Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ข่าวคราวแวดวงประถม ปลาย (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=25)
-   -   สสวท รอบ 2 ออกแล้ววววว..... (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=13179)

math ninja 25 กุมภาพันธ์ 2011 10:25

สสวท รอบ 2 ออกแล้ววววว.....
 
คณิต ป.6 http://www3.ipst.ac.th/genius/images...s/math6_53.pdf

ได้เหรียญอะไรกันบ้าง

ผมได้เหรียญทองแดงงงงงง.....

lekb 25 กุมภาพันธ์ 2011 13:21

หาชื่อลูกชายไม่เจอ...............เจอแล้วครับ ชื่อน้องปิ๋ว...............555

ขอแสดงความยินดีกับน้องๆทุกคนที่ได้รับเหรียญครับ
น้องๆที่ไม่ได้ ก็ขอให้ภูมิในตัวเอง ผ่านรอบแรกมา ก็อยู่ในกลุ่มเด็กเก่ง...เก่งมากอยู่แล้วครับ

สองปีก่อนตอนลูกชายอยู่ ป.3 ไปรับเหรียญ เราไปรถคันเล็กๆ อนุบาลนครราชสีมาไปรถบัสโรงเรียนคันโต ยังแอบอิจฉาเลย แต่ปีนี้ อนุบาลนครราชสีมาไม่มีซักคนเลย เสียดายแทนครับ

มองหาชื่อน้องวรัญญา มหาวนากูล อนุบาลอุบลราชธานี ชนะเลิศเหรียญทอง (107 คะแนน)ได้ถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ไม่ติดรอบสอง หรือว่าน้องไม่ได้ไปสอบ
เห็นแต่ชื่อน้องอริญชย์ จัยสิน อนุบาลอุบลราชธานี สอบชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ได้ 53 คะแนน สสวทรอบ2 ได้เหรียญเงิน

หลายคนที่หมายตาไว้ก็ไม่ติดรอบสองครับ

<JAY> 25 กุมภาพันธ์ 2011 17:55

ไม่ได้เหรียญเลยครับ เข้าทั้งวิทย์และคณิตแต่ไม่ได้เลย แต่ก็ไม่เป็นไรหลอกครับ พรุ่งนี้ก็สอบแล้ว หวังสวนกุหลาบอย่างเดียว

whatshix 25 กุมภาพันธ์ 2011 19:39

บอกกับลูกศิษย์ตั้งแต่ก่อนสอบว่า ผ่านรอบแรก ก็นับว่าเจ๋งมากแล้ว
ส่วนรอบสองคือประสบการณ์ ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร

ปีนี้วัดที่การเขียนจริงๆ
ตัวผมเอง ปีหน้าก็คงต้องฝึกฝนการเขียนงานของลูกศิษย์ให้มากขึ้น

เด็กตรอกจันท์ 25 กุมภาพันธ์ 2011 20:37

การฝึกฝนเขียน แสดงแนวคิดเพื่อชิงชัยให้ได้เหรียญ สสวท
นี่เป็นหนทางในการพัฒนาสู่อัจฉริยภาพทางคณิต หรือครับ
ผมไม่แน่ใจว่า สสวท ต้องการพัฒนา นักวิทย์-คณิต ที่เป็นเลิศ
หรือต้องการสร้างครูบาอาจารย์ที่มีทักษะที่ดีในการสอนเด็กกันแน่

ผมว่า ไอแซคนิวตัน ก็ไม่น่าเขียนแนวคิดอย่างที่ สสวท ต้องการได้ดีหรอกครับ

whatshix 25 กุมภาพันธ์ 2011 21:05

เห?
ความหมายของผม นี่ ไม่ใช่มุ่งเน้นการเอาชนะนะครับ ใจเย็นๆครับ
แต่ความหมายของผมคือ การเขียนงานได้ดี จะทำให้เด็กๆได้ฝึกแสดงแนวคิดของตัวเอง
วันข้างหน้าเมื่อเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทักษะการเขียนอธิบายงานของตัวเอง ก็เป็นอะไรที่สำคัญไม่ใช่หรือครับ

ส่วนคำถามที่ว่า สสวท ต้องการสร้างนักวิทยาศาสตร์ หรือ ครู กันแน่
ผมมองว่า สสวท ต้องการสร้างทั้งสองอย่างนั่นแหละครับ
เพราะวงการวิทยาศาสตร์จะพัฒนาได้มันก็ต้องเริ่มจากตัวครูด้วย แล้วก็ตัวเด็กด้วย
(ผมไม่ได้เข้าใจอะไรผิดไปใช่ไหมครับ?)

ส่วนเรื่องรางวงรางวัลนั่น บอกตรงๆ ผมไม่ได้เอามันมาเป็นสาระสำคัญอะไรเลยจริงๆครับ
(ก็อย่างที่บอกลูกศิษย์ไปว่า ได้ก็ดีใจด้วย ไม่ได้ก็ถือเป็นประสบการณ์)
เพียงแต่ว่า ผมมองว่ามันเป็นเรื่องดีที่มันมีอะไรมาย้ำเตือนว่า
ถึงเราเป็นครูเราก็ต้องหมั่นฝึกฝนตัวเองเหมือนกัน

Amankris 25 กุมภาพันธ์ 2011 21:26

นั่งยัน นอนยัน ยืนยัน เลยว่า


เด็กประถมร้อยละ99 (ต่อให้เป็นเด็กแข่งด้วยเอ้า) เขียนมาแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง

เป็นเพราะระบบการศึกษาของไทยนั้น เน้นให้เด็กท่องจำมากกว่าคิดเป็นครับ

กระบี่บูรพา 25 กุมภาพันธ์ 2011 23:24

ลูกผมพอบอกให้เขียนก็เกร็งไปหมดเลยนะครับ กลัวไม่ได้คะแนน สรุปว่าคิดเพี้ยนหมดผิดฟอร์มเลยครับ

whatshix 26 กุมภาพันธ์ 2011 08:50

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Amankris (ข้อความที่ 111399)
นั่งยัน นอนยัน ยืนยัน เลยว่า


เด็กประถมร้อยละ99 (ต่อให้เป็นเด็กแข่งด้วยเอ้า) เขียนมาแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง

เป็นเพราะระบบการศึกษาของไทยนั้น เน้นให้เด็กท่องจำมากกว่าคิดเป็นครับ

อันนี้เห็นด้วยครับ
สสวท เองก็คงเล็งเห็นจุดนี้เหมือนกัน
ก็เลยพยายกระตุ้นให้ทางโรงเรียนต่างๆเล็งเห็นความสำคัญของการอธิบายความคิดของตัวเองให้มากขึ้น
อันนี้ผมชื่นชม สสวท เลยนะ เพราะการตรวจข้อสอบแบบเขียนแสดงวิธีทำนี่มันเหนื่อยกว่าเติมคำตอบหรือปรนัยแน่นอน

ลูกศิษย์ผมบางคนนี่ แก้โจทย์กันได้รวดเร็วมาก
แต่พอให้ลองอธิบายเพื่อนๆ ไม่รู้มันพูดอะไรของมัน :haha:

ผมพยายามบอกลูกศิษย์เสมอว่า
เฮ้ย เอ็งเก่ง เอ็งก็ต้องสื่อสารกับชาวบ้านเขารู้เรื่องด้วย
ถ้าพูดไม่รู้เรื่อง ก็เริ่มจากการเขียนนี่แหละ เพราะเขียนมันลบได้ แก้ได้ แต่พูดอาจจะพูดแล้วพูดเลย
ถ้าเก่งแต่สื่อสารกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง ก็เป็นพวก ข้าเก่ง ข้าแน่อยู่คนเดียว
(เคยเจอกันใช่ไหมครับ คนที่เก่งโคตรๆ แต่พูดจาไม่ค่อยรู้เรื่อง)

ผมขอยืนยันเช่นกันว่า
การฝึกฝนเขียนงานและสื่อสารให้รู้เรื่อง เป็นสิ่งจำเป็น
อันที่จริงไม่ใช่เฉพาะการเป็นนักวิทยาศาสตร์
อาชีพอื่นๆ เราก็ล้วนต้องสื่อสารกับคนอื่นเช่นกัน

โคนันคุง 26 กุมภาพันธ์ 2011 14:41

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ whatshix (ข้อความที่ 111395)
เห?
ความหมายของผม นี่ ไม่ใช่มุ่งเน้นการเอาชนะนะครับ ใจเย็นๆครับ
แต่ความหมายของผมคือ การเขียนงานได้ดี จะทำให้เด็กๆได้ฝึกแสดงแนวคิดของตัวเอง
วันข้างหน้าเมื่อเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทักษะการเขียนอธิบายงานของตัวเอง ก็เป็นอะไรที่สำคัญไม่ใช่หรือครับ

ส่วนคำถามที่ว่า สสวท ต้องการสร้างนักวิทยาศาสตร์ หรือ ครู กันแน่
ผมมองว่า สสวท ต้องการสร้างทั้งสองอย่างนั่นแหละครับ
เพราะวงการวิทยาศาสตร์จะพัฒนาได้มันก็ต้องเริ่มจากตัวครูด้วย แล้วก็ตัวเด็กด้วย
(ผมไม่ได้เข้าใจอะไรผิดไปใช่ไหมครับ?)

ส่วนเรื่องรางวงรางวัลนั่น บอกตรงๆ ผมไม่ได้เอามันมาเป็นสาระสำคัญอะไรเลยจริงๆครับ
(ก็อย่างที่บอกลูกศิษย์ไปว่า ได้ก็ดีใจด้วย ไม่ได้ก็ถือเป็นประสบการณ์)
เพียงแต่ว่า ผมมองว่ามันเป็นเรื่องดีที่มันมีอะไรมาย้ำเตือนว่า
ถึงเราเป็นครูเราก็ต้องหมั่นฝึกฝนตัวเองเหมือนกัน

สุดยอดค่ะอาจารย์ เด็กเดี่ยวนี้คิดเร็วแต่แก้ปัญหายังไม่เป็น เพราะได้สูตรลัดมากันเยอะ แต่พอให้อธิบายก็ยังอธิบายไม่ถูกค่ะ เจอสสวท.ดักทางเข้าแล้ว สู้ต่อไปค่ะอาจารย์

โคนันคุง 26 กุมภาพันธ์ 2011 14:42

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Amankris (ข้อความที่ 111399)
นั่งยัน นอนยัน ยืนยัน เลยว่า


เด็กประถมร้อยละ99 (ต่อให้เป็นเด็กแข่งด้วยเอ้า) เขียนมาแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง

เป็นเพราะระบบการศึกษาของไทยนั้น เน้นให้เด็กท่องจำมากกว่าคิดเป็นครับ

เห็นด้วยค่ะ:please::please::please:

หยินหยาง 26 กุมภาพันธ์ 2011 22:12

เด็กจะเขียนอธิบายเป็นหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับครูผู้สอน ถ้าครูไม่ได้สอน ก็อยากที่จะเขียนอธิบายเป็น ตราบใดที่การสอนกับการวัดผล(การแข่งขันหรือการทดสอบ)ไม่ได้เดินไปแนวทางเดียวกันแล้วจะได้ผลลัพธ์ที่งดงามได้อย่างไร

ปล. อย่าว่าแต่เด็กที่เขียนอธิบายไม่เป็นครูบางท่านยังเขียนอธิบายไม่รู้เรื่องก็มี ถนัดแต่ประโยคสัญลักษณ์ก็มีไม่น้อย

theme2010 27 กุมภาพันธ์ 2011 06:01

ไม่น่าเชื่อว่าในระดับช่วงชั้นที่ 1 ร.ร.เอกชนชื่อดังใน จ.นครปฐม รอบแรกผ่าน 10 กว่าคน จะเหลือเพียงคนเดียว ส่วนจังหวัดที่ผมอยู่(ราชบุรี) ไม่มีเลย คงต้องมีการปรับตัวกันใหม่กับแนวคิดของ สสวท.ที่เปลี่ยนไป

KOK 27 กุมภาพันธ์ 2011 09:51

ผู้ได้รับรางวัลเหรียญทองสสวท.คณิตศาสตร์ ประจำปี 2553 มี 15 คนดังนี้

1. เด็กชายกฤษฏ์ บุญศิริเศรษฐ์ สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. เด็กชายญาณภัทร เหมรัฐพาณ ศุภลักษณ์

3. เด็กชายณฤเดช แปงปา อยู่เย็นวิทยา

4. เด็กชายณัฐ ดำรงสุนทรชัย สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

5. เด็กชายณัฐพัชร พงศ์จิรภัทร อัสสัมชัญแผนกประถม

6. เด็กชายธีระ ชัยทวีโชค อนุบาลสุธีธร

7. เด็กชายปณิธิ มงคลปทุมรัตน์ สาธิต มศว ประสานมิตร

8. เด็กชายภัทร์ กิตติพงศ์พัฒน์ อนุบาลสุธีธร

9. เด็กชายภานุพันธุ์ พันธุ์พฤกษ์ อัสสัมชัญแผนกประถม

10. เด็กชายยศกร เหล่าภักดีวุฒิ อัสสัมชัญแผนกประถม

11. เด็กชายวิชญ์พล เด่นดำรงทรัพย์ สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

12. เด็กชายวิณ สุพันธุ์วณิช ราชวัตรวิทยา

13. เด็กชายวิศรุต นิติเรืองจรัส สุวรรณวงศ์

14. เด็กชายศิรธีร์ วัฒนสุรีย์พจน์ อัสสัมชัญแผนกประถม

15. เด็กหญิงอารยา ศรวณีย์ อนุบาลนครสวรรค์

เด็กตรอกจันท์ 27 กุมภาพันธ์ 2011 18:49

"การฝึกฝนเขียนงานและสื่อสารให้รู้เรื่อง เป็นสิ่งจำเป็น"

แต่มันเร็วเกินไปสำหรับเด็กประถมหรือเปล่าครับ ?

แล้วทำไม สอบ สพฐ รอบสอง ก็ยังไม่เขียนแนวคิดเลย
ประถมโลกที่ฮ่องกง ก็เหมือนกัน

ขอบคุณมากที่ช่วยชี้แนะครับ


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 14:03

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha