Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   คณิตศาสตร์อุดมศึกษา (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=2)
-   -   order preserving transformation and Function (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=2868)

MoDErN_SnC 16 มิถุนายน 2007 22:47

order preserving transformation and Function
 
เรื่องดังกล่าวนี้จะหาได้จากที่ไหนบ้างอ่ะครับ (โดยเฉพาะ order preserving transformation)

เพราะผมหาทั้งในอินเตอร์เน็ตและห้องสมุดของมหาวิทยาลัยก็หาไม่เจอเลยอ่ะคับ

เรื่องฟังก์ชันนี่...อยากรู้ว่า ฟังก์ชันประกอบ มีสมบัติทางพีชคณิตอะไรบ้าง....
พวก เปลี่ยนกลุ่ม เอกลักษณ์ สมบัติปิด เป็นต้น
หนังสือที่จะหานี่ควรใช้หนังสือประเภทไหนดีครับ
(หาในอินเตอร์เนทแล้วหาไม่เจออ่ะครับ)

ทีนี้เรื่องจำนวนฟังก์ชัน จากการที่ทำโปรเจค
อ.แนะนำเกี่ยวกับ Stirling Number

\[
S_{(n,r)} = \frac{1}{{r!}}\sum\limits_{i = 0}^r {( - 1)^i \left( \begin{array}{l}
n \\
r \\
\end{array} \right)\left( {r - 1} \right)^n }
\]

มันเป็นอย่างไรช่วยชี้แจงแถลงไขหน่อยครับ :)

nooonuii 17 มิถุนายน 2007 08:29

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ MoDErN_SnC (ข้อความที่ 19916)
เรื่องดังกล่าวนี้จะหาได้จากที่ไหนบ้างอ่ะครับ (โดยเฉพาะ order preserving transformation)

น่าจะมีในหนังสือพวก Universal Algebra ครับ

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ MoDErN_SnC (ข้อความที่ 19916)
เรื่องฟังก์ชันนี่...อยากรู้ว่า ฟังก์ชันประกอบ มีสมบัติทางพีชคณิตอะไรบ้าง....
พวก เปลี่ยนกลุ่ม เอกลักษณ์ สมบัติปิด เป็นต้น
หนังสือที่จะหานี่ควรใช้หนังสือประเภทไหนดีครับ

อย่างน้อยๆก็มีคุณสมบัติของ semigroup ครับ
ลองหาจากตำราวิชา Algebraic Semigroup Theory ดูครับ

ส่วน Stirling Number ผมไม่ทราบครับ รอผู้รู้ทางด้าน Combinatorics มาแถลงครับ

TOP 17 มิถุนายน 2007 11:47

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ MoDErN_SnC (ข้อความที่ 19916)
ทีนี้เรื่องจำนวนฟังก์ชัน จากการที่ทำโปรเจค
อ.แนะนำเกี่ยวกับ Stirling Number\[
S_{(n,r)} = \frac{1}{{r!}}\sum\limits_{\color{red}{i = 0}}^r {( - 1)^{\color{red}{i}} \left( \begin{array}{l}
n \\
r \\
\end{array} \right)\left( {r - 1} \right)^n }
\]มันเป็นอย่างไรช่วยชี้แจงแถลงไขหน่อยครับ :)

สูตรผิดหรือเปล่า ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ $i$ มีแค่ $(-1)^i$ เท่านั้น เทอมที่เหลือไม่น่าจะอยู่หลัง $\Sigma$ นะครับ

สูตรที่ใกล้เคียงที่สุดที่ผมมีคือ
\[S_{n,r} = \frac{1}{r!} \sum_{j = 1}^{r} (-1)^{r-j} \binom{r}{j} j^n \]
ซึ่งเป็น Stirling numbers of the second kind (จากชื่อของมัน แสดงให้เห็นว่าต้องมี Stirling numbers of the first kind)

สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนจำนวน Stirling numbers ทั้งสองแบบอีกวิธีหนึ่ง เขียนคล้ายกับสัมประสิทธิ์ทวินาม คือ ${n \brack r}$ และ ${n \brace r}$ แทน Stirling numbers of the first kind และ Stirling numbers of the second kind ตามลำดับ (ยังมี Eulerian number ซึ่งเขียนคล้ายกันคือ ${n \euler r}$)

สำหรับความหมายของ Stirling numbers of the second kind อ้างอิงจาก Concrete Mathematics โดย สุดยอดปรมาจารย์คอมพิวเตอร์ Donald E. Knuth

${n \brace r}$ คือจำนวนวิธีแบ่งของ $n$ สิ่ง ซึ่งแตกต่างกันทั้งหมด ออกเป็น $r$ กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มห้ามว่างเปล่า (nonempty)

ยกตัวอย่างเช่น เราจะแบ่ง $\{1 , 2 , 3 , 4\}$ ออกเป็น $2$ กลุ่ม จะทำได้ $7$ วิธีคือ
$\{1 , 2 , 3\}\cup \{4\}$
$\{1 , 2 , 4\} \cup \{3\}$
$\{1 , 3 , 4\} \cup \{2\}$
$\{2 , 3 , 4\} \cup \{1\}$
$\{1 , 2\} \cup \{3 , 4\}$
$\{1 , 3\} \cup \{2 , 4\}$
$\{1 , 4\} \cup \{2 , 3\}$
ดังนั้นในกรณีนี้ จะได้ ${4 \brace 2} = 7$

เนื่องจากมีเพียงวิธีเดียวในการแบ่งของ $n$ สิ่ง เป็น $1$ กลุ่ม ดังนั้น ${n \brace 1} = 1\ ,\ \forall n > 0$ (แต่ ${0 \brace 1} = 0$ เพราะไม่มีสิ่งของให้แบ่ง)

นอกจากนี้ ${0 \brace 0} = 1$ เพราะมีเพียงวิธีเดียวในการแบ่งของที่ไม่มีอยู่ ออกเป็น 0 กลุ่มที่ไม่ว่างเปล่า และ ${n \brace 0} = 0\ ,\ \forall n > 0$ เพราะของที่มีอยู่ อย่างน้อยต้องแบ่งได้หนึ่งกลุ่มที่ไม่ว่างเปล่าเสมอ

แล้ว ${n \brace 2} = ?$
กรณีที่ $n > 0$ ลองเลือกของสักชิ้นหนึ่งมาพิจารณา เราจะพบว่าของอีก $n-1$ ชิ้นที่เหลือนั้น มีจำนวนวิธีเลือกที่จะมากองอยู่รวมกันกับของชิ้นนี้ได้ทั้งสิ้น $2^{n-1}$ วิธี แต่จะเลือกมาทั้งหมดไม่ได้เพราะ จะแบ่งได้เพียงกลุ่มเดียว ดังนั้นเราจึงได้ว่า ${n \brace 2} = 2^{n-1} - 1$
(จากตัวอย่างที่แล้ว จะได้ ${4 \brace 2} = 7 = 2^{4-1} - 1$)

สำหรับ ${n \brace r}$ ก็พิจารณาในทำนองเดียวกัน ลองเลือกของสักชิ้นหนึ่งมาพิจารณา เราจะพบว่าวิธีแบ่งกลุ่มมีสองแนวทางหลักคือ
  • ของที่เลือกมานี้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ดังนั้นของ $n-1$ สิ่งที่เหลือจึงนำมาแบ่งกลุ่มกันเองได้ทั้งสิ้น ${n-1 \brace r-1}$ วิธี
  • ของที่เลือกมานี้อยู่รวมกับของชิ้นอื่น ซึ่งของ $n-1$ ที่เหลือนำมาแบ่งกลุ่มกันเองได้ทั้งสิ้น ${n-1 \brace r}$ วิธี และในแต่ละวิธีเราเลือกกลุ่มที่จะนำของชิ้นนี้ไปรวมด้วยได้ $r$ วิธี จึงได้จำนวนวิธีทั้งหมดเป็น $r{n-1 \brace r}$ วิธี
ดังนั้นจะได้สูตรในรูปของความสัมพันธ์เวียนบังเกิดคือ \[{n \brace r} = {n-1 \brace r-1} + r{n-1 \brace r}\ ,\ \forall n > 0\]
เห็นวิธีพิจารณาแล้วคุ้นไหมครับ :sung: หากเราตัด $r$ ที่คูณออกไปสักตัว ก็จะดูคล้ายกับสูตรของสัมประสิทธิ์ทวินามอันหนึ่ง :rolleyes: คือ \[{n \choose r} = {n-1 \choose r-1} + {n-1 \choose r}\ ,\ \forall n > 0\]

MoDErN_SnC 17 มิถุนายน 2007 21:28

ถามเพิ่มเติมอีกนิดนึงครับ

การคอมโพสิทของฟังก์ชัน เป็น binary operation หรือเปล่าครับ?

nooonuii 17 มิถุนายน 2007 22:18

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ MoDErN_SnC (ข้อความที่ 19953)
การคอมโพสิทของฟังก์ชัน เป็น binary operation หรือเปล่าครับ?

เป็นครับ เพราะเป็นการจับคู่กันระหว่างฟังก์ชันสองฟังก์ชัน และ ผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นฟังก์ชัน แต่ว่าจะต้องมีการใส่เงื่อนไขบนโดเมนและ codomain ด้วยนะครับ ไม่เช่นนั้นอาจจะไม่เป็น


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 11:49

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha