Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ข้อสอบโอลิมปิก (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=28)
-   -   ข้อสอบ สอวน ค่าย 3 ปี 58 (เข้าค่าย เม.ย. 59) (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=23231)

Pitchayut 16 เมษายน 2016 16:48

ข้อสอบ สอวน ค่าย 3 ปี 58 (เข้าค่าย เม.ย. 59)
 
พิมพ์ผิดตรงไหนช่วยทักท้วงให้ด้วยนะครับ






ThE-dArK-lOrD 16 เมษายน 2016 19:03

For $1)$
Rotate $\triangle{AMC}$ with center so that side $AC$ becomes $BC$, get $\triangle{BM'C}$
Then $\triangle{BM'C}$ is Pompeiu's Triangle
We have $\angle{BM'M}=\angle{BMC}-60^{\circ}=\angle{AMC}-60^{\circ}$
And $\angle{BMM'}=\angle{BMC}-60^{\circ}$
And then we get $\angle{MBM'}=180^{\circ}-\angle{BMM'}-\angle{BM'M}=\angle{AMB}-60^{\circ}$
And let $x$ denote area of that triangle
Consider other $2$ rotations get $3$ triangles outside $\triangle{ABC}$
Then we have $2[ABC]=3x+\frac{\sqrt{3}}{4}(MA^2+MB^2+MC^2)$
Then we use well-known identity that $MA^2+MB^2+MC^2=3MG^2+\frac{1}{3}(AB^2+BC^2+CA^2)$ for any triangle $ABC$ with centroid $G$ (in this case $G=O$)
The result follow immediately

ThE-dArK-lOrD 16 เมษายน 2016 19:12

For $2)$ It's just angle-chasing
For $3)$, let side length of $ABC$ is $t$, and $AY=a,BZ=b,CX=c$
Law of cosines give us $XY^2+YZ^2+ZX^2=a^2+b^2+c^2+(t-a)^2+(t-b)^2+(t-c)^2-\sum_{cyc}{a(t-b)}$
$=2a^2+2b^2+2c^2+3t^2-3t(a+b+c)+ab+bc+ca\geq (a+b+c)^2-3(a+b+c)t+3t^2\geq (a+b+c-\frac{3}{2}t)^2+\frac{3}{4}t^2\geq \frac{3}{4}t^2$ with equality hold when $a=b=c$ and $a+b+c=\frac{3}{2}t$

gon 17 เมษายน 2016 19:38

1. จงหาความน่าจะเป็นที่จะเลือกเซตซ้ำย่อยที่มีสมาชิก 12 ตัวของ $\{2\cdot a_1,\ 2\cdot a_2,\ 2\cdot a_3,\ 2\cdot a_{10}\}$ แล้วได้เซตซ้ำที่มีสมาชิกแตกต่างกัน $8$ ชนิด (10 คะแนน)

อย่างเช่นอะไรหรือครับ. :confused:

กขฃคฅฆง 18 เมษายน 2016 00:25

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gon (ข้อความที่ 181457)
1. จงหาความน่าจะเป็นที่จะเลือกเซตซ้ำย่อยที่มีสมาชิก 12 ตัวของ $\{2\cdot a_1,\ 2\cdot a_2,\ 2\cdot a_3,\ 2\cdot a_{10}\}$ แล้วได้เซตซ้ำที่มีสมาชิกแตกต่างกัน $8$ ชนิด (10 คะแนน)

อย่างเช่นอะไรหรือครับ. :confused:

พิมพ์ผิดครับ ต้องเป็น $\{2\cdot a_1,\ 2\cdot a_2,\ 2\cdot a_3,...,\ 2\cdot a_{10}\}$ ครับ

Beatmania 20 เมษายน 2016 00:13

Ie.2 จะได้ $(a+1)(b+1)(c+1)(d+1)=(a-1)(b-1)(c-1)(d-1)$

หรือก็คือ $(\frac{a+1}{a-1})(\frac{b+1}{b-1})(\frac{c+1}{c-1})(\frac{d+1}{d-1})=1$

เราจะได้ว่าจากที่ค่าสัมบูรณ์ $>1$ จะได้ว่า $\frac{a+1}{a-1},\frac{b+1}{b-1},\frac{c+1}{c-1},\frac{d+1}{d-1}>0$

และอสมการที่เราต้องการ คือ

$$\frac{2}{a-1}+\frac{2}{b-1}+\frac{2}{c-1}+\frac{2}{d-1}>0$$

$+4$ เข้าไปทั้งสองข้างจะได้อสมการสมมูลกับอสมการ

$$\frac{a+1}{a-1}+\frac{b+1}{b-1}+\frac{c+1}{c-1}+\frac{d+1}{d-1}>4$$

ซึ่งเป็นจริงจาก $AM-GM$ (ใช้อสมการนี้ได้เพราะทุกตัวเป็นจำนวนจริงบวก:))

Pitchayut 20 เมษายน 2016 17:29

ลงครบ 5 วันแล้วนะครับ ใครอยากเฉลยเชิญตามสะดวกครับ

pont494 21 เมษายน 2016 01:05

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Pitchayut (ข้อความที่ 181448)
Algebra
1. จงหาจำนวนจริง $a,b$ ทั้งหมดที่ทำให้ $x^4-3ax^3+ax+b$ หารด้วย $x^2-1$ แล้วเหลือเศษ $(a^2+1)x+3b^2$ (10 คะแนน)

$x^4-3ax^3+ax+b$ หารด้วย $x^2-1$ จะเหลือเศษ $-2ax-b+1$
จะได้ $a^2+1=-2a$ และ $3b^2=-b+1$
$\therefore (a,b)$ ได้แก่ $ (-1,\frac{-1+\sqrt{13} }{6}) $ และ $ (-1,\frac{-1-\sqrt{13} }{6} )$

Thgx0312555 21 เมษายน 2016 15:24

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Pitchayut (ข้อความที่ 181448)
3. จงหาฟังก์ชัน 1-1 $f,g,h:\mathbb{R}\to\mathbb{R}$ ทั้งหมดที่ทำให้

$f(x+f(y))=g(x)+h(y)$

$g(x+g(y))=h(x)+f(y)$

$h(x+h(y))=f(x)+g(y)\quad \forall x,y\in\mathbb{R}$ (12.5 คะแนน)

พิจารณาสมการ
$P(x,y); \quad f(x+f(y))=g(x)+h(y)$

$P(0,x); \quad f(f(x))=g(0)+h(x)$

$P(f(x),y); \quad f(f(x)+f(y))=g(f(x))+h(y)$
$P(f(y),x); \quad f(f(x)+f(y))=h(x)+g(f(y))$

ดังนั้น $g(f(x))-h(x)=g(f(y))-h(y)$

$g(f(x))=h(x)+C_1$

ต่อมาพิจารณา
$Q(x,y); \quad g(x+g(y))=h(x)+f(y)$

$Q(x,f(y)); \quad g(x+g(f(y)))=h(x)+f(f(y))$
$g(x+h(y)+C_1)=h(x)+h(y)+g(0)$

$Q(y,f(x)); \quad g(y+h(x)+C_1)=h(x)+h(y)+g(0)$

$g(x+h(y)+C_1)=g(y+h(x)+C_1)$
$x+h(y)+C_1=y+h(x)+C_1$
$h(x)-x=h(y)-y$

$h(x)=x+C_2$

ในทำนองเดียวกัน $f(x)=x+C_3,g(x)=x+C_4$
แทนลงในสมการจะพบว่า $C_2=C_3=C_4$

ดังนั้นคำตอบคือ $f(x)=g(x)=h(x)=x+k$ ครับ

Comment a bit: ตอนทำรู้สึกว่าทำอย่างไร้จุดหมายมาก แต่ก็รู้สึกว่าเป็นข้อที่ยากข้อนึงเลยครับ

Pitchayut 21 เมษายน 2016 18:39

FE ข้อ 4 ครับ ช่วยเช็คให้ด้วยนะครับ เผื่อมี bug

ให้ $P(x,y)$ แทนข้อความ $f\left(\dfrac{y}{f(x+1)}\right)+f\left(\dfrac{x+1}{xf(y)}\right)=f(y)$

สมมติ $f(k)>\dfrac{1}{k}$ จะได้ว่า $P\left(\dfrac{1}{kf(k)-1},k\right)$ ให้ว่า $f(r)=0$ เมื่อ $r=\dfrac{k}{f\left(\dfrac{kf(k)}{kf(k)-1}\right)}$
ซึ่งเกิดข้อขัดแย้ง นั่นคือ $f(x)\le\dfrac{1}{x}\quad\forall x\in\mathbb{R}$

เมื่อประยุกต์ใช้อสมการที่เพิ่งได้มากับ $P(x,y)$ จะได้

$\dfrac{f(x+1)}{y}\ge f\left(\dfrac{y}{f(x+1)}\right)=f(y)-f\left(\dfrac{x+1}{xf(y)}\right)\geq f(y)-\dfrac{xf(y)}{x+1}=\dfrac{f(y)}{x+1}$

นั่นคือ $af(a)\geq bf(b)$ เมื่อ $a>1$

ดังนั้นถ้าเราให้ $r,s>1$ จะได้ $rf(r)\geq sf(s)$ และ $sf(s)\geq rf(r)$ นั่นคือ $rf(r)=sf(s)=c$

เพราะฉะนั้น $f(r)=\dfrac{c}{r}\quad\forall r>1$ และจาก $f(x)\le\dfrac{1}{x}$ จะได้ $c\le 1$

การหาค่าของ $c$ สามารถทำได้โดยง่ายโดยใช้ $P(1,2)$ และจะได้ว่า $c=1$

เพราะว่า $x+1>1$ เมื่อ $x\in\mathbb{R}^+$ นั่นคือ $P(x,y)$ กลายเป็น $f(y(x+1))+f\left(\dfrac{x+1}{xf(y)}\right)=f(y)$

ตอนนี้เราเหลือแค่กรณี $x<1$ ซึ่งจะพิสูจน์โดยการอุปนัยว่า $f(x)=\dfrac{1}{x}$ เมื่อ $x>\dfrac{1}{n}$

กรณี $n=1$ ได้ทำไปแล้ว

ต่อมาสมมติว่า $f(x)=\dfrac{1}{x}$ เมื่อ $x>\dfrac{1}{k}$ จะพิสูจน์ $f(x)=\dfrac{1}{x}$ เมื่อ $x>\dfrac{1}{k+1}$

ให้ $a>\dfrac{1}{k+1}$ สามารถพิสูจน์ได้ไม่ยากว่า $a\left(\dfrac{a}{1-a}+1\right)>\dfrac{1}{k}$

สมมติ $f(a)\neq\dfrac{1}{a}$ นั่นคือ $f(a)<\dfrac{1}{a}$

และนอกจากนั้น $\dfrac{\dfrac{a}{1-a}+1}{\dfrac{a}{1-a}f(a)}=\dfrac{1}{af(a)}>\dfrac{1}{a\cdot\dfrac{1}{a}}=1$

นั่นคือ $P\left(\dfrac{a}{1-a},a\right)$ ให้ว่า $\dfrac{1}{a\left(\dfrac{a}{1-a}+1\right)}+af(a)=f(a)$

ซึ่งแก้สมการได้ไม่ยากว่า $f(a)=\dfrac{1}{a}$ เกิดข้อขัดแย้ง

โดยหลักอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ จะได้ $f(x)=\dfrac{1}{x}$ เมื่อ $x>\dfrac{1}{n}\quad\forall n\in\mathbb{N}$

นั่นคือ $f(x)=\dfrac{1}{x}\quad\forall x\in\mathbb{R}$

ปล. fe จะออกยากไปถึงไหนครับเนี่ย

กขฃคฅฆง 22 เมษายน 2016 00:45

ขอ ie ข้อ 1 กับ nt ข้อ 5 หน่อยครับ

ปล. ยอมกับ ie fe ปีนี้จริงๆ 555

terasut 22 เมษายน 2016 11:06

NT ข้อ 5 อยู่ใน Shortlist IMO 2011 ครับ

Amankris 22 เมษายน 2016 16:28


Pitchayut 22 เมษายน 2016 17:41

ของผมยกกำลัง 2 อสมการที่ต้องการพิสูจน์ แล้วใช้ am-gm ยุบให้เหลือใน form ของ $abc$

Nonpawit12345 02 พฤษภาคม 2016 01:03

Combinatoric ข้อที่ 2 ตอบเท่าใดกันครับ
อยากเห็นวิธีทำ (•_•)


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 13:20

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha