Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ข้อสอบโอลิมปิก (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=28)
-   -   ร่วมเฉลยปัญหามุมนักคิดใน pratabong (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=9716)

-SIL- 22 มกราคม 2010 20:32

ร่วมเฉลยปัญหามุมนักคิดใน pratabong
 
ตามลิ้งค์นี้ครับ โดยขอเริ่มจากครั้งที่ 19 (ปัญหาที่ 55) ครับ :)
http://www.pratabong.com/P_web/math/...lemsCorner.htm

เฉลยคำตอบ


-SIL- 22 มกราคม 2010 20:35

ปัญหาที่ 55 ผมได้ว่า $m = -1,0,\frac{(3+5)\pm\sqrt{2-2\sqrt{5}}}{2},\frac{(3-5)\pm\sqrt{2+2\sqrt{5}}}{2}$
ปัญหาที่ 57 ผมได้ว่า $a \in [-\frac{\sqrt{2}}{4},\frac{\sqrt{2}}{4}]$

เหมือนใครมั่งมั้ยน้อ :sweat:

LightLucifer 22 มกราคม 2010 21:00

ข้อที่ 55/2548 นะครับ ไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่นะครับ

โจทย์

จงหา ค่าของจำนวนจริง m ทุกจำนวน ซึ่งทำให้สมการ
$(x^2 − 2m x − 4(m^2 + 1)) (x^2 − 4x − 2m(m^2 + 1)) = 0$
มีรากที่แตกต่างกันเพียงสามค่า (1997 Bulgarian National Olympiad in Mathematics)


-SIL- 22 มกราคม 2010 21:37

แทน x=0 ผมก็เท็จแล้วครับ :cry:
ผมตีความว่า มีรากที่แตกต่างกันเพียงสามค่า เป็น มีรากซ้ำ 1 ค่าครับ ใช้สูตรแล้วก็จับมาเท่ากันทีละตัว :sweat:
ปล. พบที่ผิดแล้วครับ :laugh: ตั้งแต่ต้นเลย :aah:

-InnoXenT- 23 มกราคม 2010 04:06

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ -SIL- (ข้อความที่ 75949)
ปัญหาที่ 55 ผมได้ว่า $m = -1,0,\frac{(3+5)\pm\sqrt{2-2\sqrt{5}}}{2},\frac{(3-5)\pm\sqrt{2+2\sqrt{5}}}{2}$
ปัญหาที่ 57 ผมได้ว่า $a \in [-\frac{\sqrt{2}}{4},\frac{\sqrt{2}}{4}]$

เหมือนใครมั่งมั้ยน้อ :sweat:

ผมแทนค่า $a = -0.3$ แล้วให้ $x = 1$ จะได้ $f(x) = 1.06$ ซึ่งไม่เป็นจริงครับ

-SIL- 23 มกราคม 2010 04:13

#6 ขอบคุณครับ :) แต่ถ้าแทนอย่างนั้นมันได้ f(x) เป็น 0.76 อ่ะครับ เดี๋ยวผมลองคิดดูอีกทีละกันครับ :laugh:

ปัญหาที่ 55 ได้มา 3 ตัวคือ -1,2,3 ครับ แต่ทดสอบดูแล้วใช้ได้แค่ -1,3

ปัญหาที่ 57 คิดใหม่ได้ $a\in[-\frac{1}{2},\frac{1}{2}]$ (ลืมคิดอีกกรณี :please:)

LightLucifer 23 มกราคม 2010 12:02

#7

จริงด้วยแหะ ผมรีบร้อนสรุปไปหน่อยแหะ T_T

ปล. m=-1 ไม่จริงนะครับ

ปล. 2 ผม EDIT Solution ใหม่แล้วนะครับที่คาดว่าน่าจะสมบูรณ์มากที่สุด

-SIL- 23 มกราคม 2010 12:09

อ่อครับผมก็รีบไปหน่อยตอนใส่ $x=-1$ ดันได้เป็น $(x^2+2x-8)(x^2+4x+4)$ :blood:

-InnoXenT- 23 มกราคม 2010 13:36

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ -SIL- (ข้อความที่ 75998)
#6 ขอบคุณครับ :) แต่ถ้าแทนอย่างนั้นมันได้ f(x) เป็น 0.76 อ่ะครับ เดี๋ยวผมลองคิดดูอีกทีละกันครับ :laugh:

ปัญหาที่ 55 ได้มา 3 ตัวคือ -1,2,3 ครับ แต่ทดสอบดูแล้วใช้ได้แค่ -1,3

ปัญหาที่ 57 คิดใหม่ได้ $a\in[-\frac{1}{2},\frac{1}{2}]$ (ลืมคิดอีกกรณี :please:)

ผมคิดเลขผิดนีนา อายจัง ฮ่าๆ :blood:

-SIL- 23 มกราคม 2010 13:57

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ -InnoXenT- (ข้อความที่ 76038)
ผมคิดเลขผิดนีนา อายจัง ฮ่าๆ :blood:

ถ้าแค่นี้อายผมก็ขายหน้าได้เป็นล้านแล้วครับ :cry:

-SIL- 23 มกราคม 2010 15:01

ปัญหาที่ 58 ผมได้ว่า หลักหน่วยของ $n^2$ คือ $6$ ครับ
ปัญหาที่ 59 ผมได้ว่า ค่าสูงสุดของ $z$ คือ $\frac{13}{3}$ ครับ
ปล. ข้อไหนมั่นใจว่าคำตอบถูกต้องแล้วจะเอาขึ้นไว้ที่ #1 นะครับ :)

LightLucifer 23 มกราคม 2010 15:29

ข้อ 58

ผมใช้ mod 4 อ่ะครับ

จากความจริงที่ว่า $n^2\equiv 0 (mod 4)$ หรือ $n^2\equiv 1 (mod 4)$ เท่านั้น
พิจรณา $n^2$ ที่มีหลักสิบเท่ากับ 7 หลักหน่วยเท่ากับ x
ให้ $n^2=a_na_{n-1}...a_07x=(a_na_{n-1}...a_0)100+7x$ สังเกตุว่า $4\mid 100(a_na_{n-1}...a_0)$ โดยที่ $a_i$ ป็นเลขโดด
พิจรณา $7x$
กรณีที่ $4\mid n^2$ จะได้ $x=2,6$ แต่ไม่มีจำนวนเต็มใดยกกำลังสองแล้วลงท้ายด้วย 2 ดังนั้น เลข 2 เป็นไปไม่ได้
กรณีที่ $n^2\equiv 1 (mod 4)$ จะได้ $x=3,7$ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ด้วยเหตุผลเดียวกับ 2

ดังนั้น 6 จึงเป็นเพียงเลขเดียวที่เป็นไปไ้ด้

-SIL- 23 มกราคม 2010 15:59

ข้อ 58 ผมนั่งพิจารณาไปเรื่อยๆแฮะ(นานดีครับ :cry:) ใช้ congruence ไม่ค่อยเป็น :aah:
ได้เพิ่มมาสองข้อ :happy:
ข้อ 63 ผมได้ $(m,n)=(0,0),(0,1)$
ข้อ 61 ผมได้ $f(x)=\frac{4}{9}x^3,0$

ปล. 0 เป็นพหุนามหรือเปล่าครับ :sweat:

LightLucifer 23 มกราคม 2010 20:17

64.

พิจรณา
$21n+4=(1)(14n+3)+(7n+1)$
$14n+3=(2)(7n+1)+1$
โดยวิธีการหารแบบยูคลิดจะได้ว่า $(21n+4,14n+3)=1$ นั่นคือ $\frac{21n+4}{14n+3}$ เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ

ุ65.

ผมกระจายออกสุดท้ายได้ $8cos^6x-10cos^4x+3cos^2x=0$
แก้สมการได้ $x=\frac{\pi }{2} +2k\pi,\frac{3\pi }{2} +2k\pi ,\frac{\pi }{4}+2k\pi,\frac{3\pi }{4}+2k\pi,\frac{5\pi }{4} +2k\pi,\frac{7\pi }{4} +2k\pi,\frac{\pi }{ุ6} +2k\pi,\frac{5\pi }{6} +2k\pi,\frac{7\pi }{6} +2k\pi,\frac{11\pi }{6} +2k\pi$

nooonuii 23 มกราคม 2010 22:13

57. ตอบ $-\dfrac{1}{2}\leq a\leq \dfrac{1}{2\sqrt{2}}$



เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 20:05

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha