ดูหนึ่งข้อความ
  #11  
Old 07 กุมภาพันธ์ 2016, 16:30
Scylla_Shadow's Avatar
Scylla_Shadow Scylla_Shadow ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 1,151
Scylla_Shadow is on a distinguished road
Default

สวัสดีค่ะ คุณ share

หนูคิดว่า เราต่างเห็นพ้องกันว่าที่ราคา $P_r$ ทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรสูงสุด แต่เรามีคำอธิบายที่ต่างกัน
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม

ขอตอบแบบตรงๆตามความรู้สึกว่า คำอธิบายนั้นเหมือนมาจากคนที่ไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์มา หรือถ้าเรียนมาก็ลืมไปเสียส่วนใหญ่

ปกติช่วงนี้จะไม่ค่อยตอบกระทู้ แต่มีกระทู้นี้ที่เห็นแล้วรู้สึกว่าต้องมาตอบ
ขอตอบตามประเด็นดังนี้

อ้างอิง:
หน่วยเพิ่มชิ้นท้ายสุด คือ Marginal Product ครับ
Marginal Product มีศัพท์เทคนิคภาษาไทยว่า "ผลผลิตเพิ่ม" ค่ะ
อ้างอิงจาก http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-5.pdf

ตอนแรกที่ตอบไป แค่มาแก้คำอธิบายให้มันดูอ่านรู้เรื่อง เลยใช้เป็นสีน้ำเงินค่ะ

ต่อไปเป็นประเด็นที่ใช้สีแดง คือมีความเห็นไม่ตรงกันค่ะ

อ้างอิง:
อืม สงสัยครับ ประเด็น ๑ (ณ ราคา Pr มีสินค้ามากถึง Qr ในราคาถูกมากเพียง Pr สังคมโดยรวมชอบใจแน่ ๆ)
ใช่เป็น เหตุผล หรือครับ
ตอนแรกจะใช้คำว่า "ตรรกะ" แต่ดูแรงไปเลยใช้คำว่าเหตุผลแทน
ตอนนี้ขอใช้คำว่า "ตรรกะ" เลยค่ะ

อ้างอิง:
ในขณะที่ Pr < Pf < Pm สังคมโดยรวมไม่ชอบใจดอกหรือ
ต้องถึงกับ "แจกฟรี" เลยหรือ สังคมโดยรวมจึงชอบใจ
ใช่ค่ะ ถ้าจะใช้ตรรกะนี้ ถ้าบอกว่ายิ่งถูกยิ่งชอบใจ
จริงๆไม่ใช่ต้อง "แจกฟรี" นะคะ ต้องจ่ายเงินให้ผู้ซื้อด้วยค่ะ ถึงจะชอบใจ

ยิ่งถ้าบอกว่า ที่ราคา $P_r$ จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม เพราะสังคมชอบใจ
ทำให้เกิดคำถามต่อทันทีว่า ถ้าราคาน้อยกว่า $P_r$ สังคมจะชอบใจน้อยกว่าราคา $P_r$ เหรอ
แล้วยิ่งถ้าแจกฟรี จะไม่ชอบใจกว่าเหรอ
แล้วถ้าเกิดแจกฟรี แล้วแถมเงินให้อีก จะไม่ชอบใจกว่าเหรอ
แล้วเมื่อไรจะหยุดที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับสังคม

จริงๆจากการที่อ่านครั้งแรก และครั้งที่สองวันนี้ อ่านแล้วรู้สึกว่า จะมีการตีความสังคมว่าเป็นผู้บริโภคอย่างเดียว
ไม่ใช่ผู้ผลิตและผู้บริโภค (สังเกตจาก "ในราคาถูกมากเพียง Pr สังคมโดยรวมชอบใจแน่ ๆ") จึงตึความว่าตรรกะอาจมาประมาณนี้

และถึงแม้จะนำผู้ผลิตมาคำนึงด้วย
มันก็ยังเกิดคำถามต่ออยู่ดีว่า
ถ้ายิ่งแจกฟรียิ่งแถม ผู้บริโภคยิ่งดี ชอบ ถึงแม้ผู้ผลิตจะแย่ แต่แย่แค่ผู้ผลิต
เวลาคิดออกมาโดยรวมแล้ว ก็ออกมาดี (assume ว่ามีจำนวนผู้บริโภคมากกว่าผู้ผลิต บลาๆ)

และถึงแม้จะนำรัฐบาลมาจ่ายส่วนต่างให้ผู้ผลิตด้วย
มันก็เกิดคำถามอยู่ดีว่า
เมื่อไรความชอบใจจะหยุด เพราะสามารถทำให้ผู้บริโภคชอบใจได้มากขึ้นๆเรื่อยๆ

จริงๆ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร อยากให้ใช้ประเด็นนี้มาอธิบายมากกว่า "ความชอบใจ" เนื่องจาก
1. การจัดสรรทรัพยากรสามารถบอกได้จากกราฟ และรู้ได้ว่าเมื่อไรจะจัดสรรได้ดีที่สุด (การจัดสรรทรัพยากรที่เกิดประโชน์ที่สุด คือปริมาณทรัพยากร/สินค้าที่ผู้ผลิตอยากขาย เท่ากับปริมาณทรัพยากร/สินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ) โดยดูจากจุดตัดของอุปสงค์ และอุปทาน

2. ความชอบใจขึ้นอยู่กับบุคคล บุคคลแต่ละคนมีความชอบใจต่างกัน เช่น
1. ผู้ผลิตอาจชอบใจมากขึ้น หากขายสินค้าได้ในปริมาณมากขึ้น ในราคาที่สูงขึ้น
2. ผู้บริโภคอาจชอบใจมากขึ้น หากซื้อสินค้าได้ในปริมาณที่มากขึ้น ในราคาที่น้อยลง
3. คนที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมอาจชอบใจมากขึ้น ถ้ากระเป๋าแบรนด์เนมที่ตัวเองถืออยู่ราคาห้าแสนบาทหรือแพงกว่า ด้วยเหตุผลส่วนตัว และจะชอบใจน้อยลง ถ้าราคากระเป๋าแบรนด์เนมที่ตัวเองถือตกลง

การนำแนวคิดของความชอบใจมาใช้ จะลำบากมากในการทำให้ทุกๆคนที่อ่าน และทุกๆคนที่เรียนเข้าใจตรงกัน
อย่างไรก็ดี เศรษฐศาสตร์มีเนื้อหาเรื่อง Preference ที่มีความเกี่ยวข้องกับความชอบใจ หากสนใจก็ลองไปศึกษาดูได้ค่ะ

3. ความชอบใจไม่สามารถนำมาอธิบายได้ว่า ทำไมที่ระดับราคา $P_r$ ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม (assume ว่ามีข้อมูลแค่กราฟ) หากมีข้อมูลเกี่ยวกับ Preference curve / utility อาจนำมาคำนวณได้ อีกทั้งถึงจะ assume ได้ว่ายิ่งถูกยิ่งดี แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า ทำไมต้องหยุดที่ $P_r$.



อ้างอิง:
ATC= AFC+AVC
ถ้า ATC = 10, AFC = 3, AVC = 7
ถ้า Pr = 8 Pr < ATC (8<10) ผู้ผลิตจะผลิตหรือ? เขาขาดทุน AFC แล้วนะครับ ????

หาก Pr < AVC < ATC (6<7<10) ผู้ผลิตจะขาดทุนทั้ง AFC และ AVC ครับ ????? รอบสอง
ถ้า $P_r=8$ ถ้าผลิต เขาจะขาดทุน $2Q$ ถ้าขายได้ $Q$
แต่ถ้าไม่ผลิต เขาจะขาดทุน $3Q$ เขาจึงควรเลือกที่จะผลิตต่อค่ะ

ลองศึกษาเรื่อง shutdown condition ดูนะคะ คิดว่ามีในหนัง Intro to Microeconomics ทุกเล่มค่ะ (น่าจะบทพวก Production function)

ปกติสมมุติฐานของผู้ผลิต จะมี
1. Profit Maximization: ผู้ผลิตต้องการกำไรมากที่สุด
2. Loss minimization: ผู้ผลิตต้องการความเสียหายน้อยที่สุด

และสมมติฐานเกี่ยวกับ cost ของผู้ผลิตว่ามีสองชนิดคือ
1. Fixed cost คือค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ถึงแม้จะไม่มีการผลิตสินค้า เช่น ค่าเช่าที่ดิน ค่าอาหารกลางวันผู้ผลิต บลาๆ
2. Variable cost คือค่าใช้จ่ายที่จะแปรตามจำนวนสินค้าที่ผลิต เช่น ค่าผ้าสำหรับตัดเสื้อส่งออก บลาๆ

ถ้า $P>ATC$ นั้นทำให้เกิด Profit ก็ดีแล้ว ปกติสุข
ถ้า $ATC>P>AVC$ ถึงแม้ว่า จะขาดทุนแต่หากพิจารณาทางเลือก
1. ไม่ผลิต แต่ว่าผู้ผลิตต้องเสียค่า fixed cost ด้วย สมมุติเป็น $-FC$ (คือขาดทุน)
2. ผลิตไป สมมุติว่าขายได้ $Q$ หน่วย จะพบว่าขาดทุน $Q \cdot P-Q\cdot ATC=Q(P-ATC)$ (ไม่คิดเครื่องหมายลบ เลยตั้ง ATC ก่อน)
แต่ $Q(P-ATC) > Q(AVC-ATC) = -Q(AFC) = -FC$

นั่นคือถ้าเลือกว่าจะผลิตไป จะเสียหาย (loss) น้อยกว่าไม่ผลิตค่ะ (ถึงแม้จะเป็นเครื่องหมาย $'>'$ แต่อย่างลิมว่ามันเป็นจำนวนลบ) ถึงแม้จะขาดทุน ก็ต้องทำให้ขาดทุนน้อยที่สุดค่ะ

ส่วนถ้า P<AVC จะพบว่าควรหยุดผลิตค่ะ

ถึงแม้จะเป็น Profit-maximizing firm ก็ต้อง perform loss minimization ในเวลาที่ต้องทำนะคะ

หมายเหตุ การเลือกไปผลิตอย่างอื่น ไม่มีใน option นะคะ

สวัสดีค่ะ

07 กุมภาพันธ์ 2016 16:47 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Scylla_Shadow
เหตุผล: แก้ไขที่พิมพ์ผิด
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้