Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ฟรีสไตล์ (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=6)
-   -   สอบถามเกี่ยวกับการศึกษาต่อด้านคณิตศาสตร์ (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=15327)

[M]Zeron 05 มกราคม 2012 21:20

สอบถามเกี่ยวกับการศึกษาต่อด้านคณิตศาสตร์
 
สวัสดีเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ชาว Mathcenter นะครับ ผมเป็นสมาชิกใหม่ ตอนนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความชอบและต้องการที่จะศึกษาในสาขาคณิตศาสตร์ในระดับสูงต่อไป ผมมีเรื่องที่อยากปรึกษาท่านผู้รู้ทุกท่านในบอร์ดนี้ครับ
1. พอจบทางด้านนี้แล้วสามารถทำงานด้านไหน(อาชีพ)ได้บ้างครับ :confused:
2. การศึกษาต่อทางด้านนี้ ถ้าเป็นการศึกษาต่างประเทศ มีประเทศไหนที่พอจะแนะนำบ้างมั้ยครับ แนะนำเป็นประเทศ หรือมหาวิทยาลัยเลยก็ได้นะครับ (ทำอย่างกับจะได้ไป :sweat:)

ขอบคุณมากที่ให้คำชี้แนะครับ

nooonuii 06 มกราคม 2012 09:44

1. อาชีพยอดนิยมของคนเรียนคณิตศาสตร์คือเป็นครู อาจารย์ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงอุดมศึกษา

ที่เหลือก็เป็นติวเตอร์ ทำงานธนาคาร เป็นโปรแกรมเมอร์ พนักงานขายประกัน ทำงานในกรมอุตุนิยมวิทยา

เป็นนักวิจัยที่ Nectec และทำงานที่ตลาดหุ้น บางคนเรียนคณิตศาสตร์จบปริญญาตรีแล้วก็ไปเรียนต่อสาขาอื่นได้ด้วยอย่างเช่น

วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์

ประมวลจากคนรู้จักที่จบทางด้านนี้ครับ

2. มีสี่กลุ่มประเทศที่นิยมไปเรียนกัน คือ

(a) สหรัฐอเมริกากับแคนาดา

(b) ยุโรป

(c) ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์

(d) สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น

แถมอีกหนึ่งกลุ่มเพราะมีความแข็งแกร่งทางด้านคณิตศาสตร์มากทีเดียว

แต่ยังไม่มีข้อมูลว่ามีคนไทยไปเรียนกันบ้างหรือเปล่า

(e) อิสราเอล ตะวันออกกลาง และ อินเดีย

แต่ละกลุ่มก็จะมีวิธีการเรียนไม่เหมือนกัน ยังมีเวลาอีกเยอะลองศึกษาหาข้อมูลไปเรื่อยๆครับ

DevilMath 11 มกราคม 2012 08:39

ผมอยากรู้ว่าทำงานในกรมอุตุนิยมวิทยา เนี่ย ตำเเหน่งอะไรอ่ะครับ ไม่ค่อยมีข้อมูลด้านนี้เลย

nooonuii 11 มกราคม 2012 09:16

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ DevilMath (ข้อความที่ 130394)
ผมอยากรู้ว่าทำงานในกรมอุตุนิยมวิทยา เนี่ย ตำเเหน่งอะไรอ่ะครับ ไม่ค่อยมีข้อมูลด้านนี้เลย

ตอนนี้เขาเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิครับ

จริงๆแล้วงานไม่เกี่ยวกับที่เรียนเท่าไหร่ต้องไปอบรมความรู้เพิ่มเติมทางธรณีวิทยาด้วยครับ

Real Matrik 11 มกราคม 2012 17:01

สำหรับการเป็นอาจารย์
อยากทราบว่าในหนึ่งวันต้องสอนอย่างต่ำกี่ชั่วโมงหรือครับ :confused:

nooonuii 11 มกราคม 2012 17:29

ขึ้นอยู่กับสถาบันการศึกษาด้วยครับ ถ้าเป็นที่ทำงานผมตอนนี้ผมสอนอาทิตย์ละ $6$ ชั่วโมงครับ

แต่จะมีงานอย่างอื่นที่ต้องทำอีกมากมาย

krutuay 11 มกราคม 2012 19:22

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii (ข้อความที่ 130423)
ขึ้นอยู่กับสถาบันการศึกษาด้วยครับ ถ้าเป็นที่ทำงานผมตอนนี้ผมสอนอาทิตย์ละ $6$ ชั่วโมงครับ

แต่จะมีงานอย่างอื่นที่ต้องทำอีกมากมาย

คุณ nooonuii พอจะยกตัวอย่างงานอื่น ๆ ให้อ่านได้บ้างไหมครับ

DevilMath 11 มกราคม 2012 20:53

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii (ข้อความที่ 130395)
ตอนนี้เขาเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิครับ

จริงๆแล้วงานไม่เกี่ยวกับที่เรียนเท่าไหร่ต้องไปอบรมความรู้เพิ่มเติมทางธรณีวิทยาด้วยครับ

เเล้วมันไม่มีตำเเหน่งของพวกที่ใช้เเบบจำลองทางคณิตศาสตร์หรอครับ

ถึงคุณkrutuay อยากรู้งานด้านไหนละครับ

nooonuii 11 มกราคม 2012 21:42

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีไปก็แค่นั้นครับ

มีข้อจำกัดเยอะใช้งานจริงไม่ได้ผล

ใช้ดาวเทียมสะดวกกว่าครับ

nooonuii 11 มกราคม 2012 21:47

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ krutuay (ข้อความที่ 130432)
คุณ nooonuii พอจะยกตัวอย่างงานอื่น ๆ ให้อ่านได้บ้างไหมครับ

งานอื่นๆหมายถึงงานจำพวก ทำวิจัย เป็นวิทยากรในโครงการต่างๆ เขียนตำรา ครับ

t.B. 12 มกราคม 2012 01:55

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii (ข้อความที่ 130454)
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีไปก็แค่นั้นครับ

มีข้อจำกัดเยอะใช้งานจริงไม่ได้ผล

ใช้ดาวเทียมสะดวกกว่าครับ

กด like ครับ (พี่ gon น่าจะทำระบบกด like แบบ facebook ในMCTได้) รู้สึกว่ายิ่งผมเรียนยิ่งเจอแต่ assumption ที่ over simplify ทั้งนั้น

ผมมองว่า math ก็เป็น logic แบบหนึ่ง ดังนั้นความถูกต้องต่อความเป็นจริง ก็เทียบเท่ากับ logic หรือเหตุผลที่ใช้อ้างอิงกับข้อเท็จจริงต่างๆ
ดังนั้น การ assume เรื่องต่างๆที่เห็นชัดว่า logic มีข้อผิดพลาด (แต่เพื่อความง่ายเลยต้องทำ) ก็ไม่ต่างจากบิดเบือนข้อเท็จจริงบนโลก ไม่ต่างจากการหลอกตัวเอง
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าให้อภัยสำหรับคนที่ต้องการศึกษาข้อเท็จจริงบนโลก(แต่กลับไปบิดเบือนมัน)
อย่างดีที่สุดก็คือเอา logic หลายๆอันมาร้อยเรียงกันด้วยคณิตศาสตร์ แล้วก็เอาไปอนุมานสิ่งที่จะเกิดขึ้น
แต่เท่าที่รู้ตอนนี้ก็ยังไม่ได้ทำนายอนาคตได้แม่นยำอะไรนัก อาจจะเพราะ logic ที่ weak เกินและข้อมูลสำคัญที่ไม่เพียงพอ (หรือบางทีอาจจตะต้องรอให้มีพลังวิเศษ ล่วงรู้อนาคต ถึงจะบอกได้ :p)
ตอนนี้เลยคิดว่าความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้นๆต่างหากสำคัญกว่าเยอะ :sweat::cry:

มีคำกล่าวคำหนึ่งที่ผมเห็นว่า ตรงประเด็นดีสำหรับบางเรื่อง คือ มันไม่สำคัญว่าความน่าจะเป็นที่มันจะเกิดเป็นเท่าไร แต่ที่สำคัญคือถ้ามันเกิดคุณจะจัดการกับมันยังไงมากกว่า (กล่าวคือ manage สำคัญกว่า measure) และคิดว่านี่เป็นพอยส์สำคัญในเรื่อง risk management เลย

DevilMath 12 มกราคม 2012 22:13

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii (ข้อความที่ 130454)
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีไปก็แค่นั้นครับ

มีข้อจำกัดเยอะใช้งานจริงไม่ได้ผล

ใช้ดาวเทียมสะดวกกว่าครับ

งั้นหรอครับ เเล้วผมเรียนจะคณิตศาสตร์บางวิชาไปทำไมเนี่ยในเมื่อมันใช้ไม่ได้

อีกอย่างครับ คือต่อให้เรามีโมเดลทางคณิตศาสตรืดีเลิศเเค่ไหน เเต่ถ้าไม่นำไปใช้มันก็เเค่กองกระดาษล่ะครับ

nooonuii 13 มกราคม 2012 10:41

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ DevilMath (ข้อความที่ 130558)
งั้นหรอครับ เเล้วผมเรียนจะคณิตศาสตร์บางวิชาไปทำไมเนี่ยในเมื่อมันใช้ไม่ได้

อีกอย่างครับ คือต่อให้เรามีโมเดลทางคณิตศาสตรืดีเลิศเเค่ไหน เเต่ถ้าไม่นำไปใช้มันก็เเค่กองกระดาษล่ะครับ

ใช้ไม่ได้เพราะว่าเรื่องเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยาเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนจนคณิตศาสตร์ยังเข้าไม่ถึงครับ

เนื่องจาก scale ของสิ่งที่ศึกษาใหญ่เกินไปและมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก

ผมถึงบอกว่าแบบจำลองมีไปก็แค่นั้นเพราะมันไม่สมจริง

เมื่อ scale ใหญ่โตมากและมีปัจจัยมาเกี่ยวข้องเยอะ ความอลวน(chaos) ก็เกิดได้ง่าย

ถึงจะให้ดาวเทียมติดตามอยู่ตลอดเวลาแต่เราก็ยังทำนายล่วงหน้าไม่ได้ว่าพายุลูกหนึ่งจะขึ้นฝั่งที่ไหนกันแน่

ทำได้แต่ในช่วงเวลาแคบๆเท่านั้นครับ :rolleyes:

DevilMath 13 มกราคม 2012 11:41

ขอบคุณ คุณnooonuii มากเลยครับ ได้รู้อะไรอีกเยอะเลย ผมมีคำถามต่อครับ
1.คุณnooonuii เป็นอาจารย์มหาลัยใช่หรือเปล่าครับ???
2.มีนักคณิตศาสตร์ที่เค้าทำงานในตลาดหุ้นไทยหรือไม่ครับเพราะเห็นคนเรียนFinancial mathematics /Mathematical finance/Financial engineering เยอะเลย เห็นพวกเค้าใช้โมเดลทางการเงินอ่ะ มันเเม่นยำหรือเปล่า ???
3.เเล้วโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการเเพทย์ละครับ มันมีความเเม่นยำเเค่ไหน???
4. คิดว่าคนที่จบPhD mathematics ในเมืองไทย กับคนที่จบ ในต่างประเทศคนไหนเก่งกว่ากัน ???

nooonuii 13 มกราคม 2012 13:29

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ DevilMath (ข้อความที่ 130586)
ขอบคุณ คุณnooonuii มากเลยครับ ได้รู้อะไรอีกเยอะเลย ผมมีคำถามต่อครับ
1.คุณnooonuii เป็นอาจารย์มหาลัยใช่หรือเปล่าครับ???
2.มีนักคณิตศาสตร์ที่เค้าทำงานในตลาดหุ้นไทยหรือไม่ครับเพราะเห็นคนเรียนFinancial mathematics /Mathematical finance/Financial engineering เยอะเลย เห็นพวกเค้าใช้โมเดลทางการเงินอ่ะ มันเเม่นยำหรือเปล่า ???
3.เเล้วโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการเเพทย์ละครับ มันมีความเเม่นยำเเค่ไหน???
4. คิดว่าคนที่จบPhD mathematics ในเมืองไทย กับคนที่จบ ในต่างประเทศคนไหนเก่งกว่ากัน ???

1. ใช่ครับ

2. ไม่มีข้อมูลครับ

3. ตัวแบบทางคณิตศาสตร์สร้างขึ้นมาภายใต้สมมติฐานมากมาย

เพื่อให้สามารถนำทฤษฎีทางคณิตศาสตร์มาอธิบายสิ่งที่สนใจได้

ถ้าพูดถึงความแม่นยำก็คงต้องดูถึงรูปแบบการนำโมเดลไปใช้ด้วยครับ

ถ้าเอาไปใช้ในระบบเปิดที่มีปัจจัยภายนอกเยอะ อยู่นอกเหนือการควบคุมของโมเดล

ก็คงจะแม่นยำน้อยกว่าระบบปิดที่มีการควบคุมปัจจัยต่างๆเป็นอย่างดี

เท่าที่ผมทราบโมเดลส่วนใหญ่จะเน้นตอบคำถามเชิงคุณภาพมากกว่าคำถามที่เน้นความแม่นยำครับ

4. เก่งเป็นคำอนิยามสำหรับผม จึงไม่มีความเห็นครับ


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 20:22

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha