ดูหนึ่งข้อความ
  #9  
Old 01 สิงหาคม 2002, 20:46
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon15

ผมไปลองดูในหนังสือ 101 โครงงานคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นหนังสืออ่านเสริมระดับมัธยม โดยที่กรมวิชาการ(มั้ง) ได้ให้อาจารย์ท่านหนึ่งแปลมาอีกที เนื