Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ฟรีสไตล์ (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=6)
-   -   Chemistry (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=12999)

Influenza_Mathematics 03 กุมภาพันธ์ 2011 23:47

Chemistry
 
$Na_2SO_4$ จำนวน $0.4 mol/dm^3$ จะมีกี่ $cm^3$ จึงจะมีจำนวน $Na^+$ เท่ากับ $Na^+$ ใน $NaCl$ จำนวน $0.2 mol/dm^3$ จำนวน $300$ $cm^3$

yellow 04 กุมภาพันธ์ 2011 00:22

$NaCl$ เข้มข้น $0.2 mol/dm^3$ จำนวน $300 cm^3$ มี $Na^+ = 0.2 x \frac{300}{1000} x 23 = 1.38 g$

$Na2SO4$ เข้มข้น $0.4 mol/dm^3$ จำนวน $1000 cm^3$ มี $Na^+ = 0.4 x 2 x 23 = 18.4 g$

ต้องใช้ $Na2SO4$ เข้มข้น $0.4 mol/dm^3$ จำนวน $ \frac{1.38}{18.4} x 1000 = 75 cm^3$

Influenza_Mathematics 16 กุมภาพันธ์ 2011 23:58

1. $$Pb(NO_3)_2 \rightarrow PbO + NO_2 + O_2$$
$$NO_2 + KI \rightarrow K_2O + NO + I_2$$

จากสมการจะต้องเผา $Pb(NO_3)_2 $ กี่กรัมจึงจะได้ $I_2$ เท่ากับ $1.21 * 10^{22}$ โมเลกุล (Pb = 207 , N=14 , O=16 , I=127)

yellow 17 กุมภาพันธ์ 2011 01:01

Balance สมการ

$Pb(NO_3)_2 \rightarrow PbO + 2NO_2 + \frac{1}{2} O_2$

$2NO_2 + 4KI \rightarrow 2K_2O + 2NO + 2I_2$

จากสมการจะเห็นว่า $I_2$ 2 mol ได้จากการเผา $Pb(NO_3)_2$ 1 mol (เมื่อให้ KI เหลือเฟือ)

ดังนั้น $I_2 = \frac{1.21x10^{22}}{6.02x10^{23}} $ mol ได้จากการเผา $Pb(NO_3)_2 = \frac{1.21x10^{22}}{2x6.02x10^{23}}$ mol

คิดเป็นมวล = $\frac{1.21x10^{22}}{2x6.02x10^{23}} x (207+2(14+16x3))$ = 3.33 g

Influenza_Mathematics 21 มีนาคม 2011 20:17

Plz.
ถ้าท่านมีแก๊สผสมของธาตุ $X_9^{19} , Y_7^{14} , Z_{10}^{20}$ เมื่ออัดแก๊สผสมนี้แล้วปล่อยให้้ผ่านรูเล็กๆ แก๊สของธาตุดังกล่าวควรจะแพร่ด้วยอัตราเร็วจากมากไปน้อยตามลำดับดังนี้ ... :please:

NNA-MATH 21 มีนาคม 2011 20:28

$v\propto \frac{1}{\sqrt{M} }$ โดย M คือ มวลโมเลกุล v คือ อัตราเร็วในการแพร่ของแก๊สครับ

yellow 21 มีนาคม 2011 20:34

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Influenza_Mathematics (ข้อความที่ 113325)
Plz.
ถ้าท่านมีแก๊สผสมของธาตุ $X_9^{19} , Y_7^{14} , Z_{10}^{20}$ เมื่ออัดแก๊สผสมนี้แล้วปล่อยให้้ผ่านรูเล็กๆ แก๊สของธาตุดังกล่าวควรจะแพร่ด้วยอัตราเร็วจากมากไปน้อยตามลำดับดังนี้ ... :please:

อัตราการแพร่ของแก๊สแปรผกผันกับมวลโมเลกุลครับ

$R \alpha \frac{1}{\sqrt{M} } $

$\frac{R_A}{R_B}=\sqrt{\frac{M_B}{M_A} }$

X มีการจัดเรียงอะตอม 2,7 อยู่หมู่ 7 โมเลกุลอยู่ในรูป $X-X = X_2$

Y มีการจัดเรียงอะตอม 2,5 อยู่หมู่ 5 โมเลกุลอยู่ในรูป $ Y \equiv Y = Y_2$

Z มีการจัดเรียงอะตอม 2,8 อยู่หมู่ 8 เป็น Inert Gas โมเลกุลอยู่ในรูป Z

มวลโมเลกุล $X_2>Y_2>Z$ ดังนั้นอัตราการแพร่เป็น $Z>Y>X$

Influenza_Mathematics 23 มีนาคม 2011 12:42

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ yellow (ข้อความที่ 113330)
อัตราการแพร่ของแก๊สแปรผกผันกับมวลโมเลกุลครับ

$R \alpha \frac{1}{\sqrt{M} } $

$\frac{R_A}{R_B}=\sqrt{\frac{M_B}{M_A} }$

X มีการจัดเรียงอะตอม 2,7 อยู่หมู่ 7 โมเลกุลอยู่ในรูป $X-X = X_2$

Y มีการจัดเรียงอะตอม 2,5 อยู่หมู่ 5 โมเลกุลอยู่ในรูป $ Y \equiv Y = Y_2$

Z มีการจัดเรียงอะตอม 2,8 อยู่หมู่ 8 เป็น Inert Gas โมเลกุลอยู่ในรูป Z

มวลโมเลกุล $X_2>Y_2>Z$ ดังนั้นอัตราการแพร่เป็น $Z>Y>X$

thx. ครับ

สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร A และ สาร B ในอัตราส่วน 1:3 โดยมวลถ้า สาร A มี Bp 85 องศาเซลเซียส , สาร B มี Bp 120 องศาเซลเซียส สารละลายนี้มีจุดเดือดเท่าใด

yellow 23 มีนาคม 2011 19:49

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Influenza_Mathematics (ข้อความที่ 113483)

สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร A และ สาร B ในอัตราส่วน 1:3 โดยมวลถ้า สาร A มี Bp 85 องศาเซลเซียส , สาร B มี Bp 120 องศาเซลเซียส สารละลายนี้มีจุดเดือดเท่าใด


ไม่มีค่า $K_b$ ให้เหรอครับ

Influenza_Mathematics 23 มีนาคม 2011 19:58

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ yellow (ข้อความที่ 113505)
ไม่มีค่า $K_b$ ให้เหรอครับ

ไม่มีอ่าครับ โจทย์กำหนดเท่านี้ :)

yellow 23 มีนาคม 2011 22:13

เป็นข้อสอบ Entrance 41


2. สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร A และสาร B ในอัตราส่วน 1 ต่อ 3 โดยมวลถ้า A มีจุดเดือด
85 C สาร B มีจุดเดือด 120 C สารละลายนี้ควรมีจุดเดือดเป็นกี่องศาเซลเซียส

1. 80
2. 90
3. 118
4. 126


เพราะสารละลายมี B เป็นตัวทำละลาย จุดเดือดของสารละลายจะสูงกว่าจุดเดือดของตัวทำละลายบริสุทธิ์

สาร B มีจุดเดือด = 120 C

จุดเดือดของสารละลายจะต้องมากกว่า 120 C ตอบ ข้อ 4



สูตรคำนวณเป็นแบบนี้คือ

$T_b (solution) = T_b (solvent) + \Delta T_b$

$\Delta T_b = K_b x molality (solution)$

MirRor 24 มีนาคม 2011 12:53

ใช่สมบัติ คอนลิเกทีฟเปล่าครับ
ผมเห็นหนังสือบางเล่มเฉลย ข้อ 3 อ่ะ - -"
เขาบอกว่า จุดเดือดของสารละลายจะสูงกว่าจุดเดือดของสารละลาย A คือสูงกว่า 85 แต่จะต่ำกว่า B คือต่ำกว่า 120 เนื่องจาก สลล มีสาร B
มากกว่า A มาก จุดเดือดของ สลล จึงต้องใกล้เคียง 120 จึงตอบ 118

แต่ผมอ่านไปอ่านมามันก็ขำๆอยู่นะ เพราะถ้าใช้สมบัติคอลลิเกทีฟผมก็ว่าน่าจะตอบ ข้อ 4 มากกว่า
งง กับหนังสือ - -"

Influenza_Mathematics 25 มีนาคม 2011 19:57

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ yellow (ข้อความที่ 113515)
เป็นข้อสอบ Entrance 41


2. สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร A และสาร B ในอัตราส่วน 1 ต่อ 3 โดยมวลถ้า A มีจุดเดือด
85 C สาร B มีจุดเดือด 120 C สารละลายนี้ควรมีจุดเดือดเป็นกี่องศาเซลเซียส

1. 80
2. 90
3. 118
4. 126


เพราะสารละลายมี B เป็นตัวทำละลาย จุดเดือดของสารละลายจะสูงกว่าจุดเดือดของตัวทำละลายบริสุทธิ์

สาร B มีจุดเดือด = 120 C

จุดเดือดของสารละลายจะต้องมากกว่า 120 C ตอบ ข้อ 4



สูตรคำนวณเป็นแบบนี้คือ

$T_b (solution) = T_b (solvent) + \Delta T_b$

$\Delta T_b = K_b x molality (solution)$

ขอบคุณครับ ถามเพิ่มหน่อยครับ อัตราส่วนที่ให้มาในโจทย์ จะเท่าไรก็ได้ แต่ยังไง คำตอบก็ต้อง fix ว่ามากกว่า 120 ใช่ปะครับ

yellow 25 มีนาคม 2011 20:06

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Influenza_Mathematics (ข้อความที่ 113670)
ขอบคุณครับ ถามเพิ่มหน่อยครับ อัตราส่วนที่ให้มาในโจทย์ จะเท่าไรก็ได้ แต่ยังไง คำตอบก็ต้อง fix ว่ามากกว่า 120 ใช่ปะครับ


ใช่ครับ เป็นสมบัติคอลลิเกทิฟ

$T_b (Solution) > T_b (Solvent)$

$T_f (Solution) < T_f (Solvent)$

Influenza_Mathematics 02 เมษายน 2011 20:12

สารประกอบชนิดหนึ่งประกอบด้วยธาตุ 3 ชนิด คือ C,H,O เมื่อนำสารประกอบนี้ 1 g มาเผากับ $O_2$ ที่เกินพอแ้ล้วปล่อยให้แก๊สที่เกิดขึ้นทั้งหมดผ่าน $CaCl_2$ ที่อบแห้งแล้วหนัก 20 g และสารละลาย $Ca(OH)_2$ อิ่มตัวหนัก 500 g ตามลำดับ เมื่อปฎิกิริยาเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ปรากฎว่า $CaCl_2$ มีมวล 20.46 g และ สารละลาย $Ca(OH)_2$ อิ่มตัวมีมวลเป็น 501.49 g จงหามวลสูตรอย่างง่ายของสารประกอบนี้ :please:


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 10:06

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha