Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ฟรีสไตล์ (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=6)
-   -   ความคิดที่น่าลองดู (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=5364)

EulerTle 30 สิงหาคม 2008 18:02

ความคิดที่น่าลองดู
 
ผมคิดไอเดียหนึ่งขึ้นมาว่าหากนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ทั้งหมดทุกสาขามารวมกันเป็นหนังสือหนึ่งเล่มกระดาษกว้างประมาณกระดาษ A4 จะได้กี่หน้า

square1zoa 30 สิงหาคม 2008 18:43

อนันต์ครับ เพราะความรู้คณิตศาสตร์มีไม่จำกัดครับ

mongravirna 02 กันยายน 2008 23:16

ถ้าเปลี่ยนเป็น "ความรู้ทั้งหมดเท่าที่มีในปัจจุบัน" พิมพ์ใน A4 ขนาดตัวอักษรไล่เลี่ยกับ text ปกติ

อาจจะพอคำนวณได้กระมัง?

RETRORIAN_MATH_PHYSICS 02 กันยายน 2008 23:33

จากการที่ผมสร้างฟังก์ชันขึ้นมา และใช้คอมพิวเตอร์คำนวณรู้สึกว่าจะทำไม่ได้ครับ เห็นเขาบอกว่า ทำไปก็เท่านั้นไม่มีใครเอาไปทำประโยชน์อะไรได้หรอก เปิดอ่านก็ยาก พกพาก็ไม่สะดวก เคลื่อนย้ายก็ยาก

square1zoa 03 กันยายน 2008 22:15

เห็นด้วยครับอย่างยิ่ง

EulerTle 04 กันยายน 2008 20:53

ก็รู้ครับแต่เราจะได้รู้ว่ามีความรู้ทางคณิตศาาสตร์บนโลกมากเท่าไหน

nongtum 04 กันยายน 2008 20:58

เอาแค่คณิตสาขาย่อยเดียว อ่านให้หมดบางทีหนึ่งชีวิตก้ไม่พอครับ
แต่ผมสนใจนะว่าคุณ RETRORIAN_MATH_PHYSICS สร้างฟังก์ชันเพื่อคำนวณอย่างไรเอ่ย...

square1zoa 04 กันยายน 2008 22:46

น่าจะเป็นการหาจำนวนเฉพาะ Algebra structure หลายอย่าง ก็ที่บอกครับ คณิตศาสตร์ไม่มีที่สิ้นสุด

banker 05 กันยายน 2008 09:32

เอาแค่คำนวน พิมพ์ค่า $\pi$ ค้องใช้กระดาษ A4 กี่หน้าก่อนดีไหม :)

Hamaki Miko 05 กันยายน 2008 10:03

คณิตศาสตร์มีเยอะนะค่ะ คงจะเยอะน่าดู

คusักคณิm 06 กันยายน 2008 22:09

#9 อ่าๆๆๆ........$\pi$เป็นอตรรกะ
ให้คิดก็ได้$\infty $หน้าแล้ว
ปล.ตอนนี้ไม่ใช่ จำนวนอตรรกยะ เพราะ เป็นทศนิยมรู้จบ (ที่ตำแหน่ง 2,075,932,542,102 )
ปล.2 ถ้างั้นก็ประมาณ20759000หน้า ขึ้นกับfont (เราคิดหน้าละ10000ตำแหน่ง):cool:

เข้าเรื่องกัน
ความรู้ืจะไม่จบสิ้น มีแต่การเปลี่ยนแปลงบางเรื่อง
อย่างค่าพาย นี้ เขาบอกเป็นอตรรกะ
แต่ตอนนี้$\pi$ไม่ใช่อตรรกะแล้ว :D

ดังนั้นความรู้นั้นจึงอาจผิดบ้าง
ให้คิดแค่สาขาเดียวก็ปาไป1ล้านหน้าแล้วมั้ง:p

nooonuii 06 กันยายน 2008 22:38

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ คusักคณิm (ข้อความที่ 39021)
#9 อ่าๆๆๆ........$\pi$เป็นอตรรกะ
ให้คิดก็ได้$\infty $หน้าแล้ว
ปล.ตอนนี้ไม่ใช่ จำนวนอตรรกยะ เพราะ เป็นทศนิยมรู้จบ (ที่ตำแหน่ง 2,075,932,542,102 )
ปล.2 ถ้างั้นก็ประมาณ20759000หน้า ขึ้นกับfont (เราคิดหน้าละ10000ตำแหน่ง):cool:

เข้าเรื่องกัน
ความรู้ืจะไม่จบสิ้น มีแต่การเปลี่ยนแปลงบางเรื่อง
อย่างค่าพาย นี้ เขาบอกเป็นอตรรกะ
แต่ตอนนี้$\pi$ไม่ใช่อตรรกะแล้ว :D

ขอเอกสารอ้างอิงด้วยครับ ที่บอกว่า $\pi$ ไม่ใช่จำนวนอตรรกยะ

ถ้าข้อความนี้จริงจะเป็นการค้นพบที่สะเทือนไปทั้งวงการคณิตศาสตร์เลยทีเดียว :rolleyes:

Pocket 07 กันยายน 2008 01:10

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii (ข้อความที่ 39026)
ขอเอกสารอ้างอิงด้วยครับ ที่บอกว่า $\pi$ ไม่ใช่จำนวนอตรรกยะ

ถ้าข้อความนี้จริงจะเป็นการค้นพบที่สะเทือนไปทั้งวงการคณิตศาสตร์เลยทีเดียว :rolleyes:



อันนี้ผมก็เคยอ่านในเนตเหมือนกันครับ

เพียงแต่ว่าการที่หามาได้นั่น ได้มีนักคณิตศาสตร์คนนึงสร้่างโปรแกรมคำนวณค่าพายขึ้นมา

และได้ทศนิยมที่รู้จบ


แต่.........

ปัญหาอยุ่ที่ว่า นักคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับ เพราะมันเป็นการหาโดยคอมพิวเตอร์


ซึ่งจากที่นักคณิตศาสตร์พิสูจน์กันมา แล้วบอกว่ามันเป็นทศนิยมไม่รู้จบ

ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน

nooonuii 07 กันยายน 2008 01:42

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Pocket (ข้อความที่ 39034)
อันนี้ผมก็เคยอ่านในเนตเหมือนกันครับ

ขอลิงค์ได้มั้ยครับ

คusักคณิm 07 กันยายน 2008 08:32

พี่ยุ่นทำลายสถิติตัวเอง ท่องค่าพายแสนตัวใน 16 ชม.

อากิระ ฮารากูชิ (Akira Haraguchi) ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตวัย 60 ปี ทำลายสถิติตัวเองท่องเลขทศนิยมตำแหน่งแรกของค่าพาย ($\pi$) ได้ 83,431 ตัวเมื่อปีที่แล้ว และทำลายสถิติอย่างเป็นทางการในกินเนสบุ๊กของฮิโรยูกิ โกโตะ จากญี่ปุ่นเช่นเดียว ที่เคยท่องค่าพายได้ 42,195 ตัวเมื่อปี 1995 เคต ไวท์ (Kate White) โฆษกของกินเนสบุ๊ก เวิลด์ เรกคอร์ด กล่าวว่า ฮารากูชิต้องเข้าไปบันทึกสถิติของตัวเองลงในเว็บไซต์กินเนส บุ๊ก พร้อมทั้งเทปวิดีโอและคำยืนยันจากสักขีพยาน เพื่อให้กินเนสบุ๊กตรวจสอบ ซึ่งหากหลักฐานต่างๆ ถูกต้อง แน่นอนว่า ฮารากูชิจะได้เป็นเจ้าของสถิติการท่องค่าพายคนใหม่ของโลกทันที ทั้งนี้ ค่าพาย คือ จำนวนจริงที่มีค่าเท่ากับอัตราส่วนของเส้นรอบวงกับเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลม จะมีค่าอยู่ระหว่าง 22/7 กับ 223/71 หรือถ้าเทียบเป็นทศนิยมจะมีค่าประมาณ 3.14159 และในปัจจุบัน การประมวลผลจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์พบว่า ค่าพายสิ้นสุดลงที่ตำแหน่ง 2,075,932,542,102 ค่าพายยังมีความสำคัญในการช่วยคลี่คลายสมการทั้งหลายในวิทยาศาสตร์ อาทิ การอธิบายเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ การเกิดรุ้งกินน้ำ ปรากฏการณ์น้ำกระเพื่อม การเกิดคลื่น เข็มทิศ เป็นต้น
จาก http://digital.lib.kmutt.ac.th/news_...t.php?n_id=352
:p
และhttp://www.school.net.th/library/cre...10000-988.html
ลองอ่านดู:cool:


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 02:49

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha