Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   บทความคณิตศาสตร์ทั่วไป (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=12)
-   -   วารสารคณิตศาสตร์ของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=23790)

nooonuii 05 มิถุนายน 2017 11:48

วารสารคณิตศาสตร์ของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย
 
ผมเพิ่งได้ข้อมูลมาจากการประชุม AMM2017 ที่เชียงใหม่จึงนำมาประชาสัมพันธ์ เผื่อว่าจะมีใครสนใจส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารนี้ครับ

วารสารคณิตศาสตร์ของสมาคมฯ กำลังเปิดรับบทความส่งไปตีพิมพ์ครับ โดยบทความมี 3 ลักษณะคือ

1. บทความวิจัย
2. บทความวิชาการ
3. บทความทั่วไป

เห็นว่ามีหลายคนอยากได้ช่องทางในการเผยแพร่ผลงานของตัวเอง ตอนนี้โอกาสมาถึงแล้วครับ เชิญส่งไปได้เลย

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

http://journal.maththai.org/ejournal/index.php/math

ป.ล. คิดถึงผลงานของคุณอัจฉริยะจัง :D

Posdoolb 11 กรกฎาคม 2017 20:45

ปกติใช้เวลานานแค่ไหนครับที่ทางวารสารจะ reply กลับมาว่าบทความใช้ได้หรือให้ไปแก้ไขข้อผิดพลาด

nooonuii 12 กรกฎาคม 2017 10:29

ผมยังไม่ทราบข้อมูลครับ

pure_mathja 16 กรกฎาคม 2017 10:03

วารสารของคุณครูจะกลับมามีไหมครับ

nooonuii 16 กรกฎาคม 2017 10:35

น่าจะวารสารนี้แหละครับ ผมเห็นมีงานวิจัยทางศึกษาศาสตร์ตีพิมพ์อยู่ ลองเข้าไปอ่านดูครับเขาทำให้อ่านออนไลน์ได้ด้วย

อัจฉริยะ 16 กุมภาพันธ์ 2018 12:09

ผมพิสูจน์ทฤษฏีบทสุดท้ายของแฟมาร์ ได้แล้วครับ หลังจากผมทำผิดพลาดไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว

ตอนนี้กลับมาใช้แนวทางใหม่ คิดว่าไม่พลาดแน่นอน พิสูจน์ได้จริงๆครับ

ผมส่งไปวารสารตอนนี้จะทันไหม ??

nooonuii 16 กุมภาพันธ์ 2018 16:39

ส่งไปได้ตลอดครับ

อัจฉริยะ 16 กุมภาพันธ์ 2018 19:17

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii (ข้อความที่ 185548)
ส่งไปได้ตลอดครับ

โอเคครับ เด่วผมจะลองส่งไปดู จะอัดคลิปลง youtube ด้วย

แล้วตอนนี้มีคนพิสูจน์ FLT แบบ elementary ได้แล้วรึยังคับ ผมก็ไม่ได้ติดตามข่าวเลย

อัจฉริยะ 05 มีนาคม 2018 21:28

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ อัจฉริยะ (ข้อความที่ 185551)
โอเคครับ เด่วผมจะลองส่งไปดู จะอัดคลิปลง youtube ด้วย

แล้วตอนนี้มีคนพิสูจน์ FLT แบบ elementary ได้แล้วรึยังคับ ผมก็ไม่ได้ติดตามข่าวเลย

ถ้าผมอัดคลิปลง youtube เสร็จ จะเอามาโพสในนี้ทีเดียวเลยครับ ให้ทุกคนช่วยตรวจด้วย

ถ่ายคลิปไม่ชัดต้องถ่ายใหม่ ทำเองคนเดียวทั้งหมดมันลำบาก กล้องมือถือก็ไม่ชัด

คราวนี้มั่นใจกว่าครั้งก่อนเยอะเลย ผมใช้แนวทางใหม่ คิดขึ้นมาเอง แต่กว่าจะคิดได้ก็เป็นปีครับ มันยากจริงๆ แต่ผมก็ไม่ยอมแพ้

ไม่อยากพูดมากแล้ว คราวก่อนโม้ไว้เยอะ แล้วทำไม่ได้อย่างที่คุย งั้นเอาไว้ดูทีเดียวเลยดีกว่าครับ :o

Charoenchit Panpetch 15 มิถุนายน 2018 10:28

มีการจำกัดหน้าของบทความวิชาการหรือไม่ อย่างไรครับ

Spectra 15 ตุลาคม 2018 18:39

พวก mathematical paper หรือ proof อะไรที่เป็นบทความวิชาการควรใช้ TeX ในการเขียน paper แค่ไม่ได้ใช้ TeX ก็ผิดไป 60% แล้ว
reference ก็ควรมี ถ้าคุณส่งไปแล้วดูเหมือนใช้โปรแกรมอะไรก็ไม่รู้ reference ก็ไม่มี ภาษาอังกฤษมึนๆ ดูไม่เป็นทางการ เขาไม่ต้องเปิดอ่านก็รู้แล้วว่า author ไม่ได้ใส่ใจในงานที่ทำ โยนทิ้งไปได้เลย ถึงในนั้นจะ prove major-conjecture ก็เถอะ
อีกอย่าง reputation เป็นสิ่งสำคัญ ส่งไปสุ่มสี่สุ่มห้าอาจจะเป็นการปิดโอกาศตัวเองในอนาคตก็ได้

tngngoapm 18 ตุลาคม 2018 17:32

แล้วอย่างผมมันนักคณิตศาสตร์บ้านๆจะต้องทำยังงัยอ่ะครับ....

Spectra 19 ตุลาคม 2018 17:20

ถ้าอยากจะ publish paper ของตัวเอง อย่างแรกใช้ TeX ให้เป็นก่อน ภาษาอังกฤษต้องเป็นให้ได้ ถ้าไม่ได้จริงๆลองหาคนที่เป็นนักคณิตศาสตร์เหมือนกันที่เก่งอังกฤษแปลให้ แล้วลองหาอาจารย์ตามมหาลัยที่เรารู้จักก็ได้ ขอให้เขา peer-review, proof read paper ของเราดู ส่วนใหญ่อาจารย์ที่เก่งๆด้านนี้เขาจะมองแล้วรู้เลยว่าเราผิดตรงไหน เราอาจจะคิดว่าเราได้ proof ใหม่มาแต่จริงๆแล้วมันอาจจะเป็น theory เก่าหรือเป็นหนึ่งใน lemma ไปแล้ว ที่ทำอย่างนี้เพื่อปกป้อง reputation ของตัวเอง ให้อาจารย์ตรวจสอบก่อนแล้วค่อยนำลง public domain ให้นักคณิตศาสตร์อีกหลายล้านคนอ่านต่อ ถ้าผลงานเป็นองค์ความรู้ใหม่จริงๆ ก็อาจจะได้ตีพิมพ์หรือได้ Fields Medal ก็ได้ แต่ที่สำคัญที่สุด อ่านเยอะๆ พวกบทความอะไรที่เราสนใจ ถ้าเราสนใจด้านไหน ก็พยายามติดตามข่าวสารจากด้านนั้น(นี่คือเหตุผลที่ย้ำนักย้ำหนาว่าทำไม่ต้องเป็นอังกฤษให้ได้) แล้วคุณจะรู้เองว่าสิ่งที่คุณคิดขึ้นมาเป็นองค์ความรู้ใหม่จริงๆหรือไม่ รู้ว่าการเขียน paper ให้ดีต้องเขียนอย่างไร อีกอย่างคุณก็จะรู้จักกับนักคณิตศาสตร์ที่เขาเชี่ยวชาญทางด้านนั้นด้วย ไม่ต้องพึ่งอาจารย์ในไทย ส่ง paper ตรงไปให้เขาเลย(ดูจาก author ถ้าชื่อขึ้นมาบ่อยๆในหลายๆผลงานก็คนนั้นแหละ)

สำคัญสุดคืออย่ายึดติด อย่าคิดว่าตัวเองเก่งหนักหนา proof นู้นได้นี่ได้ ถ้ามัน proof ได้อย่างนั้นจริงๆคุณคิดว่าป่านนี้ 7 พันล้านคนบนโลกจะไม่มีใครคิดขึ้นมาได้เลยเหรอ เรียนคณิตศาสตร์มาจน proof major theorem-conjecture ก็คงจะรู้เรื่อง probability ไม่ได้พูดให้ถอดใจ แต่นี่คือความเป็นจริง องค์ความรู้ใหม่ๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการที่เรามุ่งจะ proof riemann's hypo, continuum hypo และอื่นๆ แต่มันเกิดจากการที่เรา "เล่น" ผมใช้คำว่าเล่นเพราะวิชาคณิตศาสตร์คือวิชาที่เราเล่นกับสมองตัวเอง หาความจริงในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง(infinity, space filling curve) เพราะฉะนั้นอย่ามุ่งที่จะ proof (***เพราะบางอย่างก็ไม่สามารถ proof ได้จริงๆ***) แต่ให้มุ่งที่จะเล่นกับมัน มีความสุขกับมัน proof ทั้งหลายที่เหลือมันเป็นแค่ของแถม การที่เราเล่นนี่แหละคือการที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่(ยกตัวอย่างตอนที่ einstein มองคนเช็ดกระจก) เพราะฉะนั้นถ้า paper ไหนที่ claim ว่า proof major-conjecture ได้ แต่ไม่มีองค์ความรู้ใหม่ คณิตศาสตร์ใหม่ พนันได้เลยว่า 99% ของ paper พวกนั้นคือผิดทั้งเพ - -"

*จบได้หดหู่มาก*
***อันนี้พูดจริง เช่น continuum hypothesis เป็นหนึ่งในนั้นที่ไม่สามารถถูก proof ได้ อาจจะงงๆ กันหน่อยเพราะหลายคนชอบคิดว่าคณิตศาสตร์ ถูก หรือ ผิด true or false เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่จริงๆแล้วคณิตศาสตร์นั้นไม่สมบูรณ์ (หรือ complete นั้นแหละ) หรือไม่ถ้าคณิตศาสตร์สมบูรณ์ ก็จะต้อง inconsistent ลองอ่าน godel's incompleteness theorem ดู เพราะฉะนั้นอย่าตั้งเป้าหมายเป็น proof ครับ เพื่อจะไม่เป็นภาระลูกหลานและตัวเองด้วย***


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 09:21

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha