ดูหนึ่งข้อความ
  #10  
Old 17 กุมภาพันธ์ 2013, 00:17
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

ลองมาดูข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ดูครับ

“ในปีการศึกษา 2556 สพฐ.จะเน้นบูรณาการ ทั้งเนื้อหา เวลาเรียน การวัดผลประเมินผล ตลอดจนการให้การบ้านที่ต้องบูรณาการทุกกลุ่มสาระวิชาเพื่อลดภาระงานของนัก เรียน และให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนมากขึ้น การบ้านและโครงงานที่ครูมอบให้จะมีการบูรณาการทุกกลุ่มสาระ ครูจะไม่สามารถให้การบ้านเด็กได้ตามใจชอบอีกต่อไป” เป็นถ้อยแถลงของ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) หลังการประชุมผู้บริหาร สพฐ. เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556

พร้อมกัน นั้น เลขาธิการ กพฐ. ยังตอกย้ำอีกครั้งหลังถูกสังคมตั้งคำถามถึงที่มาของนโยบายว่า เป็นการปรับลดการบ้านนักเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษา ตามนโยบายที่ รมว.ศึกษาธิการเคยตั้งโจทย์เอาไว้ว่า “ทำไมเด็กไทยเรียนเยอะแต่รู้น้อย” อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งผลการประเมินจากสถาบันต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศที่ตกต่ำของเด็กไทย

“สพฐ.ได้ นำเนื้อหาวิชา เวลาเรียนต่อวัน การให้การบ้าน รวมทั้งการประเมินทั้งระดับเขตพื้นที่และระดับชาติมาวิเคราะห์ พบว่าความหวังดีของผู้ใหญ่กลายเป็นภาระของเด็ก สภาวะเด็กไทยที่เรียนมากแต่รู้น้อย แสดงว่าควรเรียนเท่าที่จำเป็นแต่ได้ผลมากกว่านี้ ที่ผ่านมาครูทั้ง 8 กลุ่มสาระให้
การบ้านพร้อมกันหมด เด็กก็มีการบ้านมากมายมหาศาล แต่ต่อไปครูจะต้องคุยกันก่อนเปิดเทอมว่าภาคเรียนนี้จะสอนอะไรบ้าง และกำหนดว่าควรจะให้การบ้านนักเรียนอย่างไรบ้างที่บูรณาการและประเมินร่วม โดยให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ไปจัดทำคู่มือบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนที่ครบวงจรให้แล้วเสร็จภายใน เดือน เม.ย.นี้ จากนั้น สพฐ.จะเร่งจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเขตพื้นที่การศึกษาและครู เพื่อให้มีความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน” ดร.ชินภัทร กล่าว
.....................
ถ้าสนใจก็หาอ่านได้จากที่นี่ครับ http://www.thairath.co.th/content/edu/325982

ส่วนผลสำรวจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างไร

นิด้าโพล เผยเด็กเยาวชนเกินครึ่ง ไม่เห็นด้วยให้ลดการบ้าน

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “เด็กและเยาวชนไทยคิดอย่างไรกับการปล่อยผม ลดการบ้าน ปลดภาระการเรียน” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2556 จากเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง พบว่า

เด็กและเยาวชนไทย ร้อยละ 48.88 ระบุว่า เห็นด้วยกับการให้เด็กนักเรียนสามารถไว้ผมยาวได้ เพราะทำให้เด็กรู้สึกไม่อึดอัดในกฎระเบียบ และผลการเรียนไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรงผม และร้อยละ 42.41 ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะการตัดผมสั้นมีส่วนช่วยในการรักษากฎระเบียบและดูเป็นระเบียบเรียบร้อย เหมาะสมกับสถานภาพการเป็นนักเรียน

ส่วนการลดการบ้านเด็กนักเรียนนั้นพบว่า เด็กและเยาวชนไทยร้อยละ 55.43 ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะการบ้านถือเป็นการฝึกทักษะอย่างหนึ่งของเด็ก และทำให้เด็กมีความรับผิดชอบ และร้อยละ 34.74 ระบุว่าเห็นด้วย เพราะทำให้เด็กรู้สึกไม่เครียด ผ่อนคลาย บางครั้งครูก็ให้การบ้านเยอะเกินไป

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับลดภาระการเรียนว่าจะช่วยพัฒนาเด็กไทยให้มีโอกาสเรียนรู้และทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมากข ึ้นได้หรือไม่ พบว่าเด็กและเยาวชนไทยร้อยละ 41.77 ระบุว่าช่วยได้ เพราะเด็กจะได้มีเวลาในการพัฒนาฝึกฝนทักษะในด้านอื่นๆ มากขึ้น โดยเฉพาะการทำกิจกรรมนอกห้องที่เน้นการปฏิบัติ การสนทนาอภิปรายกลุ่ม และร้อยละ 31.79 ระบุว่าช่วยไม่ได้ เพราะเกรงว่าเด็กจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่น เช่น เล่นเกม เที่ยวเตร่ และปกติเด็กก็ไม่ใส่ใจการเรียนอยู่แล้ว

ที่มา http://news.mthai.com/general-news/218592.html


ถ้าใครได้ดูข่าวในรายการที่เชิญผู้ใหญ่ของ สพฐ ท่านหนึ่งออกรายการสัมภาษณ์ เกี่ยวกับเรื่องนี้จะเห็นว่าการปรับลดการบ้านครั้งนี้ก็มาจากการวิเคราะห์ผลการเรียนของเด็กไทยต่ำกว่ามาตรฐาน และได้มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าการบ้านที่ให้เด็กทำไม่ได้ทำให้เด็กได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น และที่ให้กันปัจจุบันก็ต่างคนต่างให้และมีแนวคิดว่าหลักสูตรใหม่จะทำแบบเมืองนอกคือใช้แบบ flip (แบบตีลังกา) คืออ้างว่าการเรียนรู้มี 2 แบบคือ เรียนเสร็จแล้วให้การบ้านเพื่อทดสอบสิ่งที่เรียน กับอีกแบบคือให้การบ้านก่อนเรียนซึ่งเป็นแบบที่เมืองนอกปัจจุบันเค้านิยมทำกัน

ที่ให้ข้อมูลมาทั้งหมด เพื่อให้ครบถ้วนถึงที่มาและที่ไป เด็กนักเรียนถือว่ามีส่วนได้เสียกับเรื่องนี้ก็เลยคิดว่าถ้ามีข้อมูลเพิ่มเข้ามาอาจทำให้เกิดมุมมองใหม่ได้

สิ่งที่ผมตั้งข้อสังเกตก็คือว่าถ้างานวิจัยพบว่าการให้การบ้านไม่มีผลต่อการเรียนรู้ที่ทำอยู่ เราก็สรุปว่าเอาการบ้านออกจากระบบหรือ เหมือนกับว่าถ้าเราสร้างสะพานลอยแล้วไม่มีคนใช้สะพานลอย คนก็ยังถูกรถชน เราก็เลยสรุปว่าสะพานลอยไม่มีประโยชน์ทุบมันทิ้งซะ สะใจดีครับ

และการเรียนแบบแนวคิดใหม่ (flip)แน่ใจนะว่าครูของเราพร้อมและเด็กไทยมีความรับผิดชอบถึงขั้นนั้นหรือยัง ขนาดสั่งการบ้านเด็กเวลาตรวจการบ้านยังให้ตัวตุกตุ่นอยู่เลยแทนสัญญลักษณ์การตวจงาน

อันที่จริงถ้าอยากรู้ว่าครูมีความสามารถทางวิชาการพร้อมที่จะถ่ายทอดหรือไม่ ก็ให้ครูสอบด้วยทั้ง GAT-PAT แล้วก็ O-NET คราวนี้จะได้รู้กันเสียที่ว่าเด็กต่ำกว่ามาตราฐานเป็นเพราะใคร
ส่วนเรื่องว่าครูมีความรู้ในการถ่ายทอดได้หรือไม่ ก็ให้ครูทำบทเรียนในการสอนแล้วอัดใส่ you tube ก็ได้ ให้เด็กนักเรียนหรือคนเข้าไป ดู แล้วก็กด like หรือ comment ก็ได้ หรือดูจากเด็กที่สอนว่าเวลาไปสอบ ได้คะแนนเฉลี่ยเท่าไร
สิ่งเหล่านี้ก็ไว้ประเมินและปรับเงินเดือนครู ดีกว่าทำเศษกระดาษไว้ปรับวิทยะฐานะซะอีก

หรือถ้าจะเอาแบบเมืองนอกจริงๆก็เอาให้ครบเลยคือเด็กนักเรียนประเมินครูได้เด็กไทยพร้อมหรือยัง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้