Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ฟรีสไตล์ (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=6)
-   -   ท่านมีความคิดเห็นอย่่างไรเกี่ยวกับระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=10280)

หยินหยาง 11 มีนาคม 2010 23:02

ท่านมีความคิดเห็นอย่่างไรเกี่ยวกับระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
 
กติกาคือ ห้ามด่า ห้ามใช้คำผรุสวาท แต่ถ้าอัดอั้นมาก จะเหน็บ จะเสียดสี ประชดประชันเพื่อให้เกิดสีสรร ไม่ว่ากันครับ:)
และถ้าวิจารณ์ เสนอความคิดเห็นและสิ่งที่ควรจะเป็นได้ด้วยละก็ สุโค้ย ครับ:great:

เอกสิทธิ์ 11 มีนาคม 2010 23:07

o-net มีสอบวิชาคณิตศาสตร์หรือเปล่าครับ มันสอบอะไรบ้าง ที่เห็นในทีวี คล้ายจะเป็นวิชาสังคม การงานพื้นฐานอาชีพ ภาษาไทย (การอ่าน) อะไรทำนองนั้น ใครรู้ช่วยตอบทีครับ

เพิ่มเติมครับ ถ้าข้อสอบ 0-net มีแต่ข้อสอบตามแนวที่ออกทีวี ถือว่าการออกข้อสอบคัดคนเข้ามหาวิทยาลัยค่อนข้างไร้สาระมาก ๆ ๆ ๆ เลยครับ
แต่ถ้ามีหลายนวิชาผมมองว่าปกติครับ ตอนผมสอบเอ็นทรานซ์ยังมีคนเอนติดวิศวะเพราะวิชาภาษาไทยและสังคม กับวิชาภาษาอังกฤษ เลย

passer-by 12 มีนาคม 2010 07:10

ผมจะไม่เน้น ประเด็นที่ถกเถียงตามรายการโทรทัศน์แล้วกันครับ เพราะพูดกันไปเยอะแล้ว

ขอเน้น 1-2 อย่างเกี่ยวกับข้อสอบบาง paper ที่ผมเห็นแล้วขัดใจมากคือ....

1. ผมไม่เข้าใจว่าทำไม ต้องมีการสอบ GAT เชื่อมโยง ซึ่งผลที่ตามมา คือ ผมเห็นเด็กแห่ไปเรียนพิเศษ GAT เชื่อมโยงมากขึ้น แล้วมันจะแก้ปัญหาเด็กไปเรียนนอกระบบได้อย่างไร

2. หลังจากที่ผมเห็นข้อสอบ pack 5 : สุขศึกษา พลศึกษา การงาน ศิลปะ ดนตรี แล้วผมมี 2 ความรู้สึก คือ ใครมันจะไปทำทัน กับ ใครมันจะไปรู้หมดทุกอย่างที่เขาถาม (กล้ามเนื้อสีแดง สีขาวคืออะไร ผมก็เพิ่งเคยเห็นในข้อสอบครั้งนี้แหละ)

คำถามบางอย่าง น่าจะเก็บไว้ให้พวก สอบเอกดนตรี เอกศิลปะ จะเหมาะกว่า

แต่ถ้า สทศ. บอกว่า เป็นไปตามหลักสูตร ถ้าจะโทษ ต้องไปโทษคนเขียนหลักสูตร

ผมก็จะถามต่อไปว่า

- หลักสูตรต้องการจากเด็ก ม.ปลาย มากเกินไปมั้ย (ผมจำได้ว่า รุ่นผมศิลปะ ดนตรี พอถึง ม.ปลาย มันก็เป็นเหมือนวิชาเลือกเสรี ออกมาในรูปแบบชมรม ชุมนุมมากกว่า และอีกประเด็น คือรุ่นผมไม่มีสอบ ดาราศาสตร์ แต่รุ่นนี้มี)

- เด็กที่จะเอนทรานซ์สายวิทย์ จำเป็นต้องรู้ ศิลปะ ดนตรี ในระดับที่เข้มข้นขนาดนี้เลยหรือ และสิ่งที่ตามมา จากการที่จำนวนวิชามากขึ้น ก็คืองานจะมากขึ้น สอบกลางภาค-ปลายภาคมีน้ำหนักคะแนนลดลง เกรดเฟ้อขึ้น เวลาอ่านหนังสือวิชาอื่นน้อยลง (มันดีแล้วหรือ....)

- เราบังคับให้โรงเรียนทั่วประเทศ เรียนกีฬาแบบเดียวกันไม่ได้ มันขึ้นกับโรงเรียน ขึ้นกับท้องถิ่น ขึ้นกับจำนวนคนสอน เพราะฉะนั้น จะมาเลือกออกข้อสอบแต่กีฬาตามใจคนตั้งโจทย์ เหมือนใน onet ครั้งนี้ ก็ไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่

ผมว่า อะไร ลดได้ ตัดได้ ขยับได้ ทั้งในหลักสูตร และในข้อสอบ ก็ทำกันบ้างเถอะครับ ไม่งั้นยิ่งแก้หลักสูตร อาจจะยิ่งแย่ขึ้น

p.s. ไม่แน่ใจว่า ผมทำผิดเจตนาคนตั้งกระทู้นี้หรือเปล่า เพราะคำว่า ด่า กับแสดงความเห็น ดูเหมือนจะแค่มีเส้นบางๆคั่นอยู่เท่านั้น:laugh:

หยินหยาง 12 มีนาคม 2010 14:33

#3 ไม่ได้ผิดเจตนาเลยครับ และคำด่าก็ไม่มี แถมยังได้เนื้อหาสาระซะอีก :great:
ที่ผมตั้งกระทู้นี้เพราะในส่วนตัวผมคิดว่าระบบการศึกษาของไทยยิ่งแก้ยิ่งยุ่งและมีปัญหามาก ผมจึงอยากสะท้อนความคิดเห็นต่างพร้อมเหตุผลเพื่อให้นักการศึกษาหรือใครที่มีส่วนผลักดันทางด้านการศึกษาไทยได้รับรู้และมีสติที่จะเปลี่ ยนแปลงและแก้ไข ผมเห็นปัญหาตั้งแต่พยายามใช้แนวคิดการสอนแบบบูรณการเข้ามาอยู่ในหลักสูตร ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีตามความเห็นผมแต่ปัญหาก็คือขาดบุคคลากรที่มีความรู้ และยังทำให้ความห่างทางด้านการศึกษายิ่งห่างไปอีกโดยเฉพาะโรงเรียนในต่างจังหวัด
ผมขอแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องๆ เพื่อให้ง่ายในการเห็นปัญหา และอาจไม่ได้แสดงความเห็นทั้งหมดในวันเดียว ทั้งนี้เพื่อให้ท่านอื่นร่วมแสดงความเห็นด้วย

1. หนังสือยืมเรียน เจตนาดีเพื่อที่จะลดภาระให้กับคนยากจนที่ไม่มีกำลังทรัพย์ แต่ไม่ได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าระบบการศึกษาจะมีการวัดผลเป็นช่วงชั้น และการสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ต้องใช้ความรู้ทั้งช่วงชั้นในการสอบ เพราะหนังสือยืมเรียนพอขึ้นชั้นใหม่ต้องคืนเพื่อให้รุ่นต่อไปได้เรียน ผมก็ยังสงสัยว่าพอถึง ม.6 แล้วจะเอาหนังสือ ม.4-5 ที่ไหนมาทบทวน ทำไมไม่ให้ยืมเรียนเป็นช่วงชั้น คือให้ยืมเรียนเป็นช่วงชั้นคือ 3 ปีไปเลย เด็กจบ ป.6 ม.3 หรือ ม.6 จะได้ไม่มีปัญหา อีกอย่างการบันทึกหรือการจดย่อก็ถูกห้ามอีกในบางโรงเรียน ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกของการเรียนหนังสือ ผมก็เลยไม่เข้าใจว่าคนคิดใช้อะไรคิด หรือเค้าไม่มีลูกหลานที่จะต้องไปสอบเข้าที่อื่นหรือมีก็ใช้สิทธิพิเศษเข้าได้เลยมั้ง จึงไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้

2. จำเป็นด้วยหรือที่ต้องเรียน ม.6 การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยนั้นมีการคัดเลือกได้หลายทางหลายรูปแบบ ตั้งแต่รับตรง โควต้า แอดมิชชั่นกลาง ในกรณีรับตรงหรือโควต้าที่แต่ละมหาวิทยาลัยรับกันเอง จะเปิดให้สมัครช่วงเดือน กค.-สค. และประกาศผลประมาณเดือน พ.ย. เด็กจะต้องวิ่งรอกไปสมัครแต่ละมหาวิยาลัย และสอบแต่ละที่ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งเปลืองโดยสิ้นเชิง อีกอย่างก็ใ้ห้มีการสอบ แกะ-แพะ (GAT_PAT) ปีละ 3 ครั้ง ซึ่งเมื่อก่อนให้สอบตั้งแต่ ม.5 พึ่งมาคิดได้ว่าคงเดินผิดทางก็เลยเปลี่ยนใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษาหน้าให้สอบเฉพาะ ม.6 ลองคิดดูว่า ถ้าให้เด็ก ม.5 สอบได้ เด็กจะเอาความรู้ ม.6 จากที่ไหน สรุปก็คือผู้มีอันจะกินก็ไปเรียนพิเศษ ผมถึงบอกว่ายิ่งแก้ปัญหาการศึกษาโดยที่เคยบอกว่าเป็าหมายหนึ่งของการแก้ระบบการศึกษาก็คือจะทำให้พวกโรงเรียนกวดวิชาทั้งหลายหมดไป แต่ยิ่งทำยิ่งขยายสาขา และการให้มีการสอบหลายครั้งก็เป็นอีกเรื่องในระบบการแข่งขันที่ผมเห็นว่าไม่เกิดความเป็นธรรม เพราะเท่าที่เห็นมาตัวข้อสอบของแต่ละครั้งมีข้อผิดพลาดมาก อย่างเช่นถ้าจำไม่ผิดของการสอบเมื่อปีที่แล้วมีอยู่ครั้งหนึ่งในการ สอบ แพะ 4 กับแพะ 5 ให้คะแนนฟรีไปตั้ง 30 คะแนน มันจะวัดกันได้อย่างไร และยังไม่นับที่มีการออกข้อสอบผิดพลาดหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งก็มีการวิจารณ์ในกระทู้ของ math center ก็มี นี่ยังไม่นับรวมระดับของความยากในการสอบแต่ละครั้ง ถ้าคนที่เคยสอบ แพะ-1 ครั้งแรกสุดจะรู้ว่าข้อสอบง่ายกว่าครั้งหลังๆมาก การจัดสอบลักษณะนี้ควรเป็นข้อสอบที่ได้มาตรฐานเหมือน ข้อสอบ toefl และคะแนนที่ได้ก็เป็นส่วนประกอบเท่านั้นไม่ใช่ชี้เป็นชี้ตาย กลับมาเข้าเรื่องที่ให้ตรงกับหัวข้อดีกว่า จะเห็นว่าเด็ก ม.5 หรือ ม.6 ทีสอบครั้งแรกคือเดือน กค. ต้องไปเรียนพิเศษเพื่อให้มีความรู้ ม.6 ยิ่งถ้าได้คะแนน แกะ-แพะ สูงด้วยแล้วไม่ต้องพูดถึงการเรียนที่โรงเรียนเลย และถ้ายื่นรับตรงผลออกมาว่าติด ก็จบกันไม่รู้จะเรียน ม.6 ไปทำไมเพราะหลายโรงเรียนก็สอนน่าเบื่อยู่แล้วไม่เชื่อก็ไปถามเด็กที่เรียนพิเศษดูครับ
ขอพอแค่นี้ก่อน มีเวลาเดี๋ยวจะมาต่อให้ครับ:nooo::sweat:

-SIL- 12 มีนาคม 2010 14:56

นานเท่าไหร่แล้วไม่รู้ที่ความศรัทธาในระบบการศึกษาไทยหมดไป :)

gon 12 มีนาคม 2010 15:26

ปัญหาด้านการศึกษามันมีหลายตัวแปรเยอะจัดครับ ถ้าจำไม่ผิด ผมกับ Top เคยถกกันเรื่องนี้เมื่อประมาณสิบกว่าปีก่อน :rolleyes: ตอนนั้นกำลังไฟแรงครับ ได้ข้อสรุปว่าไม่สามารถแก้ได้ อีกเรื่องก็คือ ไม่ต้องคาดหวังว่า ผู้ใหญ่ที่เราเห็นหรือรู้จักตอนนี้จะสามารถแก้อะไรได้ ถ้าคิดจะแก้หรืออยากจะทำอะไร ต้องลงมือทำด้วยตัวเองเท่านั้นครับ สิ่งที่เรารู้หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องใดควรไม่ควร คนที่มีอำนาจในเรื่องนี้กลับทำให้มันอิรุงตุงนังขึ้นไปอีก

ผมเห็นเรื่องแบบนี้จนชาชิน :o จึงไม่เขียนแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ที่ไหนอีก ไว้ถึงเวลาถ้าเรามีอำนาจเข้าไปจัดการตรงนั้นได้(สมมติ) เราก็จัดการโละเลยครับ :yum: การแสดงหรือระดมความคิดเห็นเป็นเรื่องที่ดี แต่ความคิดเห็นที่ดีต้องมีผู้นำไปปฏิบัติ ถ้าเรานั่งคิดเขียนพิมพ์ แล้วก็จบ ไม่มีคนทำ ความเปลี่ยนแปลงในสังคมก็จะไม่เป็นไปตามที่เราอยากให้เป็นครับ ซึ่งมันก็วนลูปไปเรื่อย ๆ จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง ในทางปฏิบัติจริงก็อย่างเช่น บางคนอาจจะตั้งเป้าไว้ว่า ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการศึกษาในบ้านเรา แล้วมุ่งตรงไปทางนั้น เป็นต้นครับ. :great:

nooonuii 12 มีนาคม 2010 22:23

ให้ $f(t)=$ มาตรฐานการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ณ เวลา $t$

Theorem : $\displaystyle{\lim_{t\to\infty}f(t)=0}$

Proof : ................. :sung:

หยินหยาง 12 มีนาคม 2010 23:41

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของคุณ gon ครับ แต่ผมถือคติที่ว่าถ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์แล้วแม้จะไม่สำเร็จก็ทำครับ

สำหรับท่าน nooonuii การที่จะพิสูจน์ทฤษฎีบทของ ท่าน nooonuii คงต้องรู้จัก lemma นี้ก่อนครับ

$\displaystyle{\lim_{t\to x}f(x)=0} ,\forall x$

KizPer 13 มีนาคม 2010 13:00

จากการที่อ่านกระทู้เกี่ยวกับ Pat2 (รอบ4 ที่ผ่านมา ซึ่งผมไม่ได้สอบ) + การฟังเพื่อนๆเล่า
รู้สึกข้อสอบเคมี จะออกถึง Organic Chem. กันเลยทีเดียว(ซึ่งบางบอร์ด บอกว่า คนออกข้อสอบ คือ อ.สอนคณะวิทยาศาสตร์ เคมี ของจุฬา)
และข้อสอบ ปลายภาค ของปี 1 ก้เหมือนกับ Pat2 เป้ะ ๆ
ผมนึกภาพไม่ออกเลยว่า ต่อไป การกวดเด็กไทยจะกวดวิชากันล่วงหน้าไปถึงมหาลัยกันเลย จะเป็นอย่างไรบ้าง

Little Penguin 13 มีนาคม 2010 13:27

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ หยินหยาง (ข้อความที่ 81925)
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของคุณ gon ครับ แต่ผมถือคติที่ว่าถ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์แล้วแม้จะไม่สำเร็จก็ทำครับ

สำหรับท่าน nooonuii การที่จะพิสูจน์ทฤษฎีบทของ ท่าน nooonuii คงต้องรู้จัก lemma นี้ก่อนครับ

$\displaystyle{\lim_{t\to x}f(x)=0} ,\forall x$

จริงๆถ้าอันนี้เป็นจริงล่ะก็... $f(x)=0 \forall x$ แล้วล่ะครับ

Jew 13 มีนาคม 2010 16:43

เท่าที่ดูข้อสอบ onet
ปีนี้ผมว่ามันตอบได้หลายคำตอบมากเลยนะครับเนี่ย
ข้อสอบแนววิเคราะห์มันแนวนี้เหรอครับ?
มันวัดเด็กได้จริงๆเหรอครับ
ในความคิดของผม
ENtrance ดีสุดครับ

Siren-Of-Step 13 มีนาคม 2010 16:50

ระบบเก่าอะครับ ที่ไม่ต้องมี GAT PAT Onet อะไรเนี่ย
ผมอยากจะบอกอย่างนึงว่า " การศึกษามันผิดมาตั้งแต่ต้นแล้ว "

LightLucifer 13 มีนาคม 2010 18:53

รบกวนใครก็ได้ครับ ช่วย plot กราฟ ของฟังก์ชัน ที่คุณ nooonuii เขียนไว้ที่ครับ ^^

ผมว่าการศึกษามันมีหลายตัวแปรนะครับ ทั้ง สภาพสังคม เศรษฐกิจ และค่านิยมนะ

เรื่องที่จะแก้ไขต้องแก้ตั้งแต่พื้นฐานชีวิตครับ ไม่ใช่ไปแค่ที่ ระบบ และ โรงเรียน

nooonuii 13 มีนาคม 2010 22:15

ผมไม่รู้ว่าวิชาอื่นเขามีปัญหาอะไรบ้าง

ขอพูดถึงเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ก็แล้วกัน

มีปัญหาหนึ่งที่ผมคิดว่าควรแก้กันได้แล้วเพราะเรื้อรังมานานหลายปี

นั่นคือข้อผิดพลาดของข้อสอบ ผมว่าแก้ได้ไม่ยากเลย แค่เพิ่มความระมัดระวัง

และตรวจทานให้รอบคอบก่อนเอาข้อสอบไปพิมพ์แค่นั้นเอง

ถ้าจะให้รอบคอบมากขึ้น ทีมออกข้อสอบจะต้องมีอย่างน้อยสองคน

คนนึงออกข้อสอบ อีกคนจะเป็นคนเช็คความถูกต้องของข้อสอบ

โดยการเอาข้อสอบมานั่งทำด้วยตัวเอง จะได้เห็นข้อผิดพลาดชัดเจนขึ้น

ผมว่าใช้เวลาตรวจทานตรงส่วนนี้แค่วันเดียวก็เสร็จ

แต่กระบวนการตรงส่วนนี้มันซับซ้อนซ่อนเงื่อนขนาดนั้นเลยเหรอถึงแก้กันไม่ได้

เสียงบ่นจากข้อผิดพลาดนี้มีทุกปี เสียงเหล่านี้ไม่สะท้อนเข้าหูผู้ที่เกี่ยวข้องเลยเหรอ

หรือคิดกันแค่ว่าข้อสอบผิดก็แจกคะแนนให้เด็กฟรีๆแล้วก็จบกันไป

แต่คุณจะรู้กันไหมหนอว่าข้อสอบผิดๆเหล่านี้มันวัดอะไรไม่ได้เลย

แถมยังทำให้การวัดผลโดยรวมผิดพลาดด้วย เพราะเด็กต้องเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

กับข้อสอบผิดๆเหล่านี้ :rolleyes:

ป.ล. กราฟของ $f(t)$ น่าจะวาดได้ไม่ยากครับ แต่ผมคงไม่กล้านำมาเสนอ

เพราะเห็นแล้วมันสะเทือนใจ :laugh:

หยินหยาง 14 มีนาคม 2010 00:10

ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นต่อ ขออนุญาตให้รู้ถึงความหมายของคำต่างๆ ที่มีในเว็บหรือกระทู้อื่นได้แสดงไว้เพื่อให้สะท้อนบางสิ่งบางอย่างครับ

entrance & admission
http://writer.dek-d.com/yod_tong/sto....php?id=423166
http://entrance1.blogspot.com/2008/03/admission.html
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=830322

ความหมายของ สทศ.
http://dek-d.com/board/view.php?id=1605203

ส่วนกราฟ f(t) ของท่าน nooonuii ที่บอกว่าวาดได้ไม่ยาก ก็คงจริงครับ แต่ผมดูทีไรไม่เห็นสะเทือนเลยนิครับ เพราะมันก็คือ แกน x ดีๆนี่เอง:D
ขอต่อเลยนะครับ

3. O-NET(โอ้ ลา ล้า การศึกษาของไทย) มีไว้ทำอะไรเมื่ออ่านความคิดเห็นต่อไปนี้แล้วอาจจะรู้ว่ามีไว้ทำอะไรก็ได้นะครับ ทั้งคุณ nooonuii และคุณ passer-by ได้แสดงความคิดเห็นถึงคุณภาพของข้อสอบไว้แล้วว่ามันแย่อย่างไร ผมคงไม่ต้องไปพูดอีก แต่ขอพูดนิดเดียวครับในกรณี o-net เลขปีนี้ซึ่งผมก็ยังไม่ได้ดูทั้งหมดผมดูแค่ข้อเดียว ก็บอกได้เลยเซ็งมากๆๆๆๆๆๆ พาลไม่ดูต่อเพราะไม่รู้ว่าจะไปเจออะไรอีก ที่เป็นข้อ $(-1)^{0.2} ,(-1)^{0.4},(-1)^{0.8},(-1)^0$ แล้วถามว่าค่าใดที่มีค่าแตกต่าง อยากจะบอกว่าใครเป็นคนออกข้อนี้ออกได้อย่างไร ที่ผ่านมาข้อสอบถ้าผิดพลาดคือโจทย์ทำแล้วไม่มีคำตอบในตัวเลือก แต่ข้อนี้ไม่ใช่มันผิดหลักคิดแบบรับไม่ได้จริงๆ ผมได้วิจารณ์ข้อนี้ในกระทู้หนึ่งแล้ว ผมเคยเห็นงานวิจัยของ สทศ. วิเคราะห์ตัวข้อสอบแต่ละข้อว่ามีคนทำได้ทั้งหมดกี่คนซึ่งโดยปกติของการออกข้อสอบผู้ออกข้อสอบที่ดีต้องบอกได้ว่าข้อนี้ออกเพื่อต้องการว ัดอะไรหรือต้องการทดสอบว่าเด็กเข้าใจเรื่องอะไร ดังนั้นงานวิจัยนี้น่าจะช่วยได้มากว่าเด็กยังไม่เข้าใจตรงไหน แต่ทุกปีก็มีงานวิจัยออกมาแต่ไม่เห็นว่ามีอะไรดีขึ้นแถมยังออกมาแก้ตัวแบบ...ถ้าใครได้ดูรายการวู๊ดดี้ ก็จะเห็นได้ จริงๆเรื่องนี้ไม่ใช่บอกว่าแค่มีหลักสูตรแล้ว เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนต้องสอนให้ตรงหลักสูตร ผมว่าพูดง่ายไป ผมว่าน่าจะลองให้ครูที่สอนสอบข้อสอบชุดเดียวกันกับเด็กดูซิ ดูว่าครูจะเข้าใจหลักสูตรและเนื้อหาสาระของหลักสูตรมั้ย และที่ตลกไปกว่านั้นอ้่างว่าจะนำข้อมูลนี้ไปปรับปรุงโรงเรียนที่เด็กนักเรียนทำคะแนนโอเน็ตได้น้อย ซึ่งข้อมูลที่ได้รับสำหรับชั้น ม.ต้น นั้นบางโรงเรียนครูไม่ได้คุมเด็ก ปล่อยให้เด็กลอกกันก็มี หรือบางทีช่วยใบ้ให้ก็มี แล้วจะวัดไปทำไม ถ้ามาถึงตรงนี้ผมก็คงเข้าใจว่า โอเน็ตมีไว้ทำให้มันวุ่นไง หรือไม่ก็มีไว้ให้ทำใจ หรือแล้วแต่จะคิดก็ได้ครับ และเป็นเรื่องที่ตลกมากทาง สทศ.ออกสรุปสัมนาเชิงวิชาการรูปแบบข้อสอบ โอเน็ต ตามลิงค์ที่ให้ไว้ข้างล่าง ลองดูก็แล้วกัน ผมยังงอยู่ว่าเค้าไม่ได้ยินเสียงสะท้อนเลยหรือ ถึงได้สรุปออกมาเป็นอย่างนี้ มิน่าละ ถึงได้มีคำย่อของ สทศ. ตามที่ได้มีคนให้ไว้
http://img359.imageshack.us/img359/1697/123.pdf


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 06:41

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha