ดูหนึ่งข้อความ
  #35  
Old 10 เมษายน 2011, 12:44
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ -Math-Sci- View Post
ดูยังไงว่าใช้ วิธีนี้ได้เสมอ อ่ะครับ พี่ nooonuii

แนะนำให้ด้วยครับ
ส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชันคาบโผล่มาในสมการครับ

ลองสังเกตดูนะครับว่าในโจทย์หลายข้อเลยจะมีฟังก์ชันคาบปรากฎอยู่

6. $g(x)=1-x$

10. $g(x)=\dfrac{x}{x-1}$

11. $g(x)=-x$

12. $g(x)=\dfrac{1}{1-x}$

13. $g(x)=\dfrac{1}{x}$

15. $g(x)=\dfrac{x-3}{x+1}$

17. $g(x)=2-x$

รูปแบบทั่วไปของฟังก์ชันเหล่านี้คือ $g(x)=\dfrac{ax+b}{cx+d},ad-bc\neq 0$

เรียกชื่อเท่ห์ๆว่า linear fractional transformation หรือ Mobius transformation ครับ

ฟังก์ชันพวกนี้บางครั้งก็ไม่เป็นฟังก์ชันคาบ แต่โจทย์ส่วนใหญ่จะเลือกที่เป็นฟังก์ชันคาบ ไม่เช่นนั้นจะหาคำตอบได้ยาก

ตอนแก้สมการ ถ้าจับจุดได้แล้วอาจจะ drop ตัวแปร $x$ ทิ้งไปเลยก็ได้ แล้วก็หันมาแก้สมการ(เชิงฟังก์ชัน)แทน

เช่นในข้อ $12$ อาจจะเขียนสมการเป็น

$f+f\circ g=I$ เมื่อ $I$ เป็นฟังก์ชันเอกลักษณ์

จากนั้นก็สร้างอีกสองสมการโดยการ composite ด้วย $g,g\circ g$ (อาจจะต้องระวังเรื่องการเข้าทำนิดนึง เพราะ composition มันสลับที่ไม่ได้)

$f\circ g+f\circ g^2=I\circ g$

$f\circ g^2+f\circ g^3=I\circ g^2$

ทำไมสร้างแค่สองสมการถึงพอ? เพราะเรารู้ว่า $g\circ g\circ g =I$ ครับ ถ้าสร้างต่อไปก็จะได้สมการเดิม

เมื่อแก้สมการจะได้คำตอบในรูป $f=\dfrac{1}{2}(I-g+g^2)$

คราวนี้น่าจะพอมองเห็นภาพแล้วนะครับว่าทำไมเราถึงเรียกสมการพวกนี้ว่า สมการเชิงฟังก์ชัน
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้