Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=1)
-   -   square root and serie (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=919)

passer-by 01 สิงหาคม 2005 04:30

square root and serie
 
มีเรื่องจะ รบกวนถาม 2 ข้อครับ
1. Evaluate
\[ \large \sqrt{1+2\sqrt{1+3\sqrt{1+4\sqrt{...}}}} \]

อยากรู้มานานแล้วครับ ว่าตอบเท่าไหร่ :confused:

2. หาค่าของ
\[\large \frac{ln2}{2}-\frac{ln3}{3}+\frac{ln4}{4}-\frac{ln5}{5}+... \]

ขอบคุณ ล่วงหน้า สำหรับผู้ที่จะมาตอบ ครับ

gon 01 สิงหาคม 2005 05:08

ข้อ 1. นี่เป็นคำถามที่ 289 ใน Journal ของอินเดียครับ. รามานุจัน เป็นคนถาม ถ้าผมจำไม่ผิด เรามีการคุยกัน 2 ครั้งในข้อนี้ ครั้งแรกนานมาแล้ว Top เป็นคนตั้ง ส่วนอีกครั้ง คุณ aaa เป็นคนตั้ง วิธีคิดของแต่ละคนอยู่แถว ๆ นี้ล่ะ เดี๋ยวว่าง ๆ ผมจะลองค้นให้อีกทีถ้ายังไ่ม่มีคนค้นให้ คำตอบ คือ 3 ครับ ;)

warut 01 สิงหาคม 2005 17:53

อ้างอิง:

ข้อความเดิมของคุณ passer-by:
2. หาค่าของ\[\frac{\ln2}{2}-\frac{\ln3}{3}+\frac{\ln4}{4}-\frac{\ln5}{5}+\dots\]
คำตอบคือ\[\gamma\ln2-\frac{(\ln2)^2}{2}=
0.1598689037\dots\]โดยที่ \(\gamma=0.5772156649\dots\) คือ Euler's constant

เห็นคำตอบแล้วคงพอเดากันได้นะครับว่าโจทย์ข้อนี้คงไม่ใช่หมูๆ

passer-by 01 สิงหาคม 2005 18:46

ก่อนอื่น ต้อง ขอบคุณทั้งคุณ gon และคุณ warut สำหรับคำตอบรวดเร็วเพียงชั่วข้ามคืน

ตอนนี้ผมหา link ของข้อ 1 บน webboard เจอแล้วครับ
nested radical

ส่วนข้อ 2 คำตอบนี้ มันมายังไงอ่ะครับ คุณ warut

gon 02 สิงหาคม 2005 03:14

โจทย์แนว ๆ ข้อ 2 คลับคล้ายคลับคลาว่าผมจะเคยเห็นใน The Lost NoteBook ของรามานุจันนะครับ. บางทีอาจจะลองเปิดหาใหู้อีกทีครับ. :)

ตอนนี้ผมกำลังเพิ่งสร้างเทคนิคใหม่สำเร็จ กำลังดีใจอย่างมาก :D "เทคนิคการคำนวณเลขยกกำลังสอง"
คิดอยู่ 2 วันเต็ม ๆ เชื่อหรือไม่ว่าสามารถคำนวณค่าของกำลังสองของเลขหลายหลัก เช่น 87543142 ด้วยมือล้วน ๆ ได้ในเวลาไม่เกิน 1 นาทีได้ เทคนิคนี้ไม่น่าจะปรากฏบนโลกมนุษย์มาก่อน ;) ... ว่าไปโน่น :cool:

warut 02 สิงหาคม 2005 07:45

วิธีทำข้อ 1 ของคุณ aaaa ก็น่าสนใจมากเหมือนกันครับ

ส่วนข้อ 2 นี่เอาไงดีล่ะ ถ้ารอได้เอาไว้ผมว่างจะมาโพสต์วิธีทำให้ละกัน

ป.ล. ดีใจกับคุณ gon ด้วยครับสำหรับการค้นพบเทคนิคการยกกำลังสองแบบใหม่ :)

warut 02 สิงหาคม 2005 19:51

อ้างอิง:

ข้อความเดิมของคุณ passer-by:
2. หาค่าของ\[\frac{\ln2}{2}-\frac{\ln3}{3}+\frac{\ln4}{4}-\frac{\ln5}{5}+\cdots\]
ให้\[a_n= \frac{(\ln n)^2}{2}-\sum_{k=2}^n\frac{\ln k}{k}\,, \quad n=4,5,6,\dots\]เราจะแสดงว่า \(\lim_{n\to\infty}a_n\) หาค่าได้ โดยเริ่มจากการสังเกตว่า\[\frac{d}{dx}\left(\frac{\ln x}{x}\right)= \frac{1-\ln x}{x^2}\,<\,0\quad\text{เมื่อ}\quad x\ge3\]ดังนั้น \(\frac{\ln x}{x}\) จึงเป็น strictly decreasing function เมื่อ \(x\ge3\) ซึ่งนั่นทำให้เรารู้ว่า\[\int_3^4\frac{\ln x}{x}\,dx \quad<\quad\frac{\ln3}{3}\]\[\int_4^5\frac{\ln x}{x}\,dx \quad <\quad\frac{\ln4}{4}\]\[\vdots\]\[\int_{n-1}^n\frac{\ln x}{x}\,dx \quad<\quad\frac{\ln(n-1)}{n-1}\]จับทั้งหมดบวกกันจะได้\[\int_3^n\frac{\ln x}{x}\,dx= \frac{(\ln n)^2}{2}-\frac{(\ln3)^2}{2}\quad<\quad \sum_{k=3}^{n-1}\frac{\ln k}{k}\]เราจึงได้ว่า\[a_n=\frac{(\ln n)^2}{2}-\sum_{k=2}^n\frac{\ln k}{k}\,<\,\frac{(\ln3)^2}{2}-\frac{\ln2}{2}-\frac{\ln n}{n}\,<\, \frac{(\ln3)^2}{2}-\frac{\ln2}{2}\]ดังนั้น \(\{a_n\}\) จึงเป็นลำดับที่มี upper bound

จากที่ \(\frac{\ln x}{x}\) เป็น strictly decreasing function เมื่อ \(x\ge3\) ดังนั้น\[\frac{\ln(n+1)}{n+1}\quad<\quad \int_n^{n+1}\frac{\ln x}{x}\,dx=\frac{\left(\ln(n+1)\right)^2}{2}-
\frac{(\ln n)^2}{2}\,,\quad n\ge3\]เราจึงได้ว่า\[a_{n+1}-a_n=\frac{\left(\ln(n+1)\right)^2}{2}-\frac{(\ln n)^2}{2}-\frac{\ln(n+1)}{n+1}\,>\, 0\]นั่นคือ \(\{a_n\}\) เป็น strictly increasing sequence

เนื่องจาก \(\{a_n\}\) เป็น increasing sequence ที่มี upper bound ดังนั้น \(\lim_{n\to\infty}a_n\) หาค่าได้ เราจึงได้ว่า\[\lim_{n\to\infty}a_{2n}-a_n= 0\]ต่อไปก็เป็นการหาค่าผลบวกของอนุกรมเสียที\[\sum_{k=2}^{2n}(-1)^k\frac{\ln k}{k}= \frac{\ln2}{2}-\frac{\ln3}{3}+\frac{\ln4}{4}-\cdots+ \frac{\ln(2n)}{2n}\]\[=\left(\frac{\ln2}{1}+\frac{\ln4}{2}+\frac{\ln6}{3} +\cdots+\frac{\ln(2n)}{n}\right)-\left(\frac{\ln2}{2}+\frac{\ln3}{3}+\frac{\ln4}{4}+ \cdots+\frac{\ln(2n)}{2n}\right)\]\[= \left(\frac{\ln2+\ln1}{1}+\frac{\ln2+\ln2}{2}+\frac{\ln2+\ln3}{3}+\cdots+\frac{\ln2+\ln n}{n}\right)- \sum_{k=2}^{2n}\frac{\ln k}{k}\]\[= \ln2\left(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+\cdots+\frac{1}{n}\right)+\sum_{k=2}^{n}\frac{\ln k}{k}- \sum_{k=2}^{2n}\frac{\ln k}{k}\]\[= \ln2\left(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+\cdots+\frac{1}{n}\right)+\left(\frac{(\ln n)^2}{2}-a_n\right)- \left(\frac{(\ln(2n))^2}{2}-a_{2n}\right)\]\[=\ln2\left(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+\cdots+\frac{1}{n}-\ln n\right)-\frac{(\ln2)^2}{2}+ (a_{2n}-a_n)\]ให้ \(n\to\infty\) เราจะได้คำตอบออกมาคือ\[\sum_{k=2}^{\infty}(-1)^k\frac{\ln k}{k}= \gamma\ln2-\frac{(\ln2)^2}{2}\]โดยที่ \(\gamma=0.5772156649 \dots\) คือ Euler Constant

หมายเหตุ\[\lim_{n\to\infty}a_n= -\gamma_1=0.0728158454836767\dots\]และเราเรียก \(\gamma_1\) ว่า First Stieltjes Constant ครับ :)

gon 03 สิงหาคม 2005 02:11

โหยาวมากเลยครับ. เดี๋ยวผมจะหาเวลาศึกษาดูบ้าง :)

passer-by 03 สิงหาคม 2005 05:03

สังเกตมาหลายครั้งแล้วว่า คุณ warut ใช้ integrate มาช่วยคลี่คลาย series โหดๆทั้งหลาย ให้ดู soft ลงไปเยอะเลยครับ
ขอบคุณ คุณ warut มากๆสำหรับวิธีทำ ;)

prachya 03 สิงหาคม 2005 19:30

ดีใจด้วยครับกับคุณ gon ว่าแต่ถ้าคิดเทคนิคได้สมบูรณ์ อย่าลืมบอกกันบ้างนะคับ อิอิ


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 22:12

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha