ดูหนึ่งข้อความ
  #6  
Old 10 เมษายน 2013, 15:49
t.B.'s Avatar
t.B. t.B. ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 17 มิถุนายน 2007
ข้อความ: 634
t.B. is on a distinguished road
Default

ผมมาตอบช้าไปไหมครับเนี่ย

น้อง ArT_Ty เรื่องเรียนในมหาลัย พูดยากครับ เพราะแต่ละมหาลัยก็สอนแตกต่างกันไป ลองไปหาหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตรดูครับ ว่าเรียนวิชาอะไรบ้าง วิชาเลือกเท่าไร โดยส่วนตัว ชอบหลักสูตรที่มีวิชาให้เลือกเรียนได้หลากหลายไม่ปิดกั้น เพราะคิดว่าเราไม่ควรจะรู้อยู่แค่เลขเรื่องเดียว วิชาในมหาลัยมีเยอะ เราน่าจะลองไปสัมผัสกับอะไรใหม่ๆบ้าง นอกจากนี้พี่แนะนำว่าเราไม่ควรหวังพึ่งแต่เนื้อหาที่ได้จากการสอนจากอาจารย์ในมหาลัย โลกเดี๋ยวนี้ไปเร็วนะครับ เผลอๆหลักสูตรที่มีในมหาลัยก็ดูล้าสมัยไปแล้วหรือความรู้อาจารย์ในภาคไม่อัพเดทแล้ว เราควรจะไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเอง ว่า field ไหนน่าสนใจ field ไหนเอาสิ่งที่เราเรียนไปต่อยอดใช้งานได้ ฯลฯ

คณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยระดับ ปตรี คงแนะนำพวกตัวหลักๆได้คร่าวๆนะครับ(เป็นตัวพื้นฐาน ที่เห็นมี application มากหน่อย) ก็คือวิชา Calculus, Differential Equation, Linear Algebra, วิชา Probability&Statistics ทั้งหลาย, Optimization แล้วก็พวกเขียน Algorithm ไม่รู้เค้าเรียกวิชาอะไรฝึกไว้ก็ดีครับไม่เสียหาย กับวิชาด้าน Simulation, Scientific Computing ทั้งหลาย
บางครั้งเรื่องเหล่านี้ที่ อ. สอนอาจจะไม่ได้เน้นให้เห็นถึง application เราก็ต้องไปหาอ่านเพิ่มเองนะครับ
อ้อ note นิดนึง Statistics ในมหาลัย ไม่ได้เหมือนโจทย์สถิติที่เรียนตอน มปลาย นะครับ ที่ไปหา mean,SD ท่องสูตร แก้สมการวนไปวนมาอยู่แบบนั้น ถ้าให้พูดคร่าวๆก็คือ สถิตินั้นเกี่ยวกับ Data+Decision คือเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์ มาสร้าง model แล้วนำไปสู่การตัดสินใจ

ส่วนเรื่องทุนนี่ก็มีทุนในแต่ละมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว (ต้องสอบถาม อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยเอง) แต่เข้าใจว่าเรียนจบกลับมาแล้วต้องกลับมาสอนใช้ทุนแต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละที่ด้วย ส่วนทุนอื่นๆก็คือทุนของรัฐกับเอกชน ทุนรัฐบาลก็ เช่น ทุน กพ. ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ทุนคิง ทุนเอกชนก็ตามประกาศของบริษัทต่างๆเช่นพวกแบงค์ แต่ละที่เงื่อนไขก็ต่างกันไป บางทีต้องกลับมาทำงานให้ บางที่ก็ให้เปล่า แล้วแต่บริษัท

ส่วนจบไปแล้วไปสามารถทำงานสายงานไหนได้บ้าง ถ้าให้ผมแบ่ง ถ้าไม่นับงานอาจารย์มหาลัย พูดถึงงานในเอกชน ก็แบ่งเป็นสองสายคร่าวๆ คือ งานด้าน business+management กับ งานที่ออกไปทางด้านอุตสาหกรรม (ผลิตนู้นนี่)

คำเตือน: ข้อมูลทั้งหมดด้านล่าง ผมบอกได้แค่คร่าวๆนะครับ ถ้าสนใจด้านไหนเพิ่มควร search ข้อมูลเพิ่มเอง

งานด้าน business ก็เช่น ในธนาคารหรือบริษัทประกัน ที่ดูจะใช้เลขมากหน่อยก็มีงานด้าน risk management, actuary, financial engineer บางทีก็เป็นงาน consulting ตามบริษัท consult ที่เคยเห็นบริษัท consult ใหญ่ๆหน่อย เช่น Goldman Sach, JP Morgan, Boston Consulting ก็รับพวกจบเลขไปแก้ปัญหา business ของลูกค้าที่มาใช้บริการน่ะครับ (เป็นไปได้ว่าอาจจะไม่ได้ใช้แมทอะไรมากมายใช้ความคิดสร้างสรรค์มากกว่า) เช่น การประมาณต้นทุน กำไรขาดทุนจากการลงทุน หรือวิเคราะห์ข้อมูลที่เอามาใช้ตัดสินใจในธุรกิจว่าจะเดินไปทางไหน เป็นต้น แต่ก็เคยเห็นมีพวกที่เป็นงานใช้แมทเยอะในบริษัท consult เหมือนกัน เช่น พวก simulation เหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ (น้ำท่วม แผ่นดินไว ฯลฯ)
และก็งานด้าน operation research ที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตก็คือการวางแผนและตัดสินใจ เช่นจะผลิตวันไหน เท่าไร ให้มีต้นทุนต่ำสุด กำไรสูงสุด ฯลฯ ออกแนว management
และก็งานด้านวิเคราะห์ข้อมูลในแบบต่างๆสารพัดสารเภ ก็ใช้ความรู้ทางสถิติกับโปรแกรมทางคอมมาช่วยวิเคราะห์ได้ ที่ฮิตๆกันตอนนี้ก็มี Data mining ที่เห็นพูดถึงกันบ่อยขึ้นเรื่อยๆในด้านวิเคราะห์ data เพราะในปัจจุบันข้อมูลมีล้นโลกมาก (มักเก็บอยู่ในรูปดิจิตอล ในคอม นั่นเอง) แต่ไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์อะไรเท่าที่ควร เช่นไปซื้อของที่เซเว่น แค่เดินเข้าไปก็มีเซนเซอร์นับจำนวนคนเข้าออกได้แล้ว ไหนจะตอนซื้อของมีสลิปออกมาบันทึกไว้หมดใครซื้ออะไรเท่าไร ขึ้นรถไฟฟ้า BTS ก็ต้องผ่านด่านเข้าก็ใช้เซนเซอร์นับจำนวนคนโดยสารในแต่ละวันได้ หรือข้อมูลการใช้บัตรเครดิตที่ถูกบันทึกไว้ทุกครั้งที่ใช้ มันก็แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของคนได้ หรือข้อมูลตามโรงบาลคนนี้เป็นโรคนี้ เคยมีประวัติแบบไหนมาก่อนถึงเป็น ฯลฯ ยุคนี้เดินไปไหนก็ ทำอะไรก็ถูกเก็บข้อมูลไว้หมด

งานทางด้านอุตสาหกรรม ก็ขึ้นกับว่าอุตสาหกรรมอะไร เวลาทำงานคิดว่าต้องทำงานร่วมกับคนสาขาอื่นๆด้วย ทำงานเป็นทีม (เช่นกับนักฟิสิกส์ วิศวะ แพทย์ เภสัช นักวิทยาคอม)
เช่น บริษัทยา จ้าง biostatistician ไปช่วยทดลอง ค้นคว้าหายาตัวใหม่ๆ (อาจมีหน้าที่อื่นอีก)
บริษัท IT จ้าง computer scientist(ไม่ก็พวก math ที่ลงวิชาทางคอม) ไปเขียนโปแกรม software หรือสร้าง technology ใหม่ๆ เช่น ในตัวอย่างนี้ http://www.ams.org/samplings/feature...fcarc-harmonic นักคณิตศาสตร์ที่ Pixar เอา Harmonic Analysis มาใช้กับ Computer Graphic ทำให้ภาพเคลื่อนไหวสมจริงมากขึ้น
บริษัทผลิตเครื่องบิน(เช่น โบอิ้ง) ก็จ้างนักคณิตศาสตร์ที่ทักษะด้าน fiuld dynamics ไปทำ simulation ของลม เวลาผลิตเครื่องบิน
บริษัทด้านพลังงาน (เช่นบริษัทน้ำมัน) จ้างนักคณิตศาสตร์ไปประมาณหาปริมาณของน้ำมันและก๊าซในบ่อน้ำมัน (เข้าใจว่าดูก่อนเจาะว่ามันคุ้มเปล่าที่จะขุด) ลองอ่านในนี้เพิ่ม http://www.mathaware.org/mam/09/essa...nergyMaths.pdf
อีกตัวอย่างก็บริษัทรถยนต์ เวลาเค้าผลิตรถก็ต้องใช้ simulation เพื่อทดสอบว่ารถมันเวลาชนแล้วมันเสียหายไปมากแค่ไหน ดังนั้นก็ไม่พ้นการใช้คณิตศาสตร์ (คงไม่มีบริษัทรถที่ไหนสร้างรถมา เป็นร้อยๆคันแล้วเอามาวิ่งชนไปปรับแต่งไป)
แล้วก็พวกบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพราะเดี๋ยวนี้มันมีการเอา technology มาใช้กับทางชีวะหรือไม่ก็การแพทย์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นใน medical imaging ดูจะเป็นสาขาที่มาแรงสาขาหนึ่งเลยตอนนี้ในต่างประเทศ
แล้วก็งานด้าน material science เอา math ไปใช้ในการค้นคว้าสร้าง model ของโมเลกุลหรืออุณภูมิ ฯลฯ หาวัสดุที่มีคุณสมบัติใหม่ๆ

ยังมีงานอีกสารพัดสารเพครับที่ mathematics เอาไปใช้ต่อยอดได้และผมไม่ได้กล่าวถึง มันอยู่ที่ความสร้างสรรค์ของคนที่เอาไปใช้
ลองดูข้อมูลเพิ่มเติมอีกได้ที่
http://home.sandiego.edu/~dhoffoss/careers/cando.html


ส่วนโอกาสการได้งานนั้น ก็อยู่ที่เราเลือกและวางแผนไว้ (เพราะถ้าวางแผนไว้ก่อน เราจะได้ไปลงเรียนวิชาที่คิดว่าจะได้ใช้ประโยชน์ในสายงานเราได้) และพอไปสมัครงาน ต่อให้ไม่มีวิชาพวกนั้นใน transcript เรา เราก็สามารถเอา Project (หรือ thesis) ที่ทำตอน ปี4 หรือผลงานใดๆที่ทำช่วง 4 ปี ที่เกี่ยวกับทางด้านนั้นๆ มาแสดงและอธิบายกับบริษัทด้านที่เราจะไปทำงานได้ หรืออย่างน้อยถ้าเราหาข้อมูลงานด้านที่จะทำไว้มากพอเราก็สามารถอธิบายคนที่เค้าสัมภาษณ์เราได้ว่าเราทำประโยชน์อะไรให้กับบริษัทเค้าได้ บ้าง อย่าไปคิดว่าจบมาแล้วจะต้องมีใครมาจ้างเรา เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเรามีดีอะไรให้เค้าจ้าง ถ้าเรามีความรู้ความสามารถจริง เป็น leading ในด้านนั้นๆจริง ผมคิดไม่ออกเลยว่าเราจะตกงานได้ยังไง

สุดท้ายนี้ขอทิ้งประโยคหนึ่งที่คิดว่าคงเคยได้ยินกันหลายหนแล้ว
ที่มามาจาก page ไหนสัก page เรื่องของเรื่องก็คือ มีคนถามว่าทำไมเลือกเรียน math?
คำตอบก็คือ ถ้าเราเรียน Math เราสามารถตะลอนไปได้สาขาอื่นใด้ก็ได้ที่เราสนใจ (ที่เอาแมทไปใช้) แต่ถ้าเราไปเรียนสาขาอื่นเราอาจจะไม่สามารถย้ายข้ามสายไปทำงานด้านอื่นที่เราสนใจได้
อย่างที่ Gauss เคยพูดไว้ว่า Mathematics is the queen of sciences. เมื่อเกือบ 200 ปีที่แล้ว
จากประการณ์(ถึงแม้จะน้อยนิด)ของพี่ก็บอกได้เลยว่า Mathematics ก็ยังคงเป็น the queen of sciences อยู่แม้ในปัจจุบัน
ดังนั้น ถ้าชอบแมท เรียนแมทไปและมองหาโอกาสที่จะได้ใช้มันไปด้วย(เปิดรับสิ่งใหม่ๆด้านอื่นด้วย) แล้วจะไม่เสียใจแน่นอน
__________________
I am _ _ _ _ locked

10 เมษายน 2013 18:27 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 10 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ t.B.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้