Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   พีชคณิต (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=15)
-   -   ขอโจทย์ สมการตรีโกณ หน่อยครับ (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=14531)

No.Name 19 สิงหาคม 2011 19:08

ขอโจทย์ สมการตรีโกณ หน่อยครับ
 
ขอโจทย์เกี่ยวกับพวก สมการตรีโกณ หน่อยครับ ขอเริ่มตั้งแต่เบื้องต้นนะครับ เพราะไม่ค่อยเก่ง :please:

gon 19 สิงหาคม 2011 20:48

1. $\sin A + \cos A = 0$

2. $\sin A + \cos A = 1$

3. $\sin A - \cos A = 1$

4. $\sqrt{3}\sin A + \cos A = 0$

5. $\sqrt{3}\sin A + \cos A = 1$

paobluespark 19 สิงหาคม 2011 21:11

โจทย์จะถามอะไรหรอครับ , A มีค่ากี่องศา์?

เวลาจะตอบให้มันซ่อนข้อความทำยังไงหรอครับ

No.Name 19 สิงหาคม 2011 21:17

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gon (ข้อความที่ 122903)
1. $\sin A + \cos A = 0$

$\sin A=\pm \sqrt{1-\cos^2 A}$

กรณีที่ 1 $\sin A=\sqrt{1-\cos^2 A}$

$1-\cos^2 A=\cos^2 A$

$\cos A=\pm \dfrac{1}{\sqrt{2}}$

$A= n\pi+\dfrac{\pi}{4} ,n=0,1,2...$

กรณีที่ 2 $\sin A=-\sqrt{1-\cos^2 A}$

$1-\cos^2 A=\cos^2 A$

$\cos A=\pm \dfrac{1}{\sqrt{2}}$

$A= n\pi+\dfrac{\pi}{4} ,n=0,1,2...$

ผมไม่ค่อยชัวร์อ่ะครับเหมือนคำตอบเกิน

Amankris 19 สิงหาคม 2011 21:19

#3
ซ่อนข้อความใช้คำสั่ง hidden ครับ

#4
การยกกำลังสองทั้งสองข้างอาจจะทำให้มีคำตอบเกินมานะครับ

-InnoXenT- 19 สิงหาคม 2011 21:26

5 ข้อ วิธีทำเดียวกันเลยครับ :)

No.Name 19 สิงหาคม 2011 21:55

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Amankris (ข้อความที่ 122909)
#3
ซ่อนข้อความใช้คำสั่ง hidden ครับ

#4
การยกกำลังสองทั้งสองข้างอาจจะทำให้มีคำตอบเกินมานะครับ

แล้วควรแก้อย่างไรหรือครับ :confused:

Amankris 19 สิงหาคม 2011 21:57

#7
ลองใช้เวลาในแก้ปัญหาเองดูก่อนนะครับ :)


No.Name 20 สิงหาคม 2011 11:39

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Amankris (ข้อความที่ 122917)
#7
ลองใช้เวลาในแก้ปัญหาเองดูก่อนนะครับ :)


ขอบคุณครับ ที่ช่วยเตือนสติ

แบบนี้ได้หรือเปล่าครับช่วยตรวจดูให้ด้วย

$\sin A+\cos A=0$

$\cos A(1+\tan A)=0$

$\tan A=-1$

จะได้ $A= n\pi - \dfrac{\pi}{4},n\in \mathbb{Z} $

$\cos A=0$

จะได้ $A= \dfrac{(2n+1)\pi}{2},n\in \mathbb{Z} $ แต่เมื่อนำไปแทนค่าแล้ว สมการไม่เป็นจริง

$A= n\pi - \dfrac{\pi}{4}$

gon 20 สิงหาคม 2011 21:13

1 ไฟล์และเอกสาร
ข้อ 1. คำตอบสุดท้ายถูกแล้วครับ.

วิธีการแก้สมการตรีโกณพื้นฐานวิธีหนึ่งง่าย ๆ คือการใช้นิยามครับ โดยอาศัยเรขาคณิตวิเคราะห์เบื้องต้น

จากนิยาม จะได้ว่าจุดปลายของ $\theta$ ซึ่งวัดจากจุด (1, 0) ไปบนส่วนโค้งของวงกลมหนึ่งหน่วย $x^2+y^2=1$

จะแทนด้วย (x, y) โดยที่ $x = \cos \theta$ และ $y = \sin \theta$


ดังนั้นอย่างในข้อ 1. จากโจทย์ $\sin A + \cos A = 0$ จะได้ว่า $y + x = 0$

ซึ่งจะได้จุดตัดของเส้นตรงกับวงกลมหนึ่งหน่วยตามรูป ซึ่งเป็นคำตอบของสมการนี้นั่นเอง

ถ้าจะใช้สูตร เช่น $\cos A + \cos B = 2\cos \frac{A+B}{2}\cos\frac{A-B}{2}$

ก็อาจจะแปลงโจทย์ใหม่เป็น $\cos (\frac{\pi}{2} - A) + \cos A = 0$ ก่อน

No.Name 20 สิงหาคม 2011 21:21

ผมงงครับ ทำไมถึงเปลี่ยนเป็น $\dfrac{\pi}{2}-A$ ได้หรอครับ

โปรดชี้แนะด้วยครับ

gon 20 สิงหาคม 2011 21:27

จากสูตร $\cos(A-B) = \cos A \cos B + \sin A \sin B$

ดังนั้น $\cos(\frac{\pi}{2} - A) = \cos \frac{\pi}{2} \cos A + \sin \frac{\pi}{2} \sin A = (0)(\cos A) + (\sin A)(1) = \sin A $

เรื่องพวกนี้จะไม่งง ถ้าไล่พิสูจน์สูตรทุกสูตรตั้งแต่แรกครับ. :happy:

No.Name 20 สิงหาคม 2011 21:49

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gon (ข้อความที่ 122903)

2. $\sin A + \cos A = 1$



ขอบคุณมากครับเข้าใจละครับ

จากข้อเมื่อกี้แปลงได้เป็น

$\cos(\dfrac{\pi}{2}-A)+\cos A=1$

$2\cos\dfrac{\pi}{4}\cos(\dfrac{\pi}{4}-A)=1$

$\cos( A-{\pi}{4})=\dfrac{1}{\sqrt{2}}$

$\dfrac{\pi}{4}-A=2n\pi\pm\dfrac{\pi}{4}$

$A= 2n\pi \ \ ,n\in \mathbb{Z} $

$A=2n\pi+\dfrac{\pi}{2} \ \,n\in \mathbb{Z}$

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gon (ข้อความที่ 122903)

3. $\sin A - \cos A = 1$

จากข้อ 2) ก็ได้

$\sin(\dfrac{\pi}{4}-A)=\dfrac{1}{\sqrt{2}}$

$\sin(A-\dfrac{\pi}{4})=\dfrac{1}{\sqrt{2}}$

$A-\dfrac{\pi}{4}=(2n+1)\pi-\dfrac{\pi}{4}$ ได้ $A=(2n+1)\pi$

$A-\dfrac{\pi}{4}=2n\pi-\dfrac{\pi}{4}$ ได้ $A=2n\pi+\dfrac{\pi}{2}$

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gon (ข้อความที่ 122903)
$\sqrt{3}\sin A + \cos A = 0$

$\dfrac{\cos 30}{\sin 30}\sin A+\cos A=0$

$\sin A\cos 30+\sin 30 \cos A=0$

$\sin(30+A)=0$

$A+30=n\pi$

$A=n\pi-\dfrac{\pi}{6}$

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gon (ข้อความที่ 122903)
$\sqrt{3}\sin A + \cos A = 1$

$\sin(30+A)=\dfrac{1}{2}$

$A=(2n+1)\pi-\dfrac{\pi}{3},2n\pi$

gon 20 สิงหาคม 2011 22:06

คำตอบมีเป็นอนันต์ครับ ถ้าวัดระยะตามเข็มก็เป็นลบ ถ้าวัดทวนเข็มก็เป็นบวก อันนี้ก็เริ่มจากนิยามเหมือนกัน เหมือนเรามีจำนวนจริง -3 ก็มี 2, 3 ได้ แล้วแต่กำหนดทิศหรือสัญลักษณ์

ถ้าไม่ชอบ n ก็แทน n ด้วย -n ก็ได้ครับ

ข้อ 2. ถูกแล้วครับ :great:

เวลาผมแต่งโจทย์พื้นฐาน ผมใช้เรขาเล่นครับ เพราะมันจะตั้งง่ายกว่าคิดโดยใช้พีชคณิตล้วน ๆ

No.Name 20 สิงหาคม 2011 22:21

ขอโจทย์อีกได้ไหมครับ อยากฝึกอีก


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 22:59

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha