Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ข้อสอบในโรงเรียน ม.ต้น (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=32)
-   -   IWYMIC 2000 (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=19775)

Thamma 23 สิงหาคม 2013 15:57

IWYMIC 2000
 
1 ไฟล์และเอกสาร
กรุณาแนะนำวิธีพิสูจน์ข้อนี้ให้ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

gon 25 สิงหาคม 2013 11:46

แบบหยาบ ๆ ก่อนนะครับ ผมยังไม่ได้มองหาทางสวย ๆ แบบอื่น :haha:

แบบนี้จะผสมผสานเรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic geometry) กับ ตรีโกณมิติ(หรือรูปสามเหลี่ยมคล้าย)

แบบรูปสามเหลี่ยมคล้ายล้วน ๆ ผมลองคิดดูแล้วมันยังไม่สวยเท่าไรครับ.


Thamma 20 กุมภาพันธ์ 2014 13:25

1 ไฟล์และเอกสาร
Individual, Section B, # 3 เฉลย 10,800

10,800 น่าจะเป็นผลบวกที่มากที่สุดของจำนวน a+b+c

แต่โจทย์ถาม ผลบวกของเลขโดดที่มากที่สุดของ a+b+c
ลองคิดดูแล้วได้ 18 แต่ไม่แน่ใจว่าจะถูกหรือไม่

ช่วยตรวจให้ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

:)

FedEx 21 กุมภาพันธ์ 2014 09:00

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Thamma (ข้อความที่ 168714)
Individual, Section B, # 3 เฉลย 10,800

10,800 น่าจะเป็นผลบวกที่มากที่สุดของจำนวน a+b+c

แต่โจทย์ถาม ผลบวกของเลขโดดที่มากที่สุดของ a+b+c
ลองคิดดูแล้วได้ 18 แต่ไม่แน่ใจว่าจะถูกหรือไม่

ช่วยตรวจให้ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

:)

รอคุณ Thamma เฉลยอยู่ ยังคิดไม่ได้เท่าคุณ Thamma เลยครับ

Thgx0312555 22 กุมภาพันธ์ 2014 01:38

มาลองพิสูจน์ดูครับ

ให้ $S(x)$ แทนผลบวกของหลักของ $x$
ให้ $2 \ | \ x$

ก่อนอื่นจะพิสูจน์เอกลักษณ์ $S(\dfrac{x}{2})=\dfrac{S(x)-O(x)}{2}+5O(x)$ เมื่อ $O(x)$ เป็นจำนวนหลักที่เป็นคี่ของ $x$

ให้ $x=\overline{x_1x_2...x_n}=\overline{y_1y_2...y_n}+\overline{z_1z_2...z_n}$

$y_i$ เป็นจำนวนคู่ที่มากที่สุดที่ไม่เกิน $x_i$
$z_i = x_i \pmod 2$

เช่น $6125432=6024422+101010$

จะได้
$\dfrac{x}{2} = \overline{\dfrac{y_1}{2}\dfrac{y_2}{2}...\dfrac{y_n}{2}}+\overline{(5z_1)(5z_2)...(5z_{n-1})}$
เช่น $3062716=3012211+50505$

$\dfrac{x}{2} = \overline{\dfrac{y_1}{2}(\dfrac{y_2}{2}+5z_1)...(\dfrac{y_n}{2}+5z_{n-1})}$
ไม่มีหลักใดต้องทด

$S(\dfrac{x}{2})=\dfrac{y_1}{2}+\dfrac{y_2}{2}+\cdots+\dfrac{y_n}{2}+5z_1+5z_2+\cdots+5z_{n-1}$
จะได้ว่า $S(\dfrac{x}{2})=\dfrac{S(x)-O(x)}{2}+5O(x)$ เมื่อ $O(x)$ เป็นจำนวนหลักที่เป็นคี่ของ $x$

พิสูจน์ไม่ยากว่า $S(2(a+b+c)) =9$
$S(a+b+c)=\dfrac{S(2(a+b+c)))-O(2(a+b+c))}{2}+5O(2(a+b+c))$

มีหลักเป็นจำนวนคี่ใน $2(a+b+c)$ ได้ 1 หรือ 3 หลัก (เพราะผลบวกทุกหลักได้ 9)
แทนค่า $S(2(a+b+c)) =9, O(2(a+b+c))=1,3$ จะได้ $S(a+b+c)=9,18$

ดังนั้น $S(a+b+c) \le 18$

Thgx0312555 22 กุมภาพันธ์ 2014 13:31

$a \ | \ b$ แทน $b$ หารด้วย $a$ ลงตัวครับ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วไป
$ m \pmod n$ คือเศษที่เกิดจาก $m$ หารด้วย $n$
$a \equiv b \pmod n$ คือ $a$ และ $b$ หารด้วย $n$ เหลือเศษเท่ากัน

ผลบวกจำนวนหลัก อันนั้นผมพิมพ์ผิดครับ ก็คือผลบวกเลขโดดน่ะแหละครับ

ในบทพิสูจน์ผมไม่ได้เขียนอธิบายเท่าไร (เพราะยาวแล้ว) เดี๋ยวมาอธิบายตรงนี้ครับ
ในจำนวนคู่ใดๆ เราสามารถเขียนในรูปผลบวกของสองจำนวน

เช่น $3233472=2222462+1011010$
เมื่อเขียนในรูปนี้ก็จะหารด้วย 2 ได้สะดวกขึ้น

หารด้วย 2 ทั้งสมการจะได้ $1111231+505505$
สังเกตว่าสำหรับ 505505 หลักจะลดไปหนึ่งหลักจาก 1011010
พอนำมาบวกกันหลักซ้ายสุดก็จะเหลือ $y_1$ เพียงตัวเดียวครับ
1111231
+505505
ดังนี้ (สังเกตด้วยว่าจะไม่เกิดการทดขึ้น)

Amankris 01 มีนาคม 2014 16:25

โจทย์เรขา ข้อแรก ใช้ excenter จะง่ายครับ

Thamma 04 มีนาคม 2014 22:43

Individual, section B, # 1
 
1 ไฟล์และเอกสาร

Thamma 04 มีนาคม 2014 23:05

1 ไฟล์และเอกสาร
( ต่อ )


computer 06 เมษายน 2015 08:23

1 ไฟล์และเอกสาร
ข้อ 2 section B
Attachment 17568
รบกวนขอวิธีคิดด้วยค่ะ :please:

Thamma 06 เมษายน 2015 23:18

เคยคิดข้อนี้เมื่อนานมาแล้ว ลองดูว่าใช้ได้ไหม :)


computer 07 เมษายน 2015 20:20

ขอบคุณมากค่ะ :please:


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 07:31

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha