสิ ที่พบเห็น
"น้ำเต็มแก้ว" ค่า"เต็ม" ตามประเด็น
ใช่จำเป็น "เท่ากัน" ทุกแก้วไป

@ .999 99... "เก้า"ร้อยตัว
คงไม่มัว วัดจริง แก้สงสัย
เทียบ .99... "เก้าสิบ"ตัว ต่างเท่าใด
คนพอใจ "ค่าประมาณ" นั้นเรื่องจริง

Pitchayut 12 มิถุนายน 2015 17:08

เท่าแน่ครับ เพราะ

$0.999...=\dfrac{9}{10}+\dfrac{9}{100}+\dfrac{9}{1000}+...=\dfrac{\dfrac{9}{10}}{1-\dfrac{1}{10}}=1$

share 12 มิถุนายน 2015 20:27

ขอบคุณครับ คุณPitchayut

"กรอบความคิด" คือสิ่งที่คนเถียงกันในเรื่องนี้
nooonuii

ขอบคุณมากครับ

"กรอบความคิด" เป็นเรื่องที่ต้อง "ใส่ใจ" จริง ๆ


ให้แยก factor(ตัวประกอบ) ของ X^2 -1

นร.มัธยมต้น ทำ
X^2 -1
= (X+1)(X-1)

ให้คะแนนเต็ม ใช่

แต่ถ้า นร.มัธยมปลาย ทำ
X^2 -1
= (X+1)(X-1)

ให้คะแนนเต็ม ไม่ใช่


นร.มัธยมปลาย ต้องทำ
X^2 -1
= (X+1)(X-1)
= (X+1)[(X)^1/2)+1)][(X)^1/2)-1)]

นร.มัธยมต้น
มี"กรอบความคิด" เพียง เลขจำนวนตักยะ


นร.มัธยมปลาย เรียนรู้มากขึ้น
มี"กรอบความคิด" เลขจำนวนจริง

======

ดังนั้น หากผมมี "กรอบความคิด" แบบ absolute
ผมจะแย้งว่า "ไม่เท่ากัน"
เพราะมี ความต่างกัน เท่ากับ เอาสองจำนวนมา ลบกัน คือ

0.0000000000000000000000000000000000000000000000000000000......................

ตั้งกระทู้ หวังใจว่า เมื่อเราถกอะไร ให้
เปิดใจ อย่าใช้อารมณ์ส่อเสียด ดูถูกกัน

และระวัง
"กรอบความคิด" หรือ "เงื่อนไข" ที่อาจต่างกัน


ขอบคุณเพื่อน ๆ ที่สละเวลาครับ

Amankris 15 มิถุนายน 2015 02:30

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ share (ข้อความที่ 178439)
แต่ถ้า นร.มัธยมปลาย ทำ
X^2 -1
= (X+1)(X-1)

ให้คะแนนเต็ม ไม่ใช่


นร.มัธยมปลาย ต้องทำ
X^2 -1
= (X+1)(X-1)
= (X+1)[(X)^1/2)+1)][(X)^1/2)-1)]

ท่านสอนนักเรียนมัธยมปลายอย่างนี้จริงๆรึ :eek:

share 15 มิถุนายน 2015 07:38

ปกติการแนะสอน ไม่ใคร่ได้ "สอน" ครับ

จะนำ "ถก" ประเด็นต่าง ๆ
ใครใคร่เสนออะไร ก็ว่ามา


ห้องเรียนจึงหนวกหู จนห้องอื่นเขาว่าเอา

อืม ที่เขียนมา อยาก "ถก" ว่าใด ฤๅ

ยินดี จากใจจริงครับ

mathislifeyess 15 มิถุนายน 2015 16:14

คุณshare เอากลอนมาจากที่ไหนหรือว่าคิดเองครับ. ถ้าคิดเองก็สุดยอดไปเลยครับ

share 15 มิถุนายน 2015 17:22

ขอบคุณครับ

แต่งเองครับ

Amankris 15 มิถุนายน 2015 17:44

ตกลงว่าใช่หรือไม่ใช่

ไม่สนใจเรื่องบรรยากาศในห้องเรียนครับ

share 15 มิถุนายน 2015 18:43

555 Amankris ก็ถกมาสิครับ

ชี้แจง: ขอย้ำ
ผมไม่ได้ "สอน" (ไม่ได้มี "อาชีพ" เป็น ครูอาจารย์ ครับ)
ปกติเขาเชิญไป "แนะสอน" ครับ


พอใจพูดคุยกัน ก็ถกประเด็นมาได้เลยครับ

*** ผมแนะสอนมานาน
ไม่เคยคิดว่า ตนเอง"รู้ทุกเรื่อง"
ผมรับฟังผู้อื่น แม้จะมี วัยวุฒิ หรือ คุณวุฒิ น้อยกว่า
เมื่อ ผิด ผมรู้ที่จะ "ขอโทษ" ครับ


TOP 16 มิถุนายน 2015 00:17

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ share (ข้อความที่ 178439)
ให้แยก factor(ตัวประกอบ) ของ X^2 -1

นร.มัธยมต้น ทำ
X^2 -1
= (X+1)(X-1)

ให้คะแนนเต็ม ใช่

แต่ถ้า นร.มัธยมปลาย ทำ
X^2 -1
= (X+1)(X-1)

ให้คะแนนเต็ม ไม่ใช่


นร.มัธยมปลาย ต้องทำ
X^2 -1
= (X+1)(X-1)
= (X+1)[(X)^1/2)+1)][(X)^1/2)-1)]

นร.มัธยมต้น
มี"กรอบความคิด" เพียง เลขจำนวนตักยะ


นร.มัธยมปลาย เรียนรู้มากขึ้น
มี"กรอบความคิด" เลขจำนวนจริง

ถ้าในการสอบครั้งหนึ่ง มีนักเรียนมัธยมปลาย 6 คน ส่งคำตอบแบบนี้ แต่ละคนควรจะได้คะแนนเท่าไร ขอเหตุผลด้วยครับ :rolleyes:
คนที่ 1: $x^2 - 1 = (x + 1)(x - 1)$
คนที่ 2: $x^2 - 1 = (x + 1)(x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{2}} - 1)$
คนที่ 3: $x^2 - 1 = (x + 1)(x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} - 1)$
คนที่ 4: $x^2 - 1 = (x + 1)(x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} - 1)$
คนที่ 5: $x^2 - 1 = (x + 1)(x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} + 1)(x^{\frac{1}{16}} + 1)(x^{\frac{1}{16}} - 1)$
คนที่ 6: $x^2 - 1 = (x + 1)(x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} + 1)(x^{\frac{1}{16}} + 1)(x^{\frac{1}{32}} + 1)(x^{\frac{1}{64}} + 1) \cdots$

polsk133 16 มิถุนายน 2015 00:42

ถ้า ม. ต้น แล้วตอบ $x^2-1=(x+1)(x^{\frac{1}{2}}+1)(x^{\frac{1}{2}}-1)$
เต็ม 10 จะได้ 15 มั้ยครับ

share 16 มิถุนายน 2015 08:16

ขอบคุณครับเพื่อน ๆ
ตอบคุณ TOP และ polsk133

"นักเรียนมัธยมปลาย 6 คน ส่งคำตอบแบบนี้ แต่ละคนควรจะได้คะแนนเท่าไร ขอเหตุผลด้วยครับ"
คนที่ 1 ให้ 5 (เต็ม 10)
นร.มัธยมต้น
มี"กรอบความคิด" เพียง เลขจำนวนตักยะ
นร.มัธยมปลาย เรียนรู้มากขึ้น
มี"กรอบความคิด" เลขจำนวนจริง

เขาใช้ศักยะไม่เต็มที่
แบบจบ ป.ตรี ทำงานเหมือน ม.6 คงต้องให้พิจารณาแล้ว

คนที่เหลือ ให้ 10 (เต็ม 10) ครับ เหตุผล

@ เมื่อพินิจ พิเคราะห์ ลึกลงเรื่อง
ถกต่อเนื่อง ประจักษ์ชัด จึ่งจัดแถลง
"ค่าประมาณ" ค่าใกล้ใกล้ ใช้แสดง
หาก"สมบูรณ์" คงแกล้ง ให้ลำเค็ญ

@ ในชีวิต ประจำวัน อันปกติ
ค่าประมาณ นั่นสิ ที่พบเห็น
"น้ำเต็มแก้ว" ค่า"เต็ม" ตามประเด็น
ใช่จำเป็น "เท่ากัน" ทุกแก้วไป

@ .999 99... "เก้า"ร้อยตัว
คงไม่มัว วัดจริง แก้สงสัย
เทียบ .99... "เก้าสิบ"ตัว ต่างเท่าใด
คนพอใจ "ค่าประมาณ" นั้นเรื่องจริง


การแนะสอน หวังให้มีใจกระจ่าง เปิดใจกว้าง รับฟังผู้อื่น
คะแนนเต็ม คือ "เต็ม" เราให้เกินกว่านั้นไม่ได้ในรูป "คะแนน"
แต่เราก็ให้ได้ใน "ความชื่นชม" ที่เขาสามารถครับ


....เพื่อนแท้ สิมิ่งมิตร........แนะ-ช่วย-คิด ลุทางธรรม
ปลดกรอบ กิเลสงำ...........มิโน้มนำ อโคจร
....สิ่งดี ณ แห่งใด...........เสาะสืบให้ มิถอยถอน
ตกต่ำ บ่แคลนคลอน..........อุราร้อน ก็แบ่งเบา

Aquila 16 มิถุนายน 2015 08:31

แย้งไม่ดูรุ่นเลย :laugh:

คุณ Amankris โผล่มาทักแบบนั้น น่าจะฉุกใจได้แล้วนะครับ :cool:

share 16 มิถุนายน 2015 08:53

เรียนคุณ Aquila

คุณ Amankris คือใครหรือครับ

"แย้งไม่ดูรุ่นเลย"
คุณ Aquila คิดว่า ผมรุ่นไหนหรือครับ



*** คิดต่างได้ครับ
กรุณาเปิดใจกว้าง พูดคุยกันฉันมิตรครับ


....กาลามสูตรชี้ชัด.............แนวทาง
"เขาว่า" คัมภีร์กาง...............ห่างไว้
"ผู้รู้บอก" โชคลาง...............อย่าเชื่อ
สมาธิ "ตื่นรู้"ไซร้.................แน่แท้ทางธรรม

....กาลามสูตรย้ำ ไป่.............หูเบา
อคติ โหด โฉด เขลา.............เลือกข้าง
ธรรมปฏิบัติขัดเกลา...............มีสติ
อภัย ยุติธรรมนำอ้าง..............อาจท้าโลกสวรรค์

Aquila 16 มิถุนายน 2015 10:18

ขอโทษด้วยครับ ไม่ได้ตั้งใจจะว่านะครับ

ผมแค่อยากให้คุณลอง "ฉุกใจ" ดูก่อนบ้างน่ะครับ :great:.

nooonuii 16 มิถุนายน 2015 11:31

คำว่า "รุ่น" ในที่นี้ไม่ใช่อายุหรือความเป็นอาวุโสครับ

ผมคงเข้าใจถูกนะ :rolleyes:

share 16 มิถุนายน 2015 15:55

ยืนยันครับ!
เรียนรู้ แบ่งปันกันและกันครับ


....เพื่อนแท้ สิมิ่งมิตร........แนะ-ช่วย-คิด ลุทางธรรม
ปลดกรอบ กิเลสงำ...........มิโน้มนำ อโคจร

....สิ่งดี ณ แห่งใด...........เสาะสืบให้ มิถอยถอน
ตกต่ำ บ่แคลนคลอน..........อุราร้อน ก็แบ่งเบา


เพิ่ทเติมครับ

เพิ่งสังเกตเห็น คนที่ 6 มี ..... ต่อท้าย ซึ่งต่างจาก คนอื่น


อาจคิดได้ว่า เขามีกรอบคิดแบบ "เล็กใหญ่อนันต์"
หรือ เคยอ่านพบ infinite sequence, infinitesimals ทำนองนี้

ในการพูดคุย ถกกัน
จึงสมควร แสดงความชื่นชม
และให้เขาได้แสดงออก ครับ

TOP 16 มิถุนายน 2015 23:29

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ share (ข้อความที่ 178487)
ขอบคุณครับเพื่อน ๆ
ตอบคุณ TOP และ polsk133

"นักเรียนมัธยมปลาย 6 คน ส่งคำตอบแบบนี้ แต่ละคนควรจะได้คะแนนเท่าไร ขอเหตุผลด้วยครับ"
คนที่ 1 ให้ 5 (เต็ม 10)
นร.มัธยมต้น
มี"กรอบความคิด" เพียง เลขจำนวนตักยะ
นร.มัธยมปลาย เรียนรู้มากขึ้น
มี"กรอบความคิด" เลขจำนวนจริง

เขาใช้ศักยะไม่เต็มที่
แบบจบ ป.ตรี ทำงานเหมือน ม.6 คงต้องให้พิจารณาแล้ว

คนที่เหลือ ให้ 10 (เต็ม 10) ครับ เหตุผล

หากนักเรียนคนที่ 3-6 ออกมาทักท้วงว่าการให้คะแนนแบบนี้ไม่ยุติธรรม เขาควรได้คะแนนมากกว่านักเรียนคนที่ 2 ละครับ เพราะว่า

คนที่ 3: คำตอบของผมสมบูรณ์มากกว่าคนที่ 1-2 จึงต้องได้คะแนนมากกว่าคนที่ 1-2 จะได้คะแนน 10 เท่ากันกับคนที่ 2 ได้อย่างไร
คนที่ 4: คำตอบของผมสมบูรณ์มากกว่าคนที่ 1-3 จึงต้องได้คะแนนมากกว่าคนที่ 1-3 จะได้คะแนน 10 เท่ากันกับคนที่ 2-3 ได้อย่างไร
คนที่ 5: คำตอบของผมสมบูรณ์มากกว่าคนที่ 1-4 จึงต้องได้คะแนนมากกว่าคนที่ 1-4 จะได้คะแนน 10 เท่ากันกับคนที่ 2-4 ได้อย่างไร
คนที่ 6: คำตอบของผมสมบูรณ์มากกว่าคนที่ 1-5 จึงต้องได้คะแนนมากกว่าคนที่ 1-5 จะได้คะแนน 10 เท่ากันกับคนที่ 2-5 ได้อย่างไร คนที่ 1-5 คิดอะไรครึ่งๆกลางๆ ทำไปไม่สุดติ่งกระดิ่งแมว ใช้ศักยะไม่เต็มที่ ไม่มีเหตุลผลอะไรที่จะต้องหยุดการแยกตัวประกอบด้วยจำนวนเทอมเพียงเท่านั้นในเมื่อมันยังแยกตัวประกอบต่อไปได้เรื่อยๆ คะแนนที่ได้จึงควรคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ของจำนวนตัวประกอบทั้งหมดที่สามารถแยกได้ ทำน้อยได้น้อย ทำมากได้มาก ใช่หรือไม่ ใช้หลักการนี้ คนที่ 1-5 ควรจะได้ 0 คะแนน ส่วนผม(คนที่ 6) เป็นคนเดียวที่สมควรได้ 10 คะแนน

polsk133 16 มิถุนายน 2015 23:37

$$x^2-1=(x^{\frac{1}{2}}+i)(x^{\frac{1}{2}}-i)(x-1)$$

share 17 มิถุนายน 2015 01:20

เรียนคุณ TOP

A รับสมัครงาน ป.ตรี ด้วยเงินเดือน 15000 บาท
สิ้นเดือน จ่ายเงินเดือนทุกคน 15000

ก บอกว่า ทำงานดีกว่า ข ค ง ต้องได้ 18000
ข บอกว่า ทำงานดีกว่า ค ง ต้องได้ 17000

A จึงตอบว่า
"เราตกลงกันเงินเดือน 15000 บาท ไม่ใช่หรือ
ผมผิดสัญญาหรือ
ผมเป็นผู้ว่าจ้าง
ใครทำงานดี/ไม่ดี ใครกันควรมีสิทธิ์ตัดสิน"



หากไม่รบกวนเกินไป
ขอความกรุณากลับไปอ่านที่ผมชี้แจง
หวังว่าจะเข้าใจเจตนาที่จะสื่อ

ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

share 17 มิถุนายน 2015 07:00

ตอบคุณ polsk133

#17 ถ้า ม. ต้น แล้วตอบ
เต็ม 10 จะได้ 15 มั้ยครับ


ได้ตอบแล้วใน #18
คะแนนเต็ม คือ "เต็ม" เราให้เกินกว่านั้นไม่ได้ในรูป "คะแนน"
แต่เราก็ให้ได้ใน "ความชื่นชม" ที่เขาสามารถครับ


และทำนองเดียวกับที่ได้ตอบคุณ Top ใน #26

======

ตอบคุณ polsk133 #25

กรอบความคิด

Domain และ Codomain ระดับ ม.ต้น ที่พูดคุยกัน คือ Rational Numbers

Domain และ Codomain ระดับ ม.ปลาย ที่พูดคุยกัน คือ Real Numbers



ขอบคุณครับ

TOP 17 มิถุนายน 2015 07:07

ถ้าอย่างนั้น ทำไมคนที่ 1 จึงได้เพียง 5 คะแนน คำตอบของเขาไม่ถูกต้องอย่างไร แตกต่างจากคนอื่นตรงไหน ทำไมจึงไม่ได้ 10 คะแนนเหมือนคนอื่น โปรดชี้แจง
หากจะบอกว่าเกี่ยวกับ "กรอบความคิด" เป็นเพียงเลขจำนวนตรรกยะ หรือเป็นเลขจำนวนจริง มันเป็นอย่างไร มีวิธีการหาอย่างไร จงยกตัวอย่าง
และทำไมคำตอบของคนที่ 1 จึงติดอยู่ในกรอบของเลขจำนวนตรรกยะเท่านั้น จะได้เข้าใจตรงกัน :)

share 25 มิถุนายน 2015 09:56

ขออภัยครับ ไปซ่อมสุขภาพมา
ขอบคุณ คุณ TOP ที่สละเวลาพูดคุยกันครับ

"ถ้าอย่างนั้น ทำไมคนที่ 1 จึงได้เพียง 5 คะแนน คำตอบของเขาไม่ถูกต้องอย่างไร แตกต่างจากคนอื่นตรงไหน
ทำไมจึงไม่ได้ 10 คะแนนเหมือนคนอื่น โปรดชี้แจง
หากจะบอกว่าเกี่ยวกับ "กรอบความคิด" เป็นเพียงเลขจำนวนตรรกยะ หรือเป็นเลขจำนวนจริง มันเป็นอย่างไร"

จากที่เคยบอก ผมเป็น ผู้แนะสอน
ประเด็นเรื่องคือ เขาเชิญไปแสดงความคิดเห็น
"การสอนคณิตศาสตร์"

ถกว่า จะวัดผลใด ๆ เราควรคำนึงว่า
เรามีข้อตกลงอะไรกันบ้าง
ผู้ทดสอบเป็นกลุ่มพวกไหน
จะวัดระดับใด เพื่ออะไร ฯลฯ

กลับมาประเด็นเราครับ
ที่ผมนำเสนอไว้คือ

ผู้ตอบโจทย์ ถ้า
ระดับ ม.ต้น เรียนจำนวนตรรกยะ
ระดับ ม.ปลาย เรียนจำนวนจริง
หาก ผู้ตอบโจทย์ระดับ ม.ปลาย วิเคราะห์โจทย์ได้แค่ ระดับ ม.ต้น
เราก็ต้องให้คะแนนแค่นั้น (เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน)
แม้ คำตอบไม่ผิด
ดังที่ผมยกว่า ผู้จ้าง จ้างป.โท ทำงาน เงินเดือนป.โท
แต่ทำงานได้แค่ ป.ตรี
หากไม่ลดเงินเดือน ก็คงให้ออก

พูดคุยกันอีกนะครับ ผิดพลาดอภัยนะครับ
(อภัยด้วย สายตาไม่ดี กดแป้นช้ามาก)

TOP 25 มิถุนายน 2015 10:18

ก็ยังไม่ได้รับคำชี้แจง ว่าทำไมคำตอบของคนที่ 1 ถึงติดอยู่แค่จำนวนตรรกยะ ไม่ไปถึงจำนวนจริงสักที พิจารณาจากอะไร อย่างไรครับ โปรดชี้แจง

share 25 มิถุนายน 2015 12:22

ไม่เข้าใจคำถามครับ

เด็กม.ปลาย ทำส่งมาแค่นั้น แล้วถามผมว่า
"ทำไมคำตอบของคนที่ 1 ถึงติดอยู่แค่จำนวนตรรกยะ ไม่ไปถึงจำนวนจริงสักที"
คงต้องตอบว่า ไม่ทราบครับ

คุณ TOP กรุณายก ประเด็นที่จะถกให้ชัดได้ไหม
ผมยอมรับว่า "ไม่เข้าใจจริง ๆ"
เกาะติดตรงนี้ ต้องการ สื่อถึงอะไรครับ

"ไม่เข้าใจจริง ๆ"
ต้องการติติงว่า ผม "ผิด/ถูก" ตรงไหน ว่ามาได้ครับ
ผิด ผมก็ยอมรับ ไม่มีใครเก่งทุกเรื่องหรอกครับ


TOP 25 มิถุนายน 2015 14:06

คืออย่างนี้ครับ ที่คุณ share บอกว่า คนที่ 1 วิเคราะห์โจทย์ได้แค่ ระดับ ม.ต้น แล้วให้คะแนนเขาเพียง 5 คะแนนเท่านั้น ทำไมจึงวิเคราะห์เช่นนั้น ช่วยขยายความและยกตัวอย่างให้ชัดเจนหน่อยครับ

ในมุมมองของผมนะครับ :rolleyes:

หากมองคำตอบของทั้ง 6 คนให้ดีจะพบว่า ความแตกต่างเกิดจากการแยกตัวประกอบของเทอม $x - 1$ เท่านั้น
หากเราเปลี่ยนโจทย์เล็กน้อยเป็น จงแยกตัวประกอบของ $x - 1$ ก็จะได้คำตอบของทั้ง 6 คนดังนี้
คนที่ 1: $x - 1 = x - 1$
คนที่ 2: $x - 1 = (x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{2}} - 1)$
คนที่ 3: $x - 1 = (x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} - 1)$
คนที่ 4: $x - 1 = (x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} - 1)$
คนที่ 5: $x - 1 = (x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} + 1)(x^{\frac{1}{16}} + 1)(x^{\frac{1}{16}} - 1)$
คนที่ 6: $x - 1 = (x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} + 1)(x^{\frac{1}{16}} + 1)(x^{\frac{1}{32}} + 1)(x^{\frac{1}{64}} + 1) \cdots$

คำถาม: เรายังต้องแยกตัวประกอบเทอม $x - 1$ ต่อไปอีกรึเปล่า ?

การที่คำตอบของคนที่ 1 ไม่แยกตัวประกอบต่อ แล้วคุณ share สรุปว่า เขาวิเคราะห์โจทย์ได้แค่ ระดับ ม.ต้น จึงให้คะแนนไปเพียง 5 คะแนน ทำให้ผมเกิดความสงสัยว่า ทำไมจึงวิเคราะห์เช่นนั้น มันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณ share อ้างอิงเสมอว่า "ระดับ ม.ต้น เรียนจำนวนตรรกยะ, ระดับ ม.ปลาย เรียนจำนวนจริง" อย่างไร อยากให้อธิบายเพิ่มเติม

ผมไม่แน่ใจว่า คุณ share ต้องการประเมินอะไรจากปัญหาข้อนี้ จึงอยากถามให้ชัดเจน
อยากให้นักเรียนแยกตัวประกอบเพื่อแก้สมการหาคำตอบแบบที่พวกเราเข้าใจกันรึเปล่า

หากเป็นการแยกตัวประกอบเพื่อแก้สมการ ผมคิดว่าคำตอบของคนที่ 1 ครบถ้วนแล้ว เพราะ
  1. สมการพหุนามกำลังสอง มีคำตอบไม่เกิน 2 คำตอบ
  2. คำตอบทั้งสองของสมการ $x^2 - 1 = 0$ คือ -1, 1 ซึ่งการแยกตัวประกอบของคนที่ 1 ให้คำตอบครบถ้วนแล้ว
หากต้องการยกตัวอย่างเรื่องการแก้สมการพหุนาม ผมจะยกตัวอย่างอีกแบบหนึ่งคือ

จงหา $x$ ทั้งหมด ที่ทำให้สมการ $x^3 - 1 = 0$ เป็นจริง

นาย A ทำ
\(\begin{array}{rcl}
x^3 - 1 & = & 0\\
x^3 & = & 1\\
x & = & 1
\end{array}\)

นาย B ทำ
\(\begin{array}{rcl}
x^3 - 1 & = & 0\\
(x - 1)(x^2 + x + 1) & = & 0\\
(x - 1)\left(x - \frac{-1 + \sqrt{3} i}{2}\right)\left(x - \frac{-1 - \sqrt{3} i}{2}\right) & = & 0\\
x & = & 1, \frac{-1 \pm \sqrt{3} i}{2}
\end{array}\)

จากวิธีทำของ นาย A และนาย B แสดงให้เห็นว่า
นาย A ไม่ได้ใช้ความรู้เรื่องการแยกตัวประกอบมาแก้สมการเลย ใช้วิธีง่ายๆแต่ให้คำตอบไม่ครบถ้วน
นาย B ใช้ความรู้เรื่องการแยกตัวประกอบมาแก้สมการ และได้คำตอบครบถ้วน

share 25 มิถุนายน 2015 22:55

อ้า ชัดเจนขึ้นครับ

๑) สังเกต ผมยกโจทย์ ให้แยก factor ครับ #9
ไม่ได้ให้แก้สมการ
๒) ถ้าโจทย์เป็น
จงแยก factor ของ X - 1 (ผู้ตอบระดับ ม.ปลาย)

ผมก็ยังคงให้คะแนนแบบ #18 ครับ

คำถาม: เรายังต้องแยกตัวประกอบ ต่อไปอีกรึเปล่า ?
ตอบ: ไม่จำเป็นครับ ด้วยโจทย์ ไม่ได้ระบุอะไรพิเศษ
คะแนนก็ยังแบบ #18 ครับ

หากโจทย์ระบุ "จงให้เหตุผล วิธีทำด้วย"
เช่นนี้ คะแนนก็อาจจะไม่เท่ากันได้

"อยากให้นักเรียนแยกตัวประกอบเพื่อแก้สมการหาคำตอบแบบที่พวกเราเข้าใจกันรึเปล่า"
ตอบแล้ว แค่ให้แยก factor ครับ

ขอบคุณสำหรับ สมการ X^3 - 1 = 0
ตอนแนะสอน ระดับมหาฯ
เคยนำถกให้แก้สมการ X^3 = 8 ครับ
ใครทำแบบ A ผมให้ 1 ถึง 3 แล้วแต่สาขาที่เรียน

อืม ไม่แน่ใจว่า ตอบชัด ครบไหมครับ
พูดคุยมีสาระ ชอบครับ ขอบคุณ


อ๋อ "คุณ share ต้องการประเมินอะไรจากปัญหาข้อนี้"
ผมไปแนะสอน เพื่อเปิดมุมมองว่า โลกไม่ได้มีแค่สาขาวิชาเดียว
เมื่อเราทำงาน ปัจจัยที่ต้องคำนึง หลากหลาย

ตอนเป็นที่ปรึกษา รง.ไส้กรอก เจ้าของเขาตำหนิพวกจบ ป.โท อาหาร ว่า
นี่คุณ ไม่ใช่แค่ มีรูป กลิ่น รสไส้กรอก มันต้องชวนซื้อด้วย


ขอบคุณที่ใส่ใจ "ละเอียด"
มาเขียนในที่นี้
หวังเพียงให้ พวกเรามอง โลกลึก และกว้าง ครับ
หากใครว่าง ลองไปดู http://pantip.com/topic/33813041

TOP 26 มิถุนายน 2015 07:17

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ share (ข้อความที่ 178669)
คำถาม: เรายังต้องแยกตัวประกอบ ต่อไปอีกรึเปล่า ?
ตอบ: ไม่จำเป็นครับ ด้วยโจทย์ ไม่ได้ระบุอะไรพิเศษ
คะแนนก็ยังแบบ #18 ครับ

ช่วยอธิบายเพิ่มเติมครับ อ่านแล้วไม่เข้าใจ
คำตอบของคนที่ 2-6 ต่างจากคำตอบของคนที่ 1 ตรงการแยกตัวประกอบเทอม $x - 1$ ออกไปเท่านั้นเอง
หากคุณ share บอกว่าไม่จำเป็นต้องแยกตัวประกอบต่อไปอีก แล้วเหตุใดคะแนนที่ได้ยังเป็นแบบเดิมครับ :confused:

คนที่ 1: $x^2 - 1 = \bbox[green]{(x + 1)}\bbox[yellow]{(x - 1)}$
คนที่ 2: $x^2 - 1 = \bbox[green]{(x + 1)}\bbox[yellow]{(x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{2}} - 1)}$
คนที่ 3: $x^2 - 1 = \bbox[green]{(x + 1)}\bbox[yellow]{(x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} - 1)}$
คนที่ 4: $x^2 - 1 = \bbox[green]{(x + 1)}\bbox[yellow]{(x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} - 1)}$
คนที่ 5: $x^2 - 1 = \bbox[green]{(x + 1)}\bbox[yellow]{(x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} + 1)(x^{\frac{1}{16}} + 1)(x^{\frac{1}{16}} - 1)}$
คนที่ 6: $x^2 - 1 = \bbox[green]{(x + 1)}\bbox[yellow]{(x^{\frac{1}{2}} + 1)(x^{\frac{1}{4}} + 1)(x^{\frac{1}{8}} + 1)(x^{\frac{1}{16}} + 1)(x^{\frac{1}{32}} + 1)(x^{\frac{1}{64}} + 1) \cdots}$

share 26 มิถุนายน 2015 07:38

คือ คะแนนคนที่ 2-6 นั้น ให้ 10 เต็ม เท่ากันทุกคน
เพราะ ตอบโจทย์ (หากให้เกิน คะแนนเต็ม คงโดนสอบ 555)


ส่วนที่ทำได้มากกว่าโจทย์ ผู้ให้คะแนน ทำได้แค่ให้ "คำชื่นชม"
หรือ อื่น ๆ ตามควร เช่น ของคนที่ 6 อาจนำไป ตั้งประเด็นถกต่อครับ

*** ในการทำงาน การทำได้แค่ "คำสั่ง" ไม่ผิด
แต่มีผลต่อการพิจารณา โบนัส เลื่อนขั้น จึงต้อง "ตรึกตรองให้รอบคอบ"

TOP 26 มิถุนายน 2015 08:00

ผมสงสัยการให้คะแนนคนที่ 1 ครับ คำตอบของเขาไม่ตอบโจทย์อย่างไร ช่วยอธิบายอย่างละเอียดด้วยครับ :)

share 26 มิถุนายน 2015 09:05

ผมได้บอกแล้วว่า
เรื่องนี้ ไม่ได้เป็นการเรียนสอนปกติ
ดู #11 #15

เป็น "การแนะสอน"
ผู้เข้าฟังทราบจุดประสงค์ ประเด็นที่จะพูดคุยกันครับ
คือ มองปัญหาต่าง ๆ อย่าง "ใกล้ไกล ลุ่มลึก"


กลับมาประเด็นเรา
"ผมสงสัยการให้คะแนนคนที่ 1 ครับ คำตอบของเขาไม่ตอบโจทย์อย่างไร"

โจทย์นี้ ณ ขณะนั้น ไม่ได้มุ่งผลการ "แยกตัวประกอบ"
แต่มุ่งว่า เมื่อได้รับมอบงานใด ๆ มาให้ทำ ควรต้องคำนึง
"แก่นเรื่อง บุคคล กาล และ สถานที่"


อย่าง รง.ไส้กรอก
ผู้ว่าจ้าง ไม่ประสงค์ให้ จบป.โท ไปนั่งผสมไส้กรอก (ระดับอื่นเขาทำได้)
แต่จ้างเพื่อไป ตรวจตรา แก้ปัญหาที่อาจเกิด


โจทย์แยกตัวประกอบ ต้องการให้ผู้ร่วมถก เห็นประเด็น
"แก่นเรื่อง บุคคล กาล และ สถานที่" ครับ

ถ้า คนนที่1 เห็นแค่ "พื้น ๆ" ทั้งที่ เขาสามารถมากกว่านั้น
ย่อมไม่สมควร คะแนนจึงตามนั้น (ไม่ให้ต่ำกว่าครึ่ง เพราะ "ไม่ผิด")ครับ

TOP 26 มิถุนายน 2015 10:34

สรุปว่า คำตอบของคนที่ 1 ตอบโจทย์แล้วถูกไหมครับ

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ share (ข้อความที่ 178675)
โจทย์นี้ ณ ขณะนั้น ไม่ได้มุ่งผลการ "แยกตัวประกอบ"
แต่มุ่งว่า เมื่อได้รับมอบงานใด ๆ มาให้ทำ ควรต้องคำนึง
"แก่นเรื่อง บุคคล กาล และ สถานที่"

หากผมถามแบบเดียวกับคุณ share ในความเห็นที่ 9 คือให้แยกตัวประกอบของ $x^2 - 1$
คุณ share เข้าใจว่า แก่นเรื่อง บุคคล กาล และ สถานที่ ที่ผมถามถึงคือที่ไหนครับ ทำไมจึงคิดเช่นนั้น :confused:

share 26 มิถุนายน 2015 10:58

เขาตอบโจทย์

แต่ไม่พอกับ "ศักยะภาพ" ของเขา ณ "สถานที่/ตำแหน่ง" ที่มีอยู่ ณ ขณะนั้น ครับ


555 ขออนุญาตถาม

คุณ TOP ไม่สนใจคุยในหัวข้ออื่นกับผมบ้างหรือ เช่น

http://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=22365 06 เมษายน 2015

http://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=19089 24 เมษายน 2013

4. วิชาเชิงปริมาณ เรียนอินทิเกรตทำไม ใช้อะไรในชีวิตจริง บางตัวในคณิตแคลคูลัสระดับสูงไม่มีประโยชน์ในการใช้ประกอบอาชีพการงาน
และจัดเป็นการยากที่จะเข้าใจเนื่องจากไม่รู้จะเรียนเพื่อ? http://pantip.com/topic/33813041

http://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=21589

http://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=22139

Aquila 26 มิถุนายน 2015 14:06

คุณ share

คณิตศาสตร์กับความรู้สึกส่วนตัว

มันเป็นคนละเรื่องกันนะครับ


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 11:14

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha