ดูหนึ่งข้อความ
  #1  
Old 29 ตุลาคม 2010, 15:23
เทพศาสตรา's Avatar
เทพศาสตรา เทพศาสตรา ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2010
ข้อความ: 8
เทพศาสตรา is on a distinguished road
Default กวดวิชา นั้นสำคัญจริงหรือ ?

ในปัจจุบันเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การเรียนพิเศษ หรือกวดวิชา นั้นมีบทบาทความสำคัญมากสำหรับนักเรียนไทย
มากเพียงใด กว่า 90 เปอร์เซนต์ (อันนี้ตามความรู้สึก) ของนักเรียนไทย สอบเข้าได้ ไม่ว่าจะเป็น ระดับมัธยม ระดับมหาวิทยาลัย ที่เรียนดี ๆ ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาการเรียนพิเศษทั้งสิ้น จนทำให้สิ่งดังกล่าวถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่ง
ที่สำคัญสำหรับนักเรียนไทยไปแล้ว ส่งผลถึงภาระที่ต้องเพิ่มขึ้นของ ผู้ปกครองที่อยากให้ลูก ๆ เรียนในที่ดี ๆ มีการศึกษาสูง โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่าย ด้วยความคิดที่ว่า การศึกษาคือการลงทุน

แต่นิยามดังกล่าวก็ขัดความรู้สึกที่ผู้ปกครองหลายท่านมีต่อการศึกษา เช่น อยากให้มีการเรียนฟรี แต่กวดวิชาถึงไหนถึงกัน ทั้ง ๆ ที่การสอนในโรงเรียนกวดวิชา ก็สอนเหมือนกับที่โรงเรียนสอน เนื้อหาไม่ต่างกัน ซ้ำยังไม่ละเอียดเท่ากับที่โรงเรียนด้วยซ้ำไป แล้วใยผู้ปกครองหลายท่านจึงยอมจ่ายให้กับสิ่งเหล่านี้ เหตุก็เพราะความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าการเรียน
เสริมมากกว่าที่โรงเรียนจะสร้างโอกาสทางการศึกษาได้มากขึ้น แต่หารู้ไม่ว่าเงินที่ท่านเสียไปนั้นสูญเปล่า

ที่เป็นอย่างนี้เพราะ ในปัจจุบันการเรียนพิเศษนั้น มีการสอนอยู่ทุกระดับตั้งแต่ อนุบาล ไปจนถึง อุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย) ลองนึกดูสิว่า กว่าจะเรียนจบมหาวิทยาลัย ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเท่าไร ไม่ต้องคิดตั้งแต่อนุบาลก็ได้
เอาตั้งแต่ระดับมัธยมปลายจนถึงจบมหาวิทยาลัย ต้องจ่ายค่าเรียนเสริมไปเท่าไหร่ และค่าอื่นๆ เช่นค่าเล่าเรียน
ค่ากินค่าอยู่ และอื่นๆ อีกจิปาถะเท่าไหร่ แล้วจบปริญญาตรีมาทำงานเงินเดือน ขั้นต่ำประมาณ 8000 บาท
หักเป็นค่าแรงของเราเองเท่าไหร่ เหลือค่าวิชาความรู้เท่าไร คุ้มหรือไม่กับการเรียนพิเศษ ลงนึกดูนะครับ

และข้อเสียของการเรียนพิเศษมีมากมายหลายหลากมาก เป็นผลเสียระยะยาวที่เกิดขึ้นแล้วกับสังคมไทย
1. อะไรก็ตามได้มาง่าย ๆ จะทำ คือ การเรียนพิเศษ หรือเรียนเสริมนั้น เนื้อหาที่สอนเหมือนโรงเรียนทุกประการ
แต่แตกต่างกันตรงที่ เป็นการสรุปเนื้อหามาให้ผู้เรียนได้อ่านหรือศึกษา ไม่ต้องไปศึกษาหนังสือเล่มหนา ๆ
เพียงแค่ศึกษากับกระดาษไม่กี่แผ่นก็สามารถทำข้อสอบได้แล้ว จึงเป็นเหตุทำให้เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือ หรืออ่านหนังสือไม่เป็น หรือเกียจคร้านมากขึ้น จนเป็นเหตุให้เกิดนิสัย ชอบทางลัด อะไรก็ตามที่ลงแรงน้อย
(ลงทุนมากไม่สน) ได้ผลตามต้องการก็ทำ แต่หารู้ไม่ว่าผลที่เกิดขึ้นจะส่งผลในระยะยาว คือ
ไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียนอย่างถ่องแท้ แก้ปัญหาที่นอกเหนือจากโจทย์ที่เรียนไม่เป็น ไม่รู้จักกระบวนการการแก้ปัญหา เช่น ผมเป็นผู้ช่วยสอนอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง น้อง ๆ ลองนึกถึงนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ น้อง ๆ คงจะร้องโห พี่ต้องเก่งคณิตศาตร์ กับฟิสิกส์อย่างมากเลย พี่สอบเข้าเรียนได้ไงอะ
เรียนยากไหมพี่ นี่เป็นภาพลักษณ์ภายนอกที่คนอื่น ๆ มอง แต่เมื่อได้สัมผัสจริง ๆ แล้วหนักกว่าที่คิด
คือ วิชาคณิตศาสตร์ ทฤษฏีพื้นฐานไม่รู้เรื่อง ให้ทำโจทย์ ก็ทำอย่างไรก็ได้ (เอาง่าย ๆ เข้าไว้) ขอให้ได้คำตอบ
ซึ่งคำตอบจะถูกได้อย่างไร ก็พื้นฐานไม่มี แล้วก็ตรวจคำตอบเองไม่เป็นว่าทำถูกหรือไม่หรือผิดตรงไหน
เพราะไร้ซึ่งพื้นฐาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอนที่โรงเรียนไม่ใช้กวดวิชา (กวดวิชาสอนแต่ทำโจทย์) แล้วอย่างนี้
จะเป็นวิศวกรที่มีคุณภาพได้อย่างไร ... เฮ้ออนาคตวิศวกรไทย นั่นจึงส่งผลต่อการทำงาน กล่าวคือ
จบมาแล้วไม่มีคุณภาพแล้วจะมีงานทำได้อย่างไร...ตกงานกันเยอะ สังคมไทยไม่พัฒนา ทั้ง ๆ ที่มีบัญฑิต
กันเกลื่อนเมือง แต่ไม่มีความคิดในการแก้ปัญหา...ไร้ซึ่งปัญญา

ถ้าเล่ากันจริงคงจะยาวไว้ผมจะมาเล่าให้ฟังใหม่...ท่านผู้อ่านลองวิเคราะห์พิจารณาดูเองแล้วกันนะครับว่า
การเรียนพิเศษมีความสำคัญจริงหรือ ไม่ผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน....พ่อแม่ท่านใดที่ยังคิดว่าการเรียน
พิเศษให้ผลดีต่อลูกคุณจริง ๆ แล้วหละก็ลองพิจารณาให้รอบด้านนะครับ...อย่าให้เป็นดังนิทานเรื่องพ่อแม่รังแกฉัน

(ความคิดเห็นคือมุมมองใหม่ที่ช่วยให้เราเปิดโลกได้มากขึ้น...หาใช่การสร้างความขัดแย้งไม่...ชนใดเปิดกว้างรับความคิดเห็นชนนั้น...เป็น ผู้ถึงรู้ซึ่งโลกแห่งความจริงมากกว่าใคร)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้