ดูหนึ่งข้อความ
  #8  
Old 09 เมษายน 2011, 01:45
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

ผมนำข่าวนี้มาให้สมาชิกอ่าน และถามความคิดเห็นก็เพื่อว่า ความคิดดีๆจากสมาชิกอาจเป็นเสียงสะท้อนให้ผู้ใหญ่หรือผู้ที่รับผิดชอบหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาจะได้นำไปพิจารณาและปรับปร ุงให้ระบบการศึกษาไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะเป็นที่ยอมรับของสากลแล้วว่าประเทศชาติที่เจริญและมีสังคมที่ดีได้ก็เพราะการศึกษาของประชาชนในประเทศนั้น
ผม ต้องขอบคุณในทุกความเห็นครับ

สำหรับผมเองนั้นมีหลายส่วนที่คิดเหมือนกับ คุณ bell18

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ bell18 View Post
ปัจจัยที่ทำให้คะแนนสอบออกมาแกว่งไปมาทุกปี นั่นก็คือ ความไม่แน่นอนของตัวข้อสอบ นั่นเองครับ (ตัวเองผิดแล้วไม่รู้จักดูตัวเอง หมายถึงผู้ใหญ่ใน สทศ นะครับ)
เค้าเคยวิเคราะห์กันจริงๆจังๆบ้างหรือเปล่าว่า ทำไม?
ผมตอบให้ว่ามีครับ ทำดีซะด้วยขนาดวิเคราะห์ว่าข้อนี้ออกมาทดสอบอะไร เด็กตอบกันได้มากน้อยขนาดไหน ข้อไหนตอบผิดมากสุด ข้อไหนตอบผิดน้อยสุด แต่ผมไม่แน่ใจว่าครูตามโรงเรียนต่างๆจะรู้หรือไม่และสนใจหรือไม่ เพราะมีให้อ่านในเว็บของ สทศ. แนวทางแก้หรือข้อเสนอขอแสดงไว้ตอนท้ายครับ

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ bell18 View Post
อย่างคณิตศาสตร์ ปีแรก ออกง่ายมากๆ ปีต่อมาเริ่มยาก ปีต่อมายากขึ้นไปอีก ปีต่อมาง่ายลง ปีต่อมายากขึ้น เป็นอยู่อย่างนี้ ไม่มีมาตรฐานของข้อสอบ
ไม่มีความชัดเจน การวัดผลไม่คงที่ คนออกข้อสอบออกข้อสอบตามอารมณ์ตัวเอง ไม่พิจารณาข้อสอบเก่าจากปีก่อนๆ ยิ่งปีล่าสุดนี่ออกทะเลไปใหญ่
เพราะว่า ปรนัยครึ่งนึง อัตนัยครึ่งนึง คะแนนเฉลี่ยก็เลยออกมาอย่างที่เห็น (14.99) เพราะว่าอัตนัยเดากันไม่ได้ ถ้าอัตนัยมาก คะแนนเฉลี่ยก็ต้องต่ำเป็นธรรมดาครับ
เด็กส่วนใหญ่ที่เข้าไปสอบ ไม่ได้ทำข้อสอบ แต่เข้าไปเดาว่าจะตอบข้อไหนดีนั่นเอง
อันนี้ค่อนข้างเห็นด้วยครับ ความยากง่ายถ้าใครเอาข้อสอบมาลองวิเคราะห์กันตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มใช้จนถึงปีล่าสุดเป็นเวลาทั้งหมด 6 ปี ก็จะอย่างที่คุณ bell18 ว่า แต่คนออกข้อสอบออกข้อสอบตามอารมณ์ตัวเองหรือเปล่าอันนี้ไม่รู้ครับ และปีนี้เปลี่ยนมาเป็นปรนัยครึี่งหนึ่ง อัตนัยครึ่งหนึ่ง แต่สัดส่วนของคะแนนเป็น 40:60 นะครับ

ปัญหาอีกอย่างคือ ระบบการศึกษาที่ผิดพลาด เด็กตก ก็ดันทุรังดันให้เด็กผ่านไปโดยทำงานส่งบ้าง ไม่ก็แก้ให้ผ่านไปเฉยๆ บางคนก็ขอของขวัญจากผู้ปกครอง
เด็กจะได้ผ่าน ระบบที่ผมคิดว่าถูกและน่าจะดี คือ เด็กตก ก็ต้องให้ตก เรียนซ้ำจนกว่าจะผ่าน ทุกฝ่ายต้องยอมรับความจริงตรงจุดนี้ได้ ไม่ใช่หาข้ออ้างต่างๆนานา
เพื่อให้ทุกคนเท่าเทียมกัน เพราะถ้าทำกันอย่างนี้ ก็ไม่ควรจะโทษใครแล้วครับ เห็นผลสอบก็ต้องพยักหน้ารับความจริงที่เกิดขึ้น

เรื่องอย่างนี้ต้องแ้ก้กันทุกส่วน

ส่วนที่ 1 ส่วนที่กำกับและดูแล วางนโยบาย ได้แก่ กระทรวงศึกษา สพฐ สทศ สมศ ...
ส่วนนี้คงต้องทำการวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและประสานไปยังหน่วยงานของผู้ปฏิบัติก็คือครูตามโรงเรียนต่างๆซึ่งสังกัด สพฐ อยู่แล้ว ผมก็เห็นมีเชิญผู้ปกครอง เด็ก ครู ไปนั่งเสวนากันทุกปี แล้วก็เหมือนเดิม ผมคิดว่าไม่ยากเพราะหลักสูตรมีอยู่แล้ว แต่ยากตรงที่สามารถกำกับได้หรือไม่ว่าครูตามโรงเรียนสอนได้ตรงตามหลักสูตรและได้คุณภาพ เรื่องนี้ถ้าจะแก้ก็ให้ครูสอบคู่ขนานไปพร้อมกับเด็กก็ได้แล้วดูว่ามาตรฐานของครูผู้สอนควรเป็นเท่าไร ก็วัดกันถ้าไม่ถึงก็ต้องปรับแก้กัน ส่วนเรื่องเทคนิคการสอนก็หรือการถ่ายทอดก็จัดอบรม... และที่ในข่าวบอกว่าต้องเน้นใช้ ไอซีที ผมเห็น tutor channel ท่าน รมว. ก็กินเวลาเอาไปเกือบครึ่งแล้ว ทุกสัปดาห์ไม่รู้จุดประสงค์จะ PR หรือจะให้เด็กได้มีเวลาเรียนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย แถมจัดมาตั้งปีแล้วทำไมไม่สอนให้ตรงแนว โอเน็ต ละ ....

ส่วนที่ 2 ส่วนของครู
ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญ เด็กจะผ่านหรือไม่ก็อยู่ทีส่วนนี้ ครูแต่ละคนก็มีภารกิจไม่เท่ากัน และความตั้งใจที่จะหาความรู้ใหม่หรือรูปแบบในการสอนใหม่ก็ไม่ใช่จะมีกันทุกคน ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญ จึงควรมีการทดสอบองค์ความรู้เหมือนกัน ส่วนรูปแบการให้ผ่านชั้นหรือไม่เป็นส่วนที่ต้องเข้มงวดเหมือนกัน เพราะหมายถึงความรู้ที่ติดตัวต่อไป ปัจจุบันถ้าเป็นห้องธรรมดา ผลจะมาจากคะแนนจะเก็บ 80 คะแนน สอบอีก 20 คะแนน บางครั้งสิ่งที่โหลดเกินไปก็เป็นคะแนนเก็บเพราะต้องทำรายงานลอกหนังสือในบทเรียนส่ง ผมเคยคิดว่าทำแล้วเด็กฉลาดขึ้นหรือโง่ลง ผลก็คือเด็กฉลาดขึ้นคือลอกบรรทัดเว้น 2 บรรทัดก็มี ให้คนอื่นช่วยเขียนก็มี สิ่งนี้ก็ต้องคิดเหมือนกัน ...เป็นพอสังเขป เดี๋ยวครูมาอ่านจะรู้เทคนิค ส่วนพอเด็กตก ก็ต้องให้ผ่าน วิธีที่ทำกันเป็นส่วนมากก็คือ ให้ทำรายงานเพิ่มโดยเขียนมาส่งเพราะคิดว่าถ้าให้พิมพ์เดี๋ยวเด็กมันตัดแปะอีก ผมว่าถ้ายังนี้เด็กมันผ่านไปมันได้แต่ฝึกคัดลายมือทนแค่นั้นเอง อันที่จริงครูควรเรียกมาสอนเพิ่มเติมหรือดูว่าเด็กยังขาดส่วนไหน หรือไม่งั้นก็บอกไปเลยสรุปเป็นเนื้อหาสาระที่จะต้องรู้เมื่อจบชั้นนี้ไป โดยบอกข้อสอบเด็กไปเลยก็ได้ แต่บอกว่าหน้าที่ของเด็กต้องไปจำหรือทำความเข้าใจมาสอบ อย่างน้อยๆเด็กยังได้ความรู้ที่ต้องรู้ในหลักสูตร

ส่วนที่ 3 ส่วนของนักเรียน
ส่วนนี้เป็นส่วนที่ถูกกระทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระเบียบวินัย ที่คอยกวนใจให้ไม่มีสมาธิในการเรียน ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรมีระเบียบวินัย ควรมีแน่นอน แต่การมีระเบียบวินัยนั้นจะต้องมาจากจิตสำนึกมาจากการพูดคุยไม่ใช่มาจากการบังคับและลงโทษ พอมาเรื่องเรียน เด็กทุกคนผมเชื่อว่าอยากเรียนดีกันทั้งนั้น แต่ทุกคนไม่ใช่จะมีมันสมอง และปัญญาที่เท่าเทียมกัน แต่สิ่งที่มีเท่ากันคือเวลา ถ้าได้รับการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกที่ดี เรื่องหัวไม่ดีก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่เพราะเราไม่ได้ต้องการสร้างให้ทุกคนเป็นอัจฉริยะเพียงแต่ต้องการให้ทุกคนผ่านมาตรฐาน ดังนั้นความขยันและอดทน มันทำให้ไปถึงได้ ถ้ามีส่วนนี้แล้วก็ไม่ต้องไปกังวลว่า เด็กจะตั้งใจสอบหรือไม่ หรือเด็กสอบติดแล้วจะทำให้ค่าเฉลี่ยลดลง เหมือนกับที่มีข่าวปีนี้ ว่าให้เลื่อนการประกาศคะแนนแพทย์ออกไป ซึ่งผมมองว่าถ้าโชคดีเลื่อนออกไปแล้วทำให้ค่าเฉลี่ยมันสูงขึ้นก็จะดีใจว่ามาตรฐานดีขึ้นอย่างงั้นหรือ ไม่หลอกตัวเองไปหน่อยหรือครับ เสนอความเห็นเท่านี้ก่อนไม่ไหวแล้วเริ่มง่วง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้