ดูหนึ่งข้อความ
  #61  
Old 02 ธันวาคม 2010, 11:37
whatshix's Avatar
whatshix whatshix ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 430
whatshix is on a distinguished road
Default

ครับ เรื่องนี้ไม่ยากสำหรับการสอน เพราะเราสามารถกำหนดนิยามและขอบเขตการศึกษาให้เด็กได้
แต่ปัญหา คือ เมื่อมันเป็นโจทย์ของการแข่งขัน
โจทย์ไม่ได้ระบุอะไรไว้อย่างชัดเจน
(แต่ผมแอบเชื่อนะว่า คนออกโจทย์อยากให้หา ค.ร.น. ก่อน)
เราจะมีวิธีการอธิบาย และตอบคำถามเหล่านี้อย่างไร
ถ้าเด็กถามว่า
1.5 หารด้วย 24 ได้อะไรครับครู (0 เศษ 5 ใช่หรือไม่?)
2.5 หารด้วย 16 ไ้ด้อะไรครับครู (0 เศษ 5 ใช่หรือไม่?)
3.5 หารด้วย 9 ได้อะไรครับครู (0 เศษ 5 ใช่หรือไม่?)
4.5 เป็นจำนวนนับไหมครับครู (ใช่หรือไม่)
5.แล้วทำไมเราถึงไม่ตอบว่า 5 ล่ะครับครู (???)

โจทย์แบบนี้มันจะง่ายมาก ถ้าเราเล่นกับอะไรที่เป็นรูปธรรม เช่น
สสวท ระดับ ป.3 ปีนี้ ข้อนี้
อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ banker View Post


ระดับ ป. 3 เล่นไล่กันเลยครับ

3 หารลงตัว เศษ 2 คน จะมีเพื่อน 5, 8, 11, 14, 17, 20, 23, 26, 29, 32, 35, 38, 41, 44, 47, 50, 53, 56, 59, 62 .....คน

4 หารลงตัว เศษเค็ก 2 ชิ้น จะมีเพื่อน 6, 10, 14, 18, 22, 26, 30, 34, 38, 42, 46, 50, 54 .....คน

ตอบ มีเพื่อนอย่างน้อย 14 คน
ทุกสิ่งทุกอย่าง ในโจทย์ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นจำนวนนับ

แต่ปัญหาคือ เมื่อเราเล่นกับจำนวน ซึ่งเป็นอะไรที่นามธรรมสำหรับเด็ก
โจทย์ข้อนี้

และข้อนี้

และหลายๆข้อที่เราเคยเห็นกันมา ถือได้ว่าเป็นโจทย์ที่กำกวมหรือไม่?

02 ธันวาคม 2010 11:39 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ whatshix
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้