Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=3)
-   -   รบกวนพี่ ๆ ช่วยคิดเรื่องโครงงานหน่อยนะครับ (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=12104)

ChaosBlade 23 ตุลาคม 2010 23:26

รบกวนพี่ ๆ ช่วยคิดเรื่องโครงงานหน่อยนะครับ
 
คือผมอยู่ ม 5 นะครับ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ให้ทำโครงงานคณิตศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
โดยห้ามทำเป็นเกมส์ เป็นโปรแกรม และต้องเหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียนอยู่หรืออาจจะสูงกว่าก้ได้

คือผมยังคิดไม่ออกเลยอะครับ ต้องส่งวันจันทร์นี้แล้วอะครับ รบกวนพี่ช่วยเสนอแนวคิดหรือเสนอตัวอย่างโครงงาน
ให้หน่อยได้ไหมครับ ผมก็พยายามคิดอยู่นะครับ

รบกวนหน่อยนะครับ
ขอบคุณมากครับ

ChaosBlade 24 ตุลาคม 2010 21:15

ดัน ช่วยคิดหน่อยนะครับ ขอร้อง ต้องส่งหัวข้อจันทร์นี้แล้วนะครับ รบกวนหน่อยครับ

nooonuii 25 ตุลาคม 2010 00:34

สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้คณิตศาสตร์โดยตรงหายากครับ

ChaosBlade 26 ตุลาคม 2010 20:01

ง่า ไม่มีคนมีน้ำใจช่วยเลยหรอครับ บอร์ดนี้

คนอยากเก่ง 26 ตุลาคม 2010 20:07

ถ้าเขารู้เขาก็บอกคุณแล้วครับ
ผมก็ช่วยคิดครับ แต่...คิดไม่ออก:wacko:.
แล้วคุณจะมาว่าคนในบอร์ดว่าไม่มีน้ำใจได้ไงครับ...
ไม่ได้ว่านะครับ......แค่อธิบายครับ

ChaosBlade 26 ตุลาคม 2010 21:13

ก็แค่ถามดูครับ ไม่ได้ว่า
ยังไงมันก็เลยวันส่งไปแล้ว

tongkub 26 ตุลาคม 2010 21:24

ผมก็ช่วยคิดแล้วครับ แต่ถ้าคณิตศาสตร์เพีัยวๆมันก็คงจะยากนิดนึงครับ ผมแนะนำให้ไปลองดูของพวกรุ่นพี่ปีที่แล้วดูครับ อาจจะช่วยให้ปิ๊ง idea ได้ครับ แล้วก็เอามาดัดแปลง หรือต่อยอดนิดหน่อยก็ได้ครับ

nooonuii 26 ตุลาคม 2010 22:53

สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้คณิตศาสตร์โดยตรง

ส่วนใหญ่จะเป็นเกมนะครับ

ถ้าไม่ให้สร้างเกมขอบเขตมันก็แคบลงมากครับ

RoSe-JoKer 27 ตุลาคม 2010 17:05

เอาแบบนี้ไปเลยสิ...ตรีโกณมิติกราฟลวดลายเป็นยังไง ก็เอาลวดลายเหล่านั้นมาผสมๆกันเป็นรูป...หรือไม่ก็ทำเ็ป็นผ้าเช็ดหน้าลายกราฟฟังก์ชั่นตรีโกณมิติ กราฟฟังก์ชั่นต่างๆ ฯลฯ ชื่อโครงงานอาจจะเป็น "ผ้าเช็ดหน้าลายฟังก์ชั่นคณิตสาสตร์" ง่ายดีเนอะ? ทำเป็นสิ่งประดิษฐ์นิ
ฮ่าฮ่า...

ครูนะ 29 ตุลาคม 2010 06:36

นึกแล้ว ก็เจ็บ

ทำไมการศึกษาไทยต้องให้เด็กมาทำอะไรบ้าๆ แบบนี้ด้วย

1. สิ้นเปลืองเงินทอง ต้องไปซื้ออุปกรณ์มานั่งทำ

2. เสียเวลา ไม่ได้อะไรเลย โดยเฉพาะโครงงานคณิตศาสตร์ ไร้สาระ

(แค่ทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ก็แย่แล้ว ยังมีเงื่อนไขเพิ่มมาอีกว่าห้ามทำเป็นโปรแกรมและเกม

ก็รู้ๆ อยู่ว่าวิชาคณิตศาสตร์ ใช้เพียงแค่ กระดาษ ดินสอและสมอง)

3. ของที่นักเรียนทำ ห้องนึงมี 40 คน ทำเสร็จกองไว้ที่ห้องพักครู สุดท้ายก็ทิ้งขยะ

อยากจะบอกจริงๆ เลิกเถอะ แบบเนี่ย

รายงานก็เหมือนกัน วิชาสังคมทำรายงาน ภาษาไทยทำรายงาน

วิทย์ทำรายงาน คณิตทำรายงาน พละสุขศึกษาทำรายงาน

แล้วทุกวิชามารวมกัน เด็กทำรายงานส่งไหวไหม

เกิดอะไรขึ้นกับระบบการศึกษาไทย

หรือครูถูก ผอ. บังคับว่าต้องให้เด็กมีโครงงานส่ง

ครูจะได้มีผลงาน ไม่ถูกไล่ออกจากโรงเรียน (เห็นใจครูเหมือนกันแต่เด็กต้องมารับกรรม)

