Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   Games and Puzzles (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=29)
-   -   มาคิดเลขกันเถอะ (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=2087)

passer-by 06 พฤษภาคม 2005 03:03

41 = 5!+5 +(5x5)+5

nooonuii 06 พฤษภาคม 2005 03:44

\( 41 = (5!)_5 + 5 + \frac{5}{5} \)

warut 06 พฤษภาคม 2005 13:38

41 = (5! - 5)/(5 x .5) - 5
43 = (5! + 5! - 5 x 5)/5 (แบบไม่ใช้รากที่ 2)
44 = (5! + 5! + 5)/5 - 5 (แบบไม่ใช้ concatenation)
49 = (5 + 5) x 5 - 5/5 (แบบใช้แต่ บวก ลบ คูณ หาร)
50 = (5 + 5 + 5 - 5) x 5 (แบบใช้แต่ บวก ลบ คูณ)

ช่วยต่ออีกตัว
51 = (5 + 5) x 5 + 5/5

และแถมอันนี้ให้ด้วยครับ
p = (.5)!(.5)!(5 - 5/5) :)

R-Tummykung de Lamar 06 พฤษภาคม 2005 23:42

เอ.. ทศนิยมมเติม แฟคทอเรียล นี่มี นิยามอย่างไรหรอครับ
ผมลอง 0.5! ได้ 0.886227

แล้ว ได้ p เป๊ะๆเลยหรอครับ วิเศษจริงๆ :D

warut 07 พฤษภาคม 2005 00:41

เรื่อง factorial นี่ถ้าจำไม่ผิดผมว่าคุณ gon เคยอธิบายไปแล้วนะครับ แต่ไม่รู้อยู่ไหนเหมือนกัน

ปกติแล้วเราจะขยายนิยามของ factorial ไปสู่เซ็ตของจำนวนเชิงซ้อนโดยผ่านสิ่งที่เรียกว่า Gamma function: \(\Gamma(n)\) ครับ ด้วยการนิยามให้ \(n!=\Gamma(n+1)\) โดยที่\[\Gamma(n)=
\int_0^\infty x^{n-1}e^{-x}\,dx\]เพราะ Gamma function เป็น "the most natural extension of the factorial function" จากนิยามนี้เราจึงได้ว่า\[(0.5)!=
\Gamma(1.5)=\frac{\sqrt\pi}{2}=0.8862269\dots\]

TOP 07 พฤษภาคม 2005 03:35

ฮ่าๆ หวังว่าเด็กประถมจะอ่านกันรู้เรื่องนะครับ :D

เอ่อว่าแต่ ทำไมเราไม่กำหนดให้ \( \displaystyle{ \Gamma(n)=
\int_0^\infty x^n e^{-x}\,dx } \) ไปเลยละครับ มันจะได้เทียบกันตรงๆไปเลยว่า \( n! = \Gamma(n) \)

warut 07 พฤษภาคม 2005 04:45

ผมก็หวังเช่นนั้นครับ :D

ไม่ทราบเหมือนกันครับว่าทำไมเค้านิยามแบบนั้น แต่ถ้าจะให้เดา ผมขอเดาจากกราฟของ \(\Gamma(x),\,x\in\mathbb R\) ว่าเค้าต้องการให้ส่วนที่ต่อเนื่องชิ้นทางขวาสุดของกราฟอยู่ใน quadrant ที่ 1 พอดีมั้งครับ คือให้ความสำคัญกับ \(\Gamma(x)\) มากกว่า x! นั่นเอง

nooonuii 07 พฤษภาคม 2005 05:02

คุณ warut คิดได้ไงเนี่ย แล้วของ e ล่ะครับ มีอะไรพิศดารแบบนี้บ้างป่าว
เด็กประถมตาลายกันรึยังครับ งั้นเรามาเล่นกันต่อเน้อ

52 = (5! + 5! - 5)/5 + 5
53 = (5! + 5! + 5x5)/5
54 = (5! + 5! + 5)/5 + 5
55 = (5 + 5 + 5/5)x5

warut 07 พฤษภาคม 2005 07:06

สำหรับค่า e เท่าที่ผมพอจะคิดได้คือใช้ complex exponentiation ดังนี้ครับ\[e=\lfloor-.5\rfloor^{-\sqrt{-5/5}/(-.5)!/(-.5)!}\]

nooonuii 07 พฤษภาคม 2005 21:14

:eek: :eek: :eek:
Incredible !! จริงๆ คุณ Warut คิดไปได้ยังไง
:eek: :eek: :eek:

tana 08 พฤษภาคม 2005 09:01

:eek: :eek: :eek: ขอทึ่งกับความคิดของคุณ warut ด้วยคนครับ เรื่อง ค่าพาย กับค่า e
ตลกดีจากตอนแรกเป็นคิดเลขเล่นๆ กลายเป็นเพิ่มระดับความรู้เข้าไปเรื่อยๆ :D
สงสัยเด็กประถมกุมขมับอยู่อ่ะนะครับ ตอนนี้ 55555 ( \( = 5*10^{4} + 5*10^{3} + 5*10^{2} + 5*10^{1} +5*10^{0} \) )

ปล. พี่ nooonuii เข้าเน็ตแต่ไม่เข้า msn แล้วหรอครับ เห็นเจอแต่ในบอร์ดอ่ะครับ ไม่ได้คุยกันนานเลย
สงสัยกำลังสอบวัดใจกับข้อสอบ ป.เอก ที่อเมริกาอยู่ :D

nooonuii 08 พฤษภาคม 2005 19:33

ครับ ช่วงนี้อ่านหนังสือเตรียมสอบปลายภาคอยู่ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะเข้ามาอ่านที่นี่ครับ เป็นสิ่งเสพติดของผมไปซะแล้ว :D อีกสองอาทิตย์สอบเสร็จครับ คงได้กลับมาใช้ชีวิตปกติอีกครั้ง

promath 17 พฤษภาคม 2005 15:40

ลองต่อหน่อยนะครับ :D

752,316,384,526,264,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000 = (55!)+(5-5)5

3,244 = 5! + (55) - \( \frac{5}{5} \)
15,620 = 5 555-5
186,264,514,923,096,000,000 = (555+5)/5

umm... ยังมีอีกเยอะครับพี่ เดี๋ยววันหลังมาต่อนะครับ

tana 17 พฤษภาคม 2005 19:09

ที่เขียนมานี่ คุณ promath ต้องการจะสื่อถึงอะไรเหรอครับ :rolleyes:

R-Tummykung de Lamar 17 พฤษภาคม 2005 19:55

สงสัยจะตั้งคำถามมั้งรับ ว่า มีคำตตอบออกมากี่แบบ ที่ อนุญาติให้ใช้ตัวเลข 5 จำนวน 5 ตัว และเครื่องหมายในคณิตศาสตร์ทุกชนิด ...ถึง 1000 จำนวนไหมครับ ;)


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 15:29

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha