Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   คณิตศาสตร์อุดมศึกษา (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=2)
-   -   เรื่องเซต พิสูจน์ไม่ออกเลยครับ (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=4813)

love kmitl 16 มิถุนายน 2008 00:03

เรื่องเซต พิสูจน์ไม่ออกเลยครับ
 
รบกวนพี่ช่วยพิสูจน์ให้ทีครับไม่ค่อยเข้าใจเลยว่าจะเริ่มแบบไหนดีครับ
1.จงแสดงว่าถ้า $m^*(A)=0$ แล้ว $m^*(A\cup B)=m^*(B)$ ทุก $B$ ที่เปนสับเซตของ $\mathbb{R}$ ($m^*$คือเมเชอร์น่ะครับ)
2.จงแสดงว่าทุก countable set มี measure $0$
3.ให้ $\{I_n\}$ เปนเซตจำกัดของช่วงซึ่ง $[0,1]$ เป็นสับเซตของ $\bigcup I_n$ จงแสดงว่า $\sum l(I_n)\geq 1 $ ; $l(I_n)$ คือความยาวช่วง $I_n$
4.ให้ $A$ และ $B$ เป็นเซต measurable จงแสดงว่า $A-B$ และ $A\cap B$ เป็นเซต measurable

ขออภัยครับที่พิมพ์อ่านยากครับ กำลังหัดพิมพ์ลาเทกครับ รบกวนช่วยพิสูจน์ด้วยครับ

Note : น่าจะหัดพิมพ์ภาษาไทยด้วยนะครับ (nooonuii)

nooonuii 16 มิถุนายน 2008 01:25


ลองคิดจาก Hint ก่อนครับ ถ้ายังไม่ได้เดี๋ยวจะมาอธิบายเพิ่มเติม

love kmitl 17 มิถุนายน 2008 10:23

ขอบคุณครับพี่เดี๋ยวผมลองทำดูเลยครับ

love kmitl 21 มิถุนายน 2008 23:57

พี่ครับผมลองทำตามนิยามดูแล้ว แต่บอกตรงๆเลยว่าไม่เข้าใจไม่รู้ทำงัยดีครับ กลุ้มใจมากๆเวลานี้ เพราะท่าทางจะต้องใช้เรื่องนี้ไปอีกนานเลย รบกวนพี่ช่วยพิสูจน์ให้ดูด้วยครับ แล้วก็ผมอยากถามพี่ว่า เอาเทอร์ เมเชอร์นี่ผมดูนิยามแล้วมองภาพไม่ออกเลยครับว่ามันคืออะไรน่ะครับ แล้วมันสามารถมองเปนเชิงเรขาคณิตได้ไหมครับ เหมือนเมทริกซ์เสปซที่อาจมองเป็นระยะห่างได้น่ะครับ ยังงัยรบกวนพี่ช่วยพิสูจน์ให้ดูหน่อยนะครับ แล้วถ้าไม่ลำบากอยากให้พี่ช่วยอธิบาย เอาเทอร์ เมเชอร์ ให้หน่อยได้ไหมครับ จะเป็นพระคุณมากๆเลยครับ ขอบคุณครับพี่

love kmitl 22 มิถุนายน 2008 10:18

รบกวนด้วยนะครับพี่ จะชอบพระคุณมากเลยครับ

nooonuii 23 มิถุนายน 2008 01:37

ความหมายเชิงเรขาคณิตของ measure คือ การวัดขนาดของเซต ครับ

เป็นความพยายามในการอธิบายคำว่า ความยาว พื้นที่ ปริมาตร,....
ให้มันใช้งานกับเซตใดๆก็ได้ไม่จำกัดอยู่แค่รูปทรงทางเรขาคณิตที่เ้รารู้จัก
ในระดับมัธยมอย่างเช่น ส่วนของเส้นตรง วงกลม วงรี ทรงกลม ปิรามิด ปริซึม เพียงอย่างเดียว
สำหรับเรขาคณิตสมัยใหม่วัตถุที่เราสนใจและจะต้องเอาไปใช้งานมันมีมากกว่านั้นมาก
เราจึงต้องสร้างเครื่องมือชนิดใหม่ซึ่งเป็นความคิดรวบยอดที่ใช้อธิบายสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา

outer measure นั้นสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการที่ผมกล่าวมาข้างบน
บวกกับคุณสมบัติอันพึงประสงค์อีก 3-4 อย่างซึ่งเป็นคุณสมบัติที่้เซตง่ายๆที่เรารู้จักมีอยู่ก่อนแล้ว
(แน่นอนว่าถ้าเราจะสร้างเครื่องมือใหม่ๆขึ้นมาเพื่อใช้อธิบาย
สิ่งที่มันกว้างขึ้นจากของเิดิมที่เรามีอยู่ เครื่องมือนั้นจะต้องมีคุณสมบัติของสิ่งเดิมๆอยู่ด้วย)
แต่มันก็ไม่ได้สอดคล้องคุณสมบัติที่เราอยากได้เสียทั้งหมด เราจึงต้องสร้างนิยามของ
measurable set ขึ้นมา เพื่อให้ทุกอย่างมันเป็นไปตามที่้เราอยากให้เป็น

นิยามของ outer measure อาจจะดูยุ่งยาก
แต่ถ้าเข้าใจความหมายของมันแล้วเราจะเข้าใจว่าทำไมต้องนิยามอย่างนั้น
และมันคือนิยามที่เป็นธรรมชาติที่สุด

อย่างเช่นนิยามของ (Lebesgue) outer measure บนสับเซตของจำนวนจริง
เริ่มจากเรารู้ว่า ความยาวของช่วงก็คือระยะห่างระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดปลายของช่วง
เช่น ความยาวของช่วงปิด $[0,1]$ ก็คือ $1$
ถ้าเราอยากวัดขนาดของเซตอื่นที่ไม่ใช่ช่วงจะทำอย่างไร?
เราก็ลองเอาช่วงหลายๆช่วงมาคลุมเซตนี้ไว้แล้วลองหาค่าประมาณขนาดของเซตนี้
จากผลรวมของความยาวช่วงที่เราเลือกมาคลุม
แต่เราจะเลือกช่วงมาคลุมเซตนี้อย่างไรเพื่อให้ได้ขนาดที่แท้จริงของเซตที่เราสนใจ?
เราก็เลือกทุกแบบที่เป็นไปได้ แล้วคัดเอาค่าที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้
ซึ่งค่านี้น่าจะมีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดแล้ว
จึงเป็นที่มาของนิยามที่ว่า
$$m^*(A)=\inf\{\sum_{k}l(I_k)|A\subseteq\bigcup_k I_k\}$$
นั่นเองครับ

ความยากของการศึกษาคณิตศาสตร์ระดับนี้มาจาก
การทำความเข้าใจข้อความทางตรรกศาสตร์แบบข้างบนนี่แหละครับ
อย่าไปหลงอยู่กับสิ่งเหล่านี้ครับ เราต้องหาทางอธิบายสิ่งเหล่านี้
ด้วยภาษาที่เราเข้าใจได้ง่ายอย่างที่ผมอธิบายมาข้างต้น
(แต่ไม่แน่ใจว่า่ง่ายสำหรับคนอื่นด้วยรึเปล่า :D)

nooonuii 23 มิถุนายน 2008 02:01


love kmitl 23 มิถุนายน 2008 02:25

ขอบคุณพี่ nooonuii มากๆๆเลยครับ ผมจะพยายามอย่างเต็มที่เลยครับ พี่ครับสำหรับมือใหม่นี่ ควรอ่านเล่มไหนดีครับในหัวข้อ เมเชอร์น่ะครับ ปล.ขอบคุณสำหรับ hint รอบ2มากๆครับพี่

love kmitl 23 มิถุนายน 2008 02:32

พี่ nooonuii อธิบายได้เข้าใจมากๆครับ จากใจจริง

nooonuii 23 มิถุนายน 2008 05:12

Real Analysis ของ Royden ครับ เป็น textbook ระดับ graduate แต่มีข้อดีคือ ผู้เขียนเน้น Lebesgue measure ก่อน จึงทำให้ไม่ต้องไปงงอยู่กับนิยามของ measure แบบทั่วไปมากนัก

textbook measure theory ทั่วไปที่เขียนสำหรับระดับ undergraduate คิดว่าเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นทั้งหมด
ชอบเล่มไหนก็เลือกอ่านเล่มนั้น จริงๆแล้วหนังสือเล่มไหนที่เราอ่านแล้วชอบ นั่นแหละครับคือหนังสือที่ดีสำหรับเรา ต้องลองอ่านดูก่อนครับแล้วจะรู้

love kmitl 24 มิถุนายน 2008 18:06

คราวก่อนทำได้หมดแล้วครับพี่(แหะๆhintขนาดนั้นทำไม่ได้ก็แย่แล้ว แหะๆ) พี่nooonuii ครับผมมีการบ้าน2ข้อครับ รบกวนพี่Hint ให้หน่อยครับพี่ ไม่เข้าใจ (measurable setครับ)
ข้อ1.ให้ k>0 และ Aเป็นสับเซตของR กำหนดให้ kA = {x/ xส่วนk เป็นสมาชิกของ A ) จงแสดงว่า
1. m*(kA)=km*(A)
2.A measurable ก็ต่อเมื่อ kA measurable


ข้อ2 ให้ Eเป็นสับเซตของM และ M measurable กำหนดให้ m(M) หาค่าได้ จงแสดงว่า M measurable ก็ต่อเมื่อ m(M)=m*(E)+m(M-E)

ส่งพรุ่งนี้ละครับท่าจะแย่แล้วผม ไม่เข้าใจว่าการจะพิสูจน์การเป็น measurable ต้องพิสูจน์อะไร ยังไงน่ะครับ กลุ้ม

nooonuii 25 มิถุนายน 2008 08:47

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ love kmitl (ข้อความที่ 35049)

ข้อ1.ให้ k>0 และ Aเป็นสับเซตของR กำหนดให้ kA = {x | x/k เป็นสมาชิกของ A ) จงแสดงว่า

1. m*(kA)=km*(A)

2.A measurable ก็ต่อเมื่อ kA measurable


ข้อ2 ให้ Eเป็นสับเซตของM และ M measurable กำหนดให้ m(M) หาค่าได้ จงแสดงว่า M measurable ก็ต่อเมื่อ m(M)=m*(E)+m(M-E)

1. ไล่นิยามกับมองว่า ถ้า $A\subseteq \bigcup I_n$ แล้ว $kA\subseteq kI_n$

ดังนั้น $m^*(kA)\leq km^*(A)$

อีกข้างทำคล้ายๆกัน

2. โจทย์น่าจะเป็นอย่างนี้นะครับ

$E$ measurable ก็ต่อเมื่อ $m(M)=m^*(E)+m^*(M-E)$

การพิสูจน์ว่าเซต $E$ measurable ก็คือการพิสูจน์ว่า $$m^*(A)=m^*(A\cap E)+m^*(A\cap E^c)$$ ทุกเซต $A$

แต่เรามีอสมการ $m^*(A)\leq m^*(A\cap E)+m^*(A\cap E^c)$ อยู่แล้ว(ทำไม?)

จึงเพียงพอที่เราจะพิสูจน์ว่า $m^*(A)\geq m^*(A\cap E)+m^*(A\cap E^c)$


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 05:25

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha