ดูหนึ่งข้อความ
  #5  
Old 21 เมษายน 2018, 20:04
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ จูกัดเหลียง View Post
สวยงามากๆเลลยครับ พึ่งเคยทราบ
พหุนามในรูป $x^n-f_nx-f_{n-1}=0$นอกจากมีรากสมการหนึ่งเป็น$\varphi =\frac{1+\sqrt{5} }{2}$แล้วยังมีรากอีกสมการหนึ่งเป็น$\frac{-1}{\varphi }=\frac{1-\sqrt{5} }{2} $เสมอด้วย หรือพูดให้เลยเถิดไปอีกว่า

พหุนามในรูป $x^n-f_nx-f_{n-1}=0$เมื่อ $n= \left\{2,3,4,5,...\right\} $
และ $fคือลำดับฟิโบนาชีหรือ f= \left\{1,1,2,3,5,8,13,21,34,55,89,....\right\}$
โดย $f_1=1,f_2=1,f_3=2,f_4=3,f_5=5,...,f_n=พจน์ที่nของลำดับฟิโบนาชี$
นั้นมีลักษณะพิเศษอีกอย่างคือ ทุกๆพหุนาม $x^n-f_nx-f_{n-1}$ ไม่ว่าnจะเป็นจำนวนนับใดที่มากกว่าหรือเท่ากับ2
ต่างมีพหุนาม$x^2-x-1$ เป็นตัวประกอบทั้งสิ้น เช่น

เมื่อ $n=3$จะได้พหุนาม$x^n-f_nx-f_{n-1}$คือ... $x^3-2x-1=(x^2-x-1)(x+1)$ ,
เมื่อ $n=4$จะได้พหุนาม$x^n-f_nx-f_{n-1}$คือ... $x^4-3x-2=(x^2-x-1)(x^2+x+2)$ ,
เมื่อ $n=5$จะได้พหุนาม$x^n-f_nx-f_{n-1}$คือ... $x^5-5x-3=(x^2-x-1)(x^3+x^2+2x+3)$ ,
เมื่อ $n=6$จะได้พหุนาม$x^n-f_nx-f_{n-1}$คือ... $x^6-8x-5=(x^2-x-1)(x^4+x^3+2x^2+3x+5)$ ,...หรือ
$x^n-f_nx-f_{n-1}=(x^2-x-1)(f_1x^{n-2}+f_2x^{n-3}+f_3x^{n-4}+...+f_{n-2}x+f_{n-1})$

หรือพูดอีกอย่างได้ว่า พหุนาม$x^n-f_nx-f_{n-1}$หารด้วยพหุนาม$x^2-x-1$ ลงตัวเสมอและได้ผลหารเป็น
พหุนาม$f_1x^{n-2}+f_2x^{n-3}+f_3x^{n-4}+...+f_{n-2}x+f_{n-1}$
ซึ่งจะเห็นว่าพหุนามผลหารมีสัมประสิทธิ์เป็นลำดับฟิโบนาชีเรียงกันไป.....ซึ่งผมขอตั้งชื่อเรียกก่อนว่า"พหุนามฟิโบนาชี" แล้วค่อยมาว่ากันต่อว่าพหุนามฟิโบนาชีทำอะไรได้บ้างนะครับ
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต

21 เมษายน 2018 20:29 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tngngoapm
เหตุผล: ลดเพิ่มคำในประโยคเพื่อความสละสลวยนุ่มนวลขึ้น(soft speech)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้