ผมเบื่อกับระบบการศึกษาไทยเต็มทีแล้ว

ทุกวันนี้ระบบการศึกษาไทยก็เละ ทุเรศมากจนผมอยากจะอาเจียนอยู่แล้วครับ

กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย 29 ตุลาคม 2010 11:50

แล้วคุณครูนะ
อยากให้การศึกษาไทยเป็นอย่างไรครับ

Mathematicism 29 ตุลาคม 2010 15:25

ขอแย้งครูนะนิดนึงนะครับ
การให้ทำรายงายหรือโครงงานจริงๆแล้วครูก็มีวัตถุประสงค์นะครับ เพียงแต่สิ่งที่เด็กทำมันไม่เป้นไปตามเป้าหมายของครู
เช่น การทำรายงาน ต้องการให้เด็กศึกษาข้อมูลเรื่องนั้นๆจนเกิดความรู้จริงแล้วนำมาเขียนรายงานด้วยสำนวนตัวเอง
แต่ที่เด็กทำมาคือ ก๊อบปี้มาส่ง จะโทษใครดีล่ะครับ ครู เด็ก หรือเทคโนโลยี เป็นกันตั้งแต่ประถมยันมหาลัย ไอ้เรื่องการก๊อบปี้มาส่งเนี่ย

ส่วนโครงงานไม่ว่าจะคณิตหรือวิทย์ผมเห็นด้วยอย่างเต็มที่เลยครับ
มันฝึกเด็กได้หลายๆอย่าง นอกเหนือจากได้ความรู้แล้ว ยังได้ฝึกการจัดการ การบริหารงาน การทำงานเป็นทีม ฯลฯ
แต่ส่วนใหญ่ที่ไม่บรรลุเป้าหมายเพราะอะไร ก็ไม่รู้จะโทษอะไรดี มันก็หลายๆอย่างประกอบกันล่ะครับ


เพชรที่ยังไม่ได้รับการเจียระไน ถึงจะเป็นเพชร แต่ก็ยังไม่สวย ยังไม่มีคุณค่า
เพชรบางเม็ดถึงแม้จะได้รับการเจียระไนแล้ว แต่ถ้าคนเจียไม่มีฝีมือ เพชรก็ยังไม่สวย ไม่มีคุณค่า
แต่กรวดทราย เจียระไนอย่างไรก็ไม่มีวันเป็นเพชรขึ้นมาได้ ต่อให้ช่างเจียมีฝีมือดีแค่ไหนก็ตาม
ที่สำคัญ ถ้า "เจ้าของโรงงานเจียระไน" มันเอาแต่สั่งๆๆๆๆๆ ให้ "ช่างเจียระไน" ทำอย่างนู้นอย่างนี้โดยไม่เคยเข้าใจงานของช่างเจีย
เร่งรีบสักแต่จะเอาผลงานอย่างเดียวโดยที่ไม่เคยลงมาดูว่า "เครื่องมือเจีย" มันห่วยแค่ไหน
แล้ว "เพชร" ที่ได้มันจะสวยงามและมีคุณค่าได้อย่างไรล่ะครับ



ส่วนตัวผมขอเสนอทางออกว่า ควรจะยกเลิกข้อสอบช้อยส์แล้วเปลี่ยนมาเป็นข้อสอบอัตนัยได้แล้ว
ผมมองไม่เห็นข้อเสียของข้อสอบอัตนัยเลย นอกจากครูขี้เกียจตรวจ
ซึ่งทางออกก็ไม่ยาก เพียงแต่ลดข้อสอบให้น้อยลง แล้วให้เวลาเด็กได้คิดวิเคราะห์มากขึ้น
สิ่งที่เด็กค้นพบ มีประโยชน์ต่อการแก้โจทย์ปัญหาอื่นๆได้ โดยไม่ต้องให้เด็กเสียเวลาทำข้อสอบตั้งมากมาย
ระบบการสอนก็ควรเปลี่ยนจากการมาบอกให้เด็กจดๆๆๆๆ เป็นการให้เด็กได้มีเวลาคิดๆๆๆ ให้มากขึ้นจะดีกว่า

เฮ้อ!!

ครูนะ 29 ตุลาคม 2010 18:00

ขอบคุณมากครับ ผมเพิ่งรู้ครับว่า พลังแห่งความคิดนั้นยิ่งใหญ่ที่สุด

แต่ระบบการศึกษาไทย มันบ้าท่องจำ ใครจำดี จำเก่ง ก็ชนะ ซึ่งผมว่ามันไม่ใช่

คุณ Mathematicism เปรียบเที่ยบได้ชัดเจนมากครับ ผมเข้าใจแล้วครับ

หยินหยาง 29 ตุลาคม 2010 22:07

อยากจะบอกเพียงว่า จุดประสงค์ของการออกข้อสอบ ปรนัย และอัตนัย มีจุดประสงค์ในการวัดแตกต่างกัน มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน โดยหลักการแล้ว ไม่ได้เกี่ยวกับครูขี้เกียจตรวจเป็นสำคัญ เพียงแต่ว่าคุณภาพของการออกต่างหากที่เป็นปัญหา เลยทำให้เห็นว่า ข้อสอบปรนัยไม่สามารถวัดผลได้ บางคนยังเข้าใจว่าข้สอบปรนัยคือข้อสอบแบบตัวเลือก ซึ่งตามหลักวิชาการ แบ่งออกเป็น 5 ประเภทย่อย

1. แบบตอบสั้นๆ (แบบนี้ที่เรามักเข้าใจว่าเป็นอัตนัย ซึ่งไม่ใช่)
2. แบบเติมคำ (แบบนี้ที่เรามักเข้าใจว่าเป็นอัตนัย ซึ่งไม่ใช่)
3. แบบจับคู่
4. แบบถูก-ผิด
5. แบบเลือกตอบ

ส่วนความหมายหรือลักษณะของข้อสอบอัตนัยมีนักวิชการให้ความหมายดังนี้

ข้อสอบอัตนัยเป็นข้อสอบที่ให้ผู้เรียนเขียนตอบแบบบรรยาย เพื่อวัดผลว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนไปแล้วอย่างไรบ้าง ข้อสอบอัตนัยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิด และทัศนคติได้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ผู้เขียนต้องมีความสามารถในการรวบรวม เรียบเรียง และลำดับความคิดของตนให้เป็นระบบระเบียบ ทั้งยังต้องมีความสามารถในการเขียนถ่ายทอดความรู้ ความคิดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนด้วย การวัดผลการเรียนการเรียนในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่มักใช้ข้อสอบอัตนัย ดังนั้นการเรียนรู้ลักษณะและการตอบข้อสอบอัตนัยจึงมีความสำคัญ

นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งลักษณะของข้อสอบอัตนัยได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ข้อสอบที่มุ่งให้อธิบาย
2. ข้อสอบที่มุ่งให้แสดงความคิดเห็น
3. ข้อสอบที่มุ่งให้อภิปราย

หลักสำคัญของการออกข้อสอบปรนัยและอัตนัยพอแยกให้เห็นถึงจุดประสงค์และสิ่งที่ต้องคำนึงได้ดังนี้
1.วัดความมุ่งหมายของการเรียนการสอน
ปรนัย : ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์และการวิเคราะห์ ไม่เหมาะที่จะใช้วัดการสังเคราะห์และการประเมินค่า
อัตนัย : ความเข้าใจ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า ไม่เหมาะที่จะใช้วัดความรู้ ความจำ
2. การสุ่มเนื้อหา
ปรนัย : ใช้จำนวนข้อสอบมาก ทำให้สุ่มเนื้อหาได้มาก
อัตนัย : ใช้จำนวนข้อสอบน้อย ทำให้สุ่มเนื้อหาได้น้อย
3. การเตรียมการ
ปรนัย : ข้อสอบที่ดีสร้างยาก และใช้เวลาสร้างนาน
อัตนัย : ข้อสอบที่ดีสร้างยาก แต่ทำได้ง่ายกว่าแบบปรนัย
4. การให้คะแนน
ปรนัย : ยุติธรรม ง่ายและมีความเชื่อมั่นสูง
อัตนัย : ลำเอียง และมีความเชื่อมั่นต่ำ
5.ปัจจัยที่ทำให้คะแนนคลาดเคลื่อน
ปรนัย :เนื่องจากการอ่านข้อสอบ และการเดาของผู้สอบ
อัตนัย :เนื่องจากลายมือ และวิธีเขียนของผู้สอบ
6. ผลต่อการเรียนรู้
ปรนัย : กระตุ้นให้ผู้เรียนจำ แปลความวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้อื่น
อัตนัย :กระตุ้นให้ผู้เรียนจัดระบบผสมผสานและแสดงออกซึ่งความคิดของตน

nooonuii 29 ตุลาคม 2010 22:45

ข้อสอบอัตนัยผมว่ายังมีความลำเอียงอยู่เยอะครับ

ถึงแม้ว่าจะทำให้ผู้เรียนได้คิดมากกว่าก็ตาม

ถ้าเอาข้อสอบอัตนัยอย่างเดียวไปใช้ในระดับมัธยมผมว่าเละกว่านี้ครับ :D

สำหรับระดับมัธยมผมคิดว่าเป็นข้อสอบปรนัยก็น่าจะโอเค

แต่ควรเพิ่มจำนวนตัวเลือกให้มากขึ้นเพื่อให้การเดาได้ผลน้อยลง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 23:26

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha