Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ข่าวคราวแวดวง ม.ปลาย (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=22)
-   -   ระบบแอดมิชชั่นส์ ปี 2553 กับ การสอบ GAT และ PAT (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=4712)

sck 09 มิถุนายน 2008 13:16

ระบบแอดมิชชั่นส์ ปี 2553 กับ การสอบ GAT และ PAT
 
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กำหนดจัดสอบ GAT (General Aptitude Test) และ PAT (Professional Aptitude Test) จำนวน 3 PAT คือ PAT 1, PAT 2 และ PAT 3 ให้กับนักเรียนที่กำลังเรียนชั้น ม.5 ขึ้นไป เป็นครั้งแรก ประมาณกลางเดือน มกราคม 2552

การสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดองค์ประกอบและค่าน้ำหนักในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยระบบกลางหรือแอดมิชชั่นส์ ปี 2553 ซึ่งประกอบด้วย

1. คะแนนเฉลี่ยสะสม ม.ปลาย (GPAX) 20%

2. คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 30%

3. คะแนนแบบทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) 10-50%

4. คะแนนแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพหรือวิชาการ (PAT) 0-40%

และได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ GAT และ PAT พร้อมค่าน้ำหนักในแต่ละกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้


มารู้จัก GAT
รายละเอียดเกี่ยวกับ GAT
1. ด้านที่วัด
- การอ่านเชิงวิเคราะห์ การเขียนเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงวิเคราะห์ และการแก้โจทย์ปัญหา 50%
- การสื่อสารทางภาษาอังกฤษ 50%

2. ลักษณะข้อสอบ
- ข้อสอบปรนัยและอัตนัย คะแนนเต็ม 300 คะแนน
- ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง

3. ผู้เข้าสอบ
- เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป นักเรียนต้องสมัครสอบด้วยตนเอง

4. การจัดสอบ
- ปีละ 3 ครั้ง ประมาณเดือนมกราคม พฤษภาคม ธันวาคม (กำหนดเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
- คะแนนของการสอบแต่ละครั้งมีอายุความ 2 ปี (นับจากวันสอบ

มารู้จัก PAT
รายละเอียดเกี่ยวกับ PAT
1. ด้านที่วัด
- เป็นการวัดเนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานของการเรียนต่อร่วมกันการวัดศักยภาพในแต่ละวิชาชีพ มีทั้งสิ้น 7 PAT ดังนี้

PAT 1
วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์

1.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonometry, Calculus ฯลฯ
1.2 ศักยภาพ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills

PAT 2
วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์

2.1 เนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ
2.2 ศักยภาพ เช่น Perceptual Ability, Calculation skills, Sciences Reading Ability, Science Problem Solving Ability ฯลฯ

PAT 3
วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์

3.1 เนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Engineering Mathematics, Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ
3.2 ศักยภาพ Space Relations, Multidimensional, Perceptual Ability, Calculation Skills,Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability

PAT 4
วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

4.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Architectural Math and Science
4.2 ศักยภาพ Space Relations, Multidimensional, Perceptual Ability,
Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ

PAT 5
วัดศักยภาพทางครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์

5.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่นความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
5.2 ศักยภาพ ครุศึกษา (Pedagogy) ทักษะการอ่าน (Reading Skills) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย, การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ

PAT 6
วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์

6.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น
- ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์)
- ความรู้ทั่วไปทางศิลป์
6.2 ศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

PAT 7
วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่ 2 (ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน บาลี และอาหรับ)

7.1 เนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions
7.2 ศักยภาพ Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills

2. ลักษณะข้อสอบ
- ข้อสอบปรนัยและอัตนัย คะแนนเต็ม 300 คะแนน
- ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง

3. ผู้เข้าสอบ
- เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป นักเรียนต้องสมัครสอบด้วยตนเอง

4. การจัดสอบ
- ปีละ 3 ครั้ง ประมาณเดือนมกราคม พฤษภาคม ธันวาคม
- นักเรียนจะสมัครสอบกี่ครั้งก็ได้ เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด
- คะแนนของการสอบแต่ละครั้งมีอายุความ 2 ปี (นับจากวันสอบ)




ถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถานที่ติดต่อ : เลขที่ 128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0-2219-2991-5 โทรสาร : 0-2219-2996 Call Center : 02-975-5599 อีเมล์ : webmaster@niets.or.th เว็บไซต์ : www.niets.or.th

ที่มา : เวป eduzones เด็กดี และเวปอื่นๆ

ต่อไปเด็กไทยเราจะเป็นไงนี่ แค่อ่านวิธีสอบก็มึนซะแล้ว
สอบได้ไงคนละตั้ง 6 ครั้ง และ ทั้งหมดกี่วิชากี่อย่างนี่ :wacko:

cadetnakhonnayok.com 09 มิถุนายน 2008 21:43

แสดงว่า เด็ก ม.5 ปี 2551 จะได้สอบสูงสุด 4 ครั้งทั้ง GATและPAT

หยินหยาง 09 มิถุนายน 2008 23:44

อ่านกระทู้นี้แล้วทำให้เกิดความหดหู่กับการศึกษาของบ้านเรายังไงก็ไม่รู้ แถมพ่วงด้วยข้อสงสัยอีกหลายอย่าง จริงๆ ว่า ทำไมต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย จากระบบ entrance มาเป็น admission (o-net, a-net) แล้วมาเป็น admission แบบใหม่ซึ่งใช้ GAT และ PAT ผมไม่เข้าใจว่าแต่ละครั้งที่เปลี่ยนแปลงนั้นเพราะของเดิมไม่ดีหรือ:confused: หรือด้วยเหตุผลอย่างไร แต่ที่รู้ก็คือตัวนักเรียนสับสนน่าดู ผมไม่รู้ว่าคนอื่นๆ เป็นกันหรือเปล่า และระบบใหม่ก็ออกมาอีก ซึ่งก็ไม่รู้อีกว่าเนื้อหาที่ใช้สอบ GAT หรือ PAT มีเนื้อหาอย่างไร ? ต้องดูหนังสือของใครเป็นต้นแบบ ? ซึ่งก็แปลกดีเหมือนกันกำหนดวันสอบกันออกมาแล้ว แต่เนื้อหาสาระที่จับต้องได้ยังไม่รู้ แต่ถ้ามีออกมาแล้วก็แสดงว่าการประชาสัมพันธ์น่าจะมีการทบทวนดูนะเพราะเท่าที่ถามๆกันก็ไม่มีใครรู้ และหลักสูตรเดิมที่มีการสอบ a-net นั้น โดยอ้างอิงว่าใช้หนังสือของสาระเพิ่มเติมนั้น (ส่วน o-net ใช้พื้นฐาน) จะต้องใช้สอบมั้ย:confused: มีเรื่องที่ต้องขบคิดเหมือนกันว่า นโยบายของกระทรวงไม่ต้องการให้เด็กเรียนหนัก แต่ก็งงเหมือนกัน ให้สอบ o-net ถึง 8 กลุ่มสาระแถมยังต้องมาสอบ GATกับ PAT อีก ถ้าอธิบายว่าการสอบ GATกับ PAT นั้นเพื่อวัดแวดเด็กว่ามีความพร้อมที่จะเรียนสาขาที่จะเข้าหรือเปล่า ถ้าอย่างนั้นเวลาขึ้น ม.4 จะแบ่งไปทำไมให้เรียนสายวิทย์ หรือสายศิลป์ ถ้าอย่างนั้นน่าจะมีสายเดียวนะ คือ สายกลาง เพราะก็ต้องสอบถึง 8 กลุ่มสาระอยู่แล้ว:mad:
อีกอย่างการให้มีการจัดสอบถึงปีละ 3 ครั้ง ดูเหมือนจะดีคือให้เด็กมีการแก้ตัว แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งก็ต้องระวังด้วยเหมือนกันคือ เด็กก็จะไปเรียนพิเศษกันยกใหญ่ตั้งแต่ ม.4 เพื่อเตรียมสอบใน ม.5 ไม่รอ ม.6 หรอกครับ ก็แสดงว่าเด็กต้องพยายามค้นขวายหรือหาความรู้เพื่อใ้ช้ในการสอบ (เด็กจะโตก่อนวัยมั้ยครับในการศึกษา) และนี่ก็อีกประเด็นหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าจะสวนทางกับนโยบายที่ว่าจะไม่ให้เด็กเครียด และเด็กไม่จำเป็นต้องเรียนพิเศษ จะจริงหรือ ? จริงๆ ผมยังมีอีกหลายประเด็นที่คิดว่าน่านำมาขบคิดกันแต่พอดีกว่าครับยิ่งเห็นข่าววันนี้ที่เด็กนิสิต โดดตึกตายเพราะความเครียด หวังว่าอย่าเครียดกันนะครับ หัวเราะกันเข้าไว้:haha::haha::haha:

t.B. 10 มิถุนายน 2008 00:40

(ขอนอกเรื่อง):ohmy:พูดถึงข่าว กระโดดตึก ข่าวลงมั่วมาก นิสิตที่โดดไม่ได้เครียดจากการเรียนซะหน่อย สังเกตว่าพึ่งเปิดเทอมแค่ไม่กี่อาทิตย์อะไรจะมาเครียดตอนนี้ อีกอย่างคนที่เรียนจุฬาคณะเดียวกันก็น่าจะรู้ว่าเกรดเค้าเกียรตินิยมอันดับ1 ด้วยซ้ำ :eek:

RoSe-JoKer 10 มิถุนายน 2008 07:14

ผมไม่ค่อยชอบเลยครับที่กลุ่มวิศวะกรรมศาสตร์ไม่มี P1 .....

sck 19 มิถุนายน 2009 11:35

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ RoSe-JoKer (ข้อความที่ 34177)
ผมไม่ค่อยชอบเลยครับที่กลุ่มวิศวะกรรมศาสตร์ไม่มี P1 .....

ปีต่อๆไปคงมีละครับ ปีแรกเขามั่วๆกันไปหมด คิดได้ไงไม่รู้เข้าวิศวะ ไม่ต้องใช้เลข :eek:


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 21:47

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha