หัวข้อ: ความน่าจะงง
ดูหนึ่งข้อความ
  #6  
Old 21 พฤษภาคม 2013, 16:12
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Lightbulb

ประการแรกผมยังไม่เคยเห็นหนังสือไทยหรือต่างประเทศเล่มไหนที่เขียนแยกระหว่างคำว่า วิธี กับ แบบ ว่าต่างกันเลยครับ ถ้ามีแยก ก็ไม่รู้ว่าจะใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร นั่นก็คือความหมายที่ผมเห็นเขาเขียนกันทั่วไป คำว่า จำนวนวิธี กับ จำนวนแบบ มีความหมายอย่างเดียวกันครับ

แต่ผมว่าปัญหาที่ทำให้สับสนในเรื่องนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก

1. หลักสูตรปัจจุบันประมาณ 10 ปีหลังมานี้ ที่จับเรื่องการนับจำนวนแบบหรือจำนวนวิธี ไปใส่เป็นเรื่องเดียวกันในเรื่องความน่าจะเป็น

2. เนื้อหาที่ใส่ในหลักสูตรบ้านเราระดับมัธยม จับมาใส่หรือให้เรียนเพียง 1/4 ของทั้งหมด
คือบ้านเราจะเรียนเฉพาะสิ่งของที่ต่างกัน ตอนนับก็นับแต่ของต่างกัน ไม่ได้ฝึกนับของที่มันเหมือนกัน

แต่พอเรียนเรื่องความน่าจะเป็น ถ้าเป็นของเหมือนกัน เราจะคิดว่าเสียว่ามันเป็นของที่ต่างกันก่อน แล้วค่อยนับ แต่ถ้าเรานับอย่างเดียวโดยไม่มีความน่าจะเป็นมาเกี่ยวข้อง มันก็ต้องนับแบบของที่เหมือนกันครับ ไม่ใช่ไปคิดว่าเป็นของที่ต่างกัน

ถ้าเราเรียนเรื่องการนับของที่เหมือนกันมาครับ หมดแล้ว ผมคิดว่าความงงทั้งหลายจะหมดไปครับ

------------------------------------

ที่สำคัญเรื่องการนับ การจะเขียนคำถามหรือถาม ไม่ควรเขียนแบบเข้าใจไปเอง ว่าทุกคนต้องเข้าใจเหมือนกัน

อย่างเรื่องการหยิบ โดยทั่วไปถ้าเราพูดว่าหยิบของ จริง ๆ แล้วที่ถูกมันต้องหมายถึง เรากำลังหยิบพร้อม ๆ กัน

นั่นก็คือ ลำดับของการหยิบ ก่อนหลัง ใครมาก่อน มาหลัง เราถือว่าเหมือนกัน ไม่คิดว่ามันต่างกัน

ดังนั้น ถ้าเรามี A กับ B ถ้าบอกว่าหยิบพร้อมกัน 2 ชิ้น จะหยิบได้เพียง 1 แบบหรือ 1 วิธีคือ AB (หรือจะเขียน BA ก็ได้)

-------------
แต่ถ้าเราบอกว่า มี A กับ B แล้วหยิบทีละชิ้น โดยใส่คืนก่อนหยิบลูกถัดไป แบบนี้เราจะถือว่าลำดับก่อนหลังถือว่าต่างกัน

ซึ่งจะมี 4 วิธีคือ AA, AB, BA, BB

โดย AB หมายถึง ครั้งที่ 1 หยิบได้ A และ ครั้งที่ 2 หยิบได้ B

ซึ่งจะต่างกับ BA ที่หมายถึง ครั้งที่ 1 หยิบได้ B และ ครั้งที่ 2 หยิบได้ A

ถ้าเราบอกว่ามี A กับ B แล้วหยิบทีละชิ้น โดยไม่ใส่คืนก่อนหยิบลูกถัดไป แบบนี้จะหยิบได้ 2 วิธีคือ AB กับ BA

---------------
เรื่องลูกเต๋าก็เหมือนกันครับ ที่เขาบอก 21 กับ 12 ต่างกัน เพราะมันมีความหมายของผลลัพธ์ที่ต่างกัน เราจึงถือว่ามันเป็นคนละวิธีกัน

เช่น มีลูกเต๋า 1 ลูก โยนทีละครั้ง โดยโยน 2 ครั้ง จะมีได้ 4 แบบคือ 11, 12, 21, 22

การที่บอกว่า 12 ต่างกับ 21 เพราะ 12 หมายถึง โยนครั้งแรกได้ 1 และ โยนครั้งที่สองได้ 2

ซึ่งเป็นคนละความหมายกับคำว่า 21 ซึ่งหมายถึง โยนครั้งแรกได้ 2 และ โยนครั้งที่สองได้ 1
------------
แต่ถ้าโจทย์เขียนเป็น มีลูกเต๋า 2 ลูก โยนพร้อมกัน 1 ครั้ง จะมีได้ 4 แบบคือ 11, 12, 21, 22

แต่ 12 ในที่นี้ จะหมายถึง ลูกเต๋าลูกที่ 1 (สมมติว่าอยู่ซ้ายมือของเรา) ขึ้นแต้ม 1

และ ลูกเต๋าลูกที่ 2 (สมมติว่าอยู่ขวามือของเรา) ขึ้นแต้ม 2

ซึ่งจะต่างกับ 21 ที่หมายถึง ลูกเต๋าลูกที่ 1 (สมมติว่าอยู่ซ้ายมือของเรา) ขึ้นแต้ม 2

และ ลูกเต๋าลูกที่ 2 (สมมติว่าอยู่ขวามือของเรา) ขึ้นแต้ม 1

-------------------
ลองโจทย์ข้อนี้นะครับ ข้อที่ 2

http://www.mathcenter.net/triam/016n...nal02p01.shtml

มี กกกก, ขขข, ค, ง, จ, ช หยิบมาอย่างน้อย 3 ตัว หยิบได้กี่วิธี

แนวคิด นับจำนวนวิธีหยิบไม่มีเงื่อนไข - จำนวนวิธีหยิบได้อย่างมาก 2 ชิ้น

ขั้นที่ 1. หยิบ ก. เนื่องจาก ก เป็นของที่เหมือนกัน เราจะได้หยิบ 5 วิธีเท่านั้นคือ ไม่หยิบเลย, หยิบ ก, หยิบ กก, หยิบ กกก, หยิบ กกกก

ขั้นที่ 2. ทำนองเดียวกัน ขขข หยิบได้ 4 วิธี

ขั้นที่ 3. ค, ง, จ, ช หยิบได้อย่างละ 2 วิธี

ดังนั้นหยิบไม่มีเงื่อนไข จะหยิบได้ (5)(4)(2)(2)(2)(2) = 320 วิธี

ถ้าหยิบอย่างมาก 2 ชิ้น จะหยิบได้ 24 วิธีคือ

ไม่หยิบเลย, ก, ข, ค, ง, จ, ช, กก, ขข, กข, กค, กง, กจ, กช, ขค, ขง, ขจ, ขช, คง, คจ, คช, งจ, งช, จช

ดังนั้นข้อนี้จะตอบ 320 - 24 = 296 วิธี

แต่ถ้าเปลี่ยนโจทย์เป็นของต่างกันหมด

มี ABCD, EFG, H, I, J, K หยิบมาอย่างน้อย 3 ตัว หยิบได้กี่วิธี

ขั้นที่ 1. หยิบ A ได้ 2 วิธีคือ ไม่หยิบ กับหยิบมา 1 ตัว

ขั้นที่ 2. B, C, ... , K หยิบได้ 2 วิธี เช่นกัน

ดังนั้นหยิบไม่มีเงื่อนไข จะหยิบได้ $2^11 = 2048$ วิธี หรือใช้ $\binom{11}{0} + \binom{11}{0} +...+\binom{11}{11} = 2^{11}$ ก็ได้

(ไม่หยิบเลย + หยิบ 1 ตัว + ... + หยิบ 11 ตัว)

ถ้าหยิบอย่างมาก 2 ชิ้น จะหยิบได้ $\binom{11}{0} + \binom{11}{1} + \binom{11}{2} = 68$ วิธี
(ไม่หยิบเลย + หยิบ 1 ตัว + หยิบ 2 ตัว)

ดังนั้นข้อนี้จะตอบ 2048 - 68 = 1980 วิธี

-------
จะเห็นว่า ถ้าเราของของเราต่างกันหมด กับ ของของเรามีบางส่วนที่ซ้ำกันหรือเหมือนกัน เราจะได้คำตอบที่ต่างกัน

ดังนั้นถ้ามีของเหมือนกัน เราก็ต้องนับแบบของเหมือนกัน ถ้าของต่างกัน ก็ต้องนับแบบของต่างกันครับ ถ้ามีแยกว่า อันนี้นับ แบบ อันนี้นับ วิธี อ่านโจทย์เสร็จหนึ่งข้อคงต้องนั่งตีความอีกว่า วิธี กับ แบบ อะไรมันคืออะไรกันแน่ จะไม่ยิ่งสับสนไปกว่าเดิมหรือครับ.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้