Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ทฤษฎีจำนวน (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=19)
-   -   NT Problems#2 (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=13603)

Influenza_Mathematics 02 พฤษภาคม 2011 22:08

NT Problems#2
 
1. ให้ n เป็นจำนวนเต็มบวก จงพิสูจน์ว่า $n(n+1)| 2(1^k+2^k+...+n^k)$ สำหรับทุกจำนวนเต็มบวกคี่ $k$

2. ให้ $p \nmid n$ สำหรับจำนวนเฉพาะ $p$ ทั้งหมดซึ่ง $p\leq \sqrt[3]{n}$ จงแสดงว่าจำนวนเต็มบวก $n > 1$ จะเป็นจำนวนเฉพาะหรือเขียนอยู่ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะสองจำนวน

Tohn 03 พฤษภาคม 2011 04:23

ข้อแรก ลองดูอย่างนี้ครับ เพราะ$k$เป็จจำนวนคี่
$2(1^k+2^k+...+n^k) = (n^k +1^k)+((n-1)^k+2^k) + ..... = (n+1)(....)$
$ = 2n^k+((n-1)^k+1^k)+((n-2)^k+2^k)+..=n(...)$

Influenza_Mathematics 03 พฤษภาคม 2011 10:29

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Tohn (ข้อความที่ 116285)
ข้อแรก ลองดูอย่างนี้ครับ เพราะ$k$เป็จจำนวนคี่
$2(1^k+2^k+...+n^k) = (n^k +1^k)+((n-1)^k+2^k) + ..... = (n+1)(....)$
$ = 2n^k+((n-1)^k+1^k)+((n-2)^k+2^k)+..=n(...)$

ขอบคุณครับ ตื่นตี 4 (หรือยังไม่หลับตอนนั้น :aah: ) มาตอบคำถาม :please: ขอบคุณครับ :sung:

ShanaChan 03 พฤษภาคม 2011 14:19

ข้อ 2 ให้พิจารณา min{ตัวประกอบเฉพาะของ p}
น่าจะช่วยได้
พิสูจน์ขัดแย้งน่ะครับ

Influenza_Mathematics 03 พฤษภาคม 2011 14:51

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ShanaChan (ข้อความที่ 116299)
ข้อ 2 ให้พิจารณา min{ตัวประกอบเฉพาะของ p}
น่าจะช่วยได้
พิสูจน์ขัดแย้งน่ะครับ

ลองเริ่ม ๆ มาดูก่อนได้ไหมครับ :eek:

nooonuii 03 พฤษภาคม 2011 21:37

ตัวประกอบเฉพาะ $p$ แต่ละตัวของ $n$ จะมีสมมบัติว่า $p>\sqrt[3]{n}$

ถ้ามีตัวประกอบแบบนี้สามตัวขึ้นไป(ซ้ำด้วยก็ได้) จะเกิดอะไรขึ้นครับ

Keehlzver 19 กันยายน 2011 02:29

ลองหาดูในหนังสือ 104 Number theory ของ Titu Andresscu ดูนะครับ


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 02:07

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha