Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ข้อสอบในโรงเรียน ม.ปลาย (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=21)
-   -   ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2550 (สอบ ก.พ. 51) (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=4234)

sck 24 เมษายน 2008 13:04

ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2550 (สอบ ก.พ. 51)
 
เห็นที่ สทศ. เขาเผยแพร่แล้วเลยเอารูป และ link มาลงให้ดูกันครับ:cool:
ไฟล์ pdf กดไปดูกันได้ที่นี่ครับ ==> ข้อสอบ O-NET คณิตศาสตร์











sck 25 เมษายน 2008 14:43













ลงรูปไว้ให้เผื่อคนที่ไม่อยากโหลดไฟล์ pdf:cool:

Macgyver 25 เมษายน 2008 15:37

ขอบคุณครับ:kaka:

gnopy 25 เมษายน 2008 22:29

คงหาคนมาทำได้น้อยแล้วหละครับ หุหุ

viruntep 26 เมษายน 2008 11:20

หรือว่าตอนนี้เค้าไปเล่น mathcontest กัน เลยไม่มีใครมาช่วยเฉลย ผมสมาชิกใหม่ คร๊าบ

nongtum 26 เมษายน 2008 13:06

เอาเท่าที่ผมทดได้นะครับ อย่าเอาไปโพสต่อที่อื่นเพราะยังไม่ได้ทวน
1. 1
2. 2
3. คิดได้ -10 สงสัยโจทย์ไม่ได้พิมพ์เลขชี้กำลังสาม
4. 3
5. 1
6. 4
7. 2
8. 1
9. 3
10. 2
11. 2
12. 2
13. 3
14. 4
15. 4
16. 4
17. 4
18. 3
19. 1
20. 1
21. 2
22. 3
23. 1
24. 1
25. 4
26. 3
27. 2
28. 2
29. 4
30. 4
31. 2
32. 3
33. 2
34. 3
35. 3
36. 4
37. 2
38. 4
39. 1
40. 1

kanji 26 เมษายน 2008 17:53

ข้อที่ได้ไม่ตรงกับคุณ nongtum คือ ข้อ 9, 18, 20, 34, 35, 39
9. 3
18. 3
20. 1
34. 3
35. 3
39. 1

gnopy 26 เมษายน 2008 21:14

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ kanji (ข้อความที่ 29941)
ข้อที่ได้ไม่ตรงกับคุณ nongtum คือ ข้อ 9, 18, 20, 34, 35, 39
9. 3

ข้อ9 ดูจากกราฟ จะเห็นว่า y$_1$ เป็นฟังก์ชันเพิ่ม
y$_2$เป็นฟังก์ชันลด แสดงว่า a ต้องมากกว่า1 และ bต้องน้อยกว่า1 แต่มากกว่า0 ก็สอดคล้องกับเงื่อนไขข้อ3
ปล ถ้าว่างผมจะมาลุยให้นะครับ รอพ้นวันที่ 30 เมษานี้ก่อน รอหน่อยนะ
แต่ว่าจอมยุทธ์ท่านอื่นจะลุยแสดงวิธีทำไปก่อนก็ไม่เป็นไรครับ

sck 27 เมษายน 2008 09:06

อ้างอิง:

3. คิดได้ -10 สงสัยโจทย์ไม่ได้พิมพ์เลขชี้กำลังสาม
ข้อสอบปีนี้ผิด 1 ข้อครับ คือข้อ 3 นี้ น่าจะผิดพลาดจากการพิมพ์ตกหล่น
จึงแจกฟรีคนละ 2 คะแนน :rolleyes:

**edit เพิ่ม
สำหรับที่ผมคิดแล้วไม่เหมือนก็มีข้อ
24. 3
28. 1
40. 2
นะครับ

kanji 27 เมษายน 2008 12:31

ข้อ 24 ตอบ 3
กรณี $x\ge 0$ จะได้ $x^3-2x=x$
ดังนั้น $x^3-3x=0$ ได้ $x\in \{0,\sqrt{3}\}$

กรณี $x<0$ จะได้ $x^3-2x=-x$
ดังนั้น $x^3-x=0$ ได้ $x=-1$

ดังนั้นผลบวกของคำตอบเท่ากับ $\sqrt{3}-1$

ข้อ 28 ตอบ 1
ให้ r เป็นอัตราส่วนร่วมของลำดับ $a_1,a_2,a_3,...$
ก. $a_1+a_3,\,a_2+a_4,\,a_3+a_5,\,...$
หรือ $a_1+a_1r^2,\,a_1r+a_1r^3,\,a_1r^2+a_1r^4,...$
ซึ่ง r ก็เป็นอัตราส่วนร่วมของลำดับ ก ดังนั้น เป็นลำดับเรขาคณิต

ข. $a_1^2r,a_1r^3,a_1r^5,...$ เป็นลำดับเรขาคณิต

ค.$\dfrac{1}{a_1},\dfrac{1}{a_1r},\dfrac{1}{a_1r^2},...$ เป็นลำดับเรขาคณิต

ข้อ 40 ตอบ 2

torkub 30 เมษายน 2008 17:21

ขอโทษครับ ข้อ 21 คิดยังไงอ่าครับ

ข้อ 25 ด้วยน้างับ ขอบคุงงับ แต่ข้อ24 ตอบ 0 ไม่ใช่หยอ ใครช่วยชี้แนะที

Mathophile 30 เมษายน 2008 18:32

ข้อ 25
(ลองวาดรูปตามไปด้วยนะครับ)
ให้ $AD = x$
$\frac{1}{3}=\tan A\hat BD =\frac{AD}{AB}=\frac{x}{AB}$
$\therefore AB=3x$

จาก พื้นที่สี่เหลี่ยม $ABCD = 12$
$AD\cdot AB=12$
$x\cdot 3x=12$
$3x^2=12\Rightarrow x=2$
ฉะนั้น $AD=x=2,AB=3x=6$

ใช้ ทบ.ปีทากอรัส (หรือตรีโกณฯ ก็ได้ครับ) จะได้ $BD=2\sqrt{10}$
ถ้าให้ $BD$ และ $AE$ เป็นฐานและส่วนสูงของสามเหลี่ยม $ABD$
จะได้ พ.ท. สามเหลี่ยม$ABD=\frac{1}{2}\cdot BD\cdot AE$
แต่ พ.ท. สามเหลี่ยม $ABD=\frac{1}{2}$ พ.ท. สี่เหลี่ยม $ABCD=6$
$\therefore 6=\frac{1}{2}\cdot 2\sqrt{10}\cdot AE$
$AE=\frac{12}{2\sqrt{10}}=\frac{6}{\sqrt{10}}=\frac{6\sqrt{10}}{10}=\frac{3}{5}\sqrt{10}$

torkub 30 เมษายน 2008 21:28

ข้อ 23 มีวิธีคิดเร็วๆไหมครับ

....... ช่วยตอบข้อ 23 ทีง้าบ

หยินหยาง 30 เมษายน 2008 22:15

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ torkub (ข้อความที่ 30247)
ข้อ 23 มีวิธีคิดเร็วๆไหมครับ

....... ช่วยตอบข้อ 23 ทีง้าบ


จากรูปและเงื่อนไขโจทย์จะได้ว่า
พื้นที่ 1+2+3+4+5+6 = 25.......................(1)
พื้นที่ 1+2+4+5+6+7 = 27.......................(2)
พื้นที่ 2+3+4+5+6+7 = 26.......................(3)
พื้นที่ 1+2+3+4+5+6+7 = 30.......................(4)
พื้นที่ 5 = 7.......................(5)
แต่โจทย์ถาม $(A\cap B)\cup C$ ซึ่งก็คือพื้นที่ 2+4+5+6+7 จากสมการข้างบนนำสมการ (4)-(3)จะได้พื้นที่ 1 แลถ้านำสมการ (4)-(2)จะได้พื้นที่ 3 ต่อจากนั้นก็เอาพื้นที่ 1 และ 3 ไปหักออกจากสมการ (4) ก็จะได้ตำตอบ

Lekkoksung 01 พฤษภาคม 2008 00:32

ข้อสอบโอเนตปีนี้พวกเราทุกๆคนมาช่วยกันแสดงวิธีทำและวิธีคิดของแต่ละคนๆกันดีมั้ยครับ มีเหตุผลก็เพราะว่าบางข้อที่ใครบางคนอาจมองว่าแสนจะง่ายดาย แต่มันอาจจะเป็นภูเขาลูกโตสำหรับใครบางคนก็ได้น่ะครับ และเพื่อที่จะให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาวิธีคิดที่แปลกใหม่ออกไป(ในความคิดของผมมันน่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยน่ะครับ) ผมขอเริ่มข้อที่ $1$ เลยน่ะครับ

$(1)$ $\left( {\frac{{\sqrt 5 }}{{\sqrt 6 }} - \frac{{\sqrt 2 }}{{\sqrt {15} }}} \right)^2$ มีค่าเท่ากับข้อใด
วิธีทำ
$\begin{array}{l}
\left( {\frac{{\sqrt 5 }}{{\sqrt 6 }} - \frac{{\sqrt 2 }}{{\sqrt {15} }}} \right)^2 = \left( {\frac{{\sqrt 5 }}{{\sqrt 6 }}} \right)^2 - 2\left( {\frac{{\sqrt 5 }}{{\sqrt 6 }}} \right)\left( {\frac{{\sqrt 2 }}{{\sqrt {15} }}} \right) + \left( {\frac{{\sqrt 2 }}{{\sqrt {15} }}} \right)^2 \\
{\rm } ~~~~~~~~~~~~~~~~~= \frac{5}{6} - 2\left( {\frac{{\sqrt {10} }}{{\sqrt {90} }}} \right) + \frac{2}{{15}} \\
{\rm } ~~~~~~~~~~~~~~~~~= \frac{5}{6} - 2\left( {\frac{{\sqrt {10} }}{{3\sqrt {10} }}} \right) + \frac{2}{{15}} \\
{\rm } ~~~~~~~~~~~~~~~~~= \frac{5}{6} - \frac{2}{3} + \frac{2}{{15}} \\
\left( {\frac{{\sqrt 5 }}{{\sqrt 6 }} - \frac{{\sqrt 2 }}{{\sqrt {15} }}} \right)^2 {\rm } = \frac{3}{{10}} \\
\end{array}$


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 18:00

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha