Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=3)
-   -   เก็บตกความรู้ การหาจุดเปลี่ยนเว้าทั้งหมดโดยใช้ calculus (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=15857)

wee 07 มีนาคม 2012 15:56

เก็บตกความรู้ การหาจุดเปลี่ยนเว้าทั้งหมดโดยใช้ calculus
 
13 ไฟล์และเอกสาร
หลังจากที่ได้สอนหนังสือมาหลายปี ก็พบว่าเด็กนักเรียนมักมีปัญหาในเรื่องของการหาจุดเปลี่ยนเว้าโดยการใช้ Calculus
ดังนั้น ผมจึงขออนุญาตเขียนบทความนี้เผื่อจะมีประโยชน์กับคนที่กำลังสนใจอยู่บ้าง
(อาจจะเป็นเรื่องง่าย ๆ ลองอ่านดูนะครับ)
Attachment 8248
Attachment 8249
Attachment 8250
Attachment 8251
Attachment 8357
Attachment 8253
Attachment 8254
Attachment 8255
Attachment 8256
Attachment 8257
Attachment 8258
Attachment 8260
ผมแนบไฟล์ ให้ด้วยครับ เผื่อใครสนใจ Attachment 8259

MiNd169 07 มีนาคม 2012 17:35

ขอบคุณมากครับ:great:

แล้วทำไมเราถึงต้องแก้หา x ที่อนุพันธ์อันดับที่2 ล่ะครับ:please:

A.DreN@l_ine 07 มีนาคม 2012 19:11

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ MiNd169 (ข้อความที่ 135842)
ขอบคุณมากครับ:great:

แล้วทำไมเราถึงต้องแก้หา x ที่อนุพันธ์อันดับที่2 ล่ะครับ:please:

เพื่อหาจุด $(c,f(c))$ ที่เป็นจุดเปลี่ยนเว้าหน่ะครับ

MiNd169 07 มีนาคม 2012 19:40

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ A.DreN@l_ine (ข้อความที่ 135857)
เพื่อหาจุด $(c,f(c))$ ที่เป็นจุดเปลี่ยนเว้าหน่ะครับ

คือผมอยากทราบที่มาน่ะครับ

nooonuii 07 มีนาคม 2012 20:34

ถ้าเป็นจุดที่อนุพันธ์หาค่าไม่ได้จะเป็นจุดเปลี่ยนเว้าได้มั้ยครับ

ยกตัวอย่างเช่นเส้นโค้งที่มีลักษณะแบบนี้

$\Large{\nu}$

~ArT_Ty~ 10 มีนาคม 2012 09:22

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ :)

หยินหยาง 10 มีนาคม 2012 17:15

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ MiNd169 (ข้อความที่ 135842)
ขอบคุณมากครับ:great:

แล้วทำไมเราถึงต้องแก้หา x ที่อนุพันธ์อันดับที่2 ล่ะครับ:please:

อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่าจุดเปลี่ยนเว้าคืออะไร ถ้าว่ากันตามนิยามก็หาดูได้ตาม textbook แต่ถ้าพูดเป็นภาษาง่ายๆคือ จุดที่ทำให้ฟังก์ชั่นเปลี่ยนความเว้า หมายความว่าก่อนหน้าจุดนี้ ฟังก์ชันอยู่บนเส้นสัมผัสเส้นโค้งหรือเรียกว่าเว้าบนพอเลยจุดนี้ไปก็จะเปลี่ยนเว้าทำให้เป็นฟังก์ชันอยู่ใต้เส้นสัมผัสเส้นโค้ง หรือเรียกว่าเว้าล่าง ในทำนองเดียวกัน อาจเปลี่ยนจากเว้าล่างมาเป็นเว้าบนก็ได้เช่นกัน จะเห็นว่าความเว้าเกี่ยวกับความชันของฟังก์ชัน จึงใช้อนุพันธ์เข้ามาช่วยหา และถ้าเข้าใจว่าอนุพันธ์คืออะไรก็ไม่ยากที่จะตอบว่าเมื่อไรใช้อันดับที่ 1 เมื่อไรใช้อันดับที่ 2 เพราะเหตุไร และถ้าเข้าใจทั้งสองอย่างก็จะไม่มีคำถามที่ว่า ถ้าเป็นจุดที่อนุพันธ์หาค่าไม่ได้จะเป็นจุดเปลี่ยนเว้าได้มั้ยครับ ตามที่ท่าน nooonuii เปิดประเด็นให้ขบคิดมั้งครับ :)

MiNd169 13 มีนาคม 2012 00:46

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ หยินหยาง (ข้อความที่ 136150)
อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่าจุดเปลี่ยนเว้าคืออะไร ถ้าว่ากันตามนิยามก็หาดูได้ตาม textbook แต่ถ้าพูดเป็นภาษาง่ายๆคือ จุดที่ทำให้ฟังก์ชั่นเปลี่ยนความเว้า หมายความว่าก่อนหน้าจุดนี้ ฟังก์ชันอยู่บนเส้นสัมผัสเส้นโค้งหรือเรียกว่าเว้าบนพอเลยจุดนี้ไปก็จะเปลี่ยนเว้าทำให้เป็นฟังก์ชันอยู่ใต้เส้นสัมผัสเส้นโค้ง หรือเรียกว่าเว้าล่าง ในทำนองเดียวกัน อาจเปลี่ยนจากเว้าล่างมาเป็นเว้าบนก็ได้เช่นกัน จะเห็นว่าความเว้าเกี่ยวกับความชันของฟังก์ชัน จึงใช้อนุพันธ์เข้ามาช่วยหา และถ้าเข้าใจว่าอนุพันธ์คืออะไรก็ไม่ยากที่จะตอบว่าเมื่อไรใช้อันดับที่ 1 เมื่อไรใช้อันดับที่ 2 เพราะเหตุไร และถ้าเข้าใจทั้งสองอย่างก็จะไม่มีคำถามที่ว่า ถ้าเป็นจุดที่อนุพันธ์หาค่าไม่ได้จะเป็นจุดเปลี่ยนเว้าได้มั้ยครับ ตามที่ท่าน nooonuii เปิดประเด็นให้ขบคิดมั้งครับ :)

ขอบคุณครับ เดี๋ยวลองศึกษาดู :)

September 14 มีนาคม 2012 11:22

การหาค่าวิกฤตของฟังก์ชัน y = f(x) ต้องพิจารณาจากค่าของ x ที่ทำให้อนุพันธ์อันดับที่หนึ่งมีค่าเท่ากับ 0 หรือหาค่าไม่ได้ ไม่ใช่หรือครับ
การหาค่าของ x ที่อาจก่อให้เกิดจุดเปลี่ยนเว้าก็เช่นกัน ต้องพิจารณาจากค่าของ x ที่ทำให้อนุพันธ์อันดับที่สองมีค่าเท่ากับ 0 หรือหาค่าไม่ได้
ดังนั้น คุณ wee น่าจะยังขาดไปกรณีหนึ่งครับ
:D

wee 14 มีนาคม 2012 12:12

ขอบคุณมากครับ คุณSeptember
เราจะต้องคิดกรณีที่ อนุพันธ์อันดับสองหาค่าไม่ได้รวมเข้าไปด้วยครับผม

แม่ให้บุญมา 20 กรกฎาคม 2013 02:16

ขอบคุณ คุณ wee มากครับ เป็นโพสต์ที่มีประโยชน์มาก

ผมมีคำอธิบายอีกมมองหนึ่งว่า
จุดเปลี่ยนโค้ง เป็นจุดที่ ฟังก์เปลี่ยนระหว่างโค้งคว่ำกับโค้งหงาย
โค้งคว่ำ จะเป็นช่วงที่ f"(x) มีเครื่องหมายเป็น - (โค้งแบบ -x²)
โค้งหงาย จะเป็นช่วงที่ f"(x) มีเครื่องหมายเป็น + (โค้งแบบ x²)

และ พาราโบลา ไม่มีจุดเปลี่ยนโค้ง เพราะโค้งแบบเดียวตลอด


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 15:37

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha