ดูหนึ่งข้อความ
  #11  
Old 21 เมษายน 2011, 22:25
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

เป็นข้อมูลเมื่อ มิ.ย. 2553 ว่าไปแล้วก็ เกือบ 1 ปี แต่สถานการณ์ของการสอบปีนี้แย่ลงไปอีกไม่ว่าจะเป็น โอเด็ด หรือแกะแพะ อุ้ยโทษที่ถูกต้องเป็น o-net กับ gat-pat แสดงว่าโครงการ เลียดี เลียฟรี 15 ปีไม่เป็นผลซะงั้น อ้าวผิดอีกหละ ต้อง โครงการเรียนดี เรียนฟรี 15 ปี ซิ

อันที่จริงปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาไทย นั้นเป็นมาตั้งนานแล้ว ใครๆ ก็รู้ ไม่ว่าจะเป็น รมต. ผู้ใหญ่ในวงการการศึกษา คุณครู นักเรียน หรือแม้แต่ผู้ปกครอง ซึ่งถ้าจะแก้กันจริงๆ ผมว่าไม่ยากเพียงแต่จะกล้าที่จะทำหรือไม่ ทั้งๆ ที่บุคลากรทางด้านการศึกษา(ไม่ใช่แค่เฉพาะครู) มีจำนวนมากมาย หรืองบประมาณที่ลงไปก็ไม่ใช่น้อย แต่ก็เหมือนโยนลงทะเล

ผมมีข้อคิดเห็นที่คิดว่าน่าจะเป็นปัญหาและควรแก้

1. ระบบการศึกษาควรทำให้ชัดเจนคือ มี 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นส่วนของมาตรฐานการศึกษา หรือเป็นที่รู้จักกันคือ โอเน็ต ส่วนนี้ต้องเป็นตัววัดว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ไม่ใช่เหมือนปัจจุบันทำแบบครึ่งๆกลางๆ เอามาให้เด็กสอบแต่ไปสะท้อนกับครูผู้สอนและโรงเรียน โดยไม่มีผลกับเด็ก(ยกเว้นพวกที่จะต้องสมัคร แอดมิชชั่นกลาง) เด็กจำนวนไม่น้อยไม่ได้สนใจการสอบพวกนี้เลยแถมยังคิดว่าเสียเวลา มันเหมือนการบังคับ ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วการทำอะไรด้วยความสมัครใจหรือใส่ใจย่อมดีกว่าถูกบังคับ ในสมัยก่อนการสอบไล่ของระดับชั้น ป 4. หรือ ป.7 เป็นข้อสอบส่วนกลาง ทุกโรงเรียนใช้ข้อสอบชุดเดียวกันก็เหมือนการสอบ โอเน็ต ดังนั้นคะแนนที่ได้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ส่วนที่ สอง คือส่วนที่เกินมาตรฐานการศึกษา ส่วนนี้ไว้ใช้สำหรับการแข่งขัน ไว้สำหรับเด็กที่ต้องการเข้าระบบการแข่งขันในเวทีต่างๆ หรือไปสอบแข่งขันเมื่อจบช่วงชั้น ส่วนนี้ถ้าพัฒนาได้ถูกทางก็จะสามารถสร้างบุคลากรที่เก่งๆและไปพัฒนาประเทศชาติต่อไปได้

2. กิจกรรมและงานของนักเรียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคะแนน(คะแนนเก็บ)มีผลต่อการเรียน ในความเข้าใจผู้ใหญ่ในวงการศึกษาคิดว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่ช่วยให้เด็กไม่ต้องเคร่งเครียดกับการเรียน และรู้จักการทำงานการเข้าสังคมรวมทั้งการวางแผน เป็นต้น ซึ่งผมกล้าพูดได้ว่า ไม่ตรงกับที่คิดเลย ในหลายครั้งตัวเด็กเองรู้สึกว่าเป็นภาระ ไม่เกิดประโยชน์ แถมบางครั้งส่งไปก็ไม่ได้ตรวจแบบดูเนื้อหาทั้งหมดหรือดูรายละเอียดด้วยซ้ำ อันนี้ไม่ได้นึกเอง แต่ถามหลายคนหลายโรงเรียน ก็เป็นเช่นนั้น งานบางอย่างคุณครูแกก็สสั่งแบบอลังการงานสร้างซะงั้น เช่น โครงงานนี้ให้บูรณการเอา วิชา วิทย์ คณิต สุขศึกษา ไทย ศิลปะ รวมทั้งหมดทำเป็นโครงงาน เป็นต้น ตอนส่งนึกว่าต้องส่งอาหารหมูให้ซะแล้ว หลายงานที่คุณครูสั่งงานแล้ว แต่ขาดคำแนะนำหรือชี้แนะให้เด็กหาเอาเอง แล้วก็บอกว่านั่นแหละ ควายเซ้นเตอร์ เฮ้ย ไชด์เซ็นเตอร์ ถ้าเด็กบางคนโมโหออกบวชขึ้นมาอาจบรรลุโสดาบันก็ได้ เรื่องอย่างนี้ผมว่าต้องทำให้เด็กมีความรู้สึกว่างานที่ให้น่าสนใจและเป็นพี่เลี้ยงเมื่อเด็กต้องการ อย่างนี้ถึงจะเป็นchild center และบางอย่างก็บูรณการพอประมาณไม่ใช่ทุกเรื่องต้องเป็นบูรณการหมด

3. ประสิทธิภาพของครู ก็เป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่ง ถ้าผู้ให้ความรู้ขาดซึ่งองค์ืความรู้หรือเทคนิคการถ่ายทอดหรือวิธีการอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ ก็ไม่ต้องไปพูดถึงเด็กนักเรียนที่จะมีความรู้ ส่วนเรื่องที่ว่าครูต้องดูแลนัเกเรียนมาก ผมว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ ลองดูสถาบันติวเตอร์ที่มีชื่อเสียงทั้งหลายดูก็แล้วกันผมว่ามากกว่าตั้งเยอะ เพียงแต่รู้จักการใช้เทคโนโลยี่ให้เป็นประโยชน์ สิ่งสำคัญไม่ใช่จำนวนคน แต่ทำอย่างไรให้เด็กอยากเรียนเหมือนกับที่ไปเรียนกับติวเตอร์ แถมยังต้องรีบโอนเงินเพื่อไปจองที่เรียน เรื่องนี้ถ้าจะทำกันก้ไม่ใช่เรื่องยากอีก ต้องคัดกันใหม่ประเมินกันใหม่เงินเดือนของครูต้องปรับกันใหม่ บุคลากร ครูที่มีความสามารถจะได้ไม่วอกแว็ก ส่วนที่พัฒนาแล้วไม่ผ่านก็ต้องโอนย้ายสายงานหรือ early retire ไป ระบการกำกับ ตรวจสอบ ครูก็ต้องทำแบบเอาจริงเอาจัง แบบให้คุณให้โทษได้

4. ต้องเปลี่ยนทัศนคติการเรียนกับการสอนให้ได้ ครูผู้สอนไม่ใช่มาสอนเพราะหน้าที่ แต่ต้องมีจิตสำนึกและรักที่จะสอนด้วย เพราะเีพียงแค่หน้าที่อย่างเดียวไม่พอครับ ส่วนในตัวเด็กก็เช่นกัน ไม่ใช่เรียนเพราะถูกบังคับ หรือเพราะความจำเป็น แต่ควรเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาอย่างแท้จริง ทั้งนี้หลักสูตรก็มีส่วนสำคัญที่จะพัฒนาหลักคิดด้วยเหมือนกัน

5.คนที่ออกข้อสอบที่ใช้ทดสอบเด็ก ไม่ว่าจะเป็น o-net หรือ gat-pat เป็นคนละส่วนกับครูผู้สอน ดังที่เคยเป็นข่าว ทาง สทศ. ออกข่าวว่าได้ให้อาจารย์ผู้สอน มาออกข้อสอบ แต่ใช้ได้เพียง 10 กว่าเปอร์เซนต์เองเนื่องจากไม่สามารถวัดผลได้ ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญ อารย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกแทน จะเห็นว่าขนาดสุ่มเอาอาจารย์จากโรงเรียนดังมาออกข้อสอบแล้วยังบอกว่าใช้วัดไม่ได้ แล้วเด็กจะไปเหลือหรือครับ ซึ่งเรื่องนี้ก็รู้ปัญหาอยู่ แต่ทำไมไม่แก้ เรื่องข้อสอบก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยเฉพาะข้อสอบวิทย์หรือ คณิตศาสตร์ มันมีระดับความยากง่าย ที่ต้องใช้เชิงวิเคราะห์พอควร ชาว MC ก็น่าจะรู้ดีว่าโจทย์คณิตหลายข้อมีวิธีทำได้หลายแบบ ตั้งแต่ใช้ความรู้แบบประถมยันมหาวิทยาลัยเลยก็มี ขึ้นอยู้กับ มิติของผู้ทำด้วย ต้องใช้การฝีกฝนพอสมควร ถ้าคิดว่าครูผู้สอนยังไม่สามารถออกข้อสอบได้ (ไม่ได้เกรงว่าข้อสอบรั่ว) คงต้องมาปรับจูนกันใหม่ในเรื่องสาระสำคัญของเนื้อหาในแต่ละเรื่อง แต่ละหัวข้อแล้ว ละครับ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ถึงระดับไหนถึงจะพอ ต้องพัฒนาครูในแต่ละโรงเรียนแล้วละครับหรือไม่งั้นก็ให้งบประมาณครูไปเรียนพิเศษกับพวกติวเตอร์ เผื่อจะได้เก็งข้อสอบถูกบ้าง

เอาแค่นี้ก่อนครับ มีเวลาจะมาต่อให้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้