ดูหนึ่งข้อความ
  #2  
Old 16 กันยายน 2012, 17:36
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon17

ก็อย่างที่ผมเขียนในกระทู้นั้น ตามนิยามที่ สสวท.เขียนไว้ (ถ้ามีหนังสือแบบเรียนก็ลองเปิดดูครับ) ไม่รวมกับค่าที่คิด เสมือนกับว่าไม่มีตัวตน เหมือนเป็นเส้นบาง ๆ ที่กั้นเอาไว้เฉย ๆ นิยามบอกไว้แค่ว่า ถ้า นาย A อยู่ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 หมายความว่า มีคนน้อยกว่านาย A โดยประมาณ 90% (นาย A จะมีตัวตนหรือไม่ ไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญ เราอาจจะเอานิ้วไปจิ้มตรงไหนก็ได้ที่ไม่จำเป็นต้องมีคะแนนของคนนั้นอยู่จริง)

ดังนั้น ถ้ามีคนสอบ 30 คน มีคนน้อยกว่านาย ก. 27 คน แสดงว่ามีคนน้อยกว่านาย ก. 90% คะแนนของ นาย ก. จึงอยู่ที่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 90

ในขณะที่ถ้า นาย ก. เป็นคนที่ 27 มีคนน้อยกว่านาย ก. 26 คน จาก 30 คน คะแนนของ นาย ก. จึงอยู่ที่เปอร์เซ็นไทล์ที่ (26/30)(100) อันนี้พูดตามนิยาม แต่ในความจริงมันเป็นค่าประมาณ เท่านั้น

และมันยังมีกรณีอื่น ๆ ที่ชวนให้คิดมาก (ถ้าอยากคิด แต่จะคิดไปทำไมครับเมื่อมันเป็นเรื่องที่เพียงบอกว่าตำแหน่งของคนคนนั้นอยู่ตรงไหนโดยประมาณ) เช่น ถ้า นาย ก.คะแนน 80 ขณะเดียวกันสมมติ นาย ข.คะแนน 80 ก็มีคนได้คะแนนน้อยกว่า นาย ข. 26 คนจาก 30 คน เหมือนกัน แบบนี้ นาย ก. และ นาย ข. ก็อยู่เปอร์เซ็นไทล์ที่ (26/30)(100) เหมือนกัน และถ้ามันมี นาย ค. , ... ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่ามันจะมี คนได้คะแนนเท่ากันสักกี่คน ดังนั้นถ้าเรานับ นาย ก. ไปด้วย มันก็จะมีคำถามตามมาว่า แล้วนาย ข.ต้องนับไหม นาย ค. แล้วถ้านับจะนับอีกกี่คน นับไปนับมากลายเป็น นาย ก. ข. ค. ได้ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ไม่เท่ากันอีก ทั้งที่ได้คะแนนเท่ากัน ก็ควรจะอยู่ตำแหน่งเดียวกัน หรือเปอร์เซ็นไทล์เดียวกันสิ แล้วจะนับไปตั้งแต่แรกทำไม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้