Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ทฤษฎีจำนวน (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=19)
-   -   ผลบวกของ กำลังสาม สามจำนวน (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=2378)

thee 29 มีนาคม 2007 12:24

ผลบวกของ กำลังสาม สามจำนวน
 
ผลบวกของกำลังสามของเลขโดดสามจำนวนเท่ากับจำนวนเลขสามหลักที่เลขโดดสามตัวนั้นเรียงกันดังตัวอย่าง $1^3 + 5^3 + 3^3 = 153 $ จงหาเลขสามหลักที่มีสมบัติดังกล่าวทั้งหมด

ไม่ทราบว่าพอจะมีวิธีแก้โจทย์ข้อนี้ยังไงบ้างอะครับ ผมคิดไม่ออกเลยว่าจะแก้ยังไงอะครับ

nongtum 29 มีนาคม 2007 16:49

สมมติให้ $abc_{10}$ เป็นจำนวนที่เราหา เมื่อ $a,b,c$ เป็นเลขโดด ดังนั้น $a^3+b^3+c^3=100a+10b+c$
สังเกตว่า $10|a^3+b^3+c^3-c$ เราจะแจงกรณีตาม $c$ (เลขหลักหน่วย) ดังนี้

กรณีแรก $10|c^3-c$ ดังนั้น $c=0,1,4,5,6,9$
เพราะ $10|a^3+b^3$ ดังนั้น $(a,b)\in\{(0,0),(1,9),(2,8),\dots,(9,1)\}$
ซึ่งตรวจสอบได้ง่ายๆว่ามี 1, 370, 371 เท่านั้นที่สอดคล้องเงื่อนไข

กรณีหลัง $10\not|c^3-c$ จะแจงได้อีกสองกรณีย่อยดังนี้

- เมื่อ $c=2,7$ จะได้ $c^3-c\equiv6\pmod{10},\ a^3+b^3\equiv4\pmod{10}$
ดังนั้น $(a,b)\in\{(0,4),(1,7),(8,8),(7,1),(4,0),(5,9),(6,2),(3,3),(2,6),(9,5)\}$
ซึ่งตรวจสอบได้ง่ายๆว่ามี 407 เท่านั้นที่สอดคล้องเงื่อนไข

- เมื่อ $c=3,8$ จะได้ $c^3-c\equiv4\pmod{10},\ a^3+b^3\equiv6\pmod{10}$
ซึ่งตรวจสอบได้ง่ายๆว่ามี 153 เท่านั้นที่สอดคล้องเงื่อนไข

เลขสามหลักที่สอดคล้องเงื่อนไขจึงมีสี่ตัว คือ 153,370,371,407 :kiki:

หมายเหตุ: สำหรับคนที่อ่านไม่เข้าใจ ที่พิมพ์ด้านบนคือการดูเลขท้ายแล้วแจงกรณีครับ

thee 30 มีนาคม 2007 15:54

ขอบคุณมากครับ แต่ทฤษฏีจำนวนผมยังไม่เคยเรียนเลยอะครับ พอจะแนะนำหนังสือที่อ่านแล้วเข้าใจได้หรือเปล่าครับ

nongtum 30 มีนาคม 2007 16:56

ผมอ่านมาหลายเล่มมากจนไม่รู้จะแนะนำเล่มไหนครับ อีกอย่างผมเข้าใจว่ามีช่วงสี่ห้าปีก่อน ในระดับม.4 เปิดสอนทฤษฏีจำนวนเบื้องต้น หากลองไปหาตามร้่านหนังสือ อาจยังพอมีหนังสือภาษาไทยที่เขียนสำหรับนักเรียนม.ปลาย ที่อ่านแล้วเข้าใจได้ไม่ยากครับ ลองไปเปิดๆดูก่อนซื้อก็ไม่น่าเสียหายอะไร

ผมเองก็เพิ่งมารู้จักสมภาคตอนม.4 ตอนนั่งไล่ทำโจทย์ในคู่มือเล่มหนึ่งเองน่ะครับ ที่เหลือก็ค่อยๆสั่งสมไป

warut 18 เมษายน 2007 05:48

เพิ่มเติมให้นิดนึงครับ
 
ถ้าจำนวนนับ $a$ เขียนในรูปฐานสิบได้เป็น $a=d_1d_2\dots d_n$ และ $$a= d_1^n + d_2^n + \dots + d_n^n$$ แล้วเราจะเรียก $a$ ว่าเป็น narcissistic number หรือ Armstrong number ครับ

จำนวนของ narcissistic number มีอยู่จำกัด (พิสูจน์ได้ง่ายๆ ลองดูนะครับ) และตัวที่ใหญ่ที่สุดคือ

115132219018763992565095597973971522401

warut 18 เมษายน 2007 06:06

เอ๋... คุณ nongtum ขาด $407=4^3+0^3+7^3$ ไปนี่ครับ แต่ผมยังไม่ได้หาดููนะครับว่า ที่ผิดอยู่ตรงไหน

nongtum 18 เมษายน 2007 15:33

ขออภัยครับ ผมแจงกรณีหลังผิดไปนิดนึง แก้เรียบร้อยแล้วครับ


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 20:12

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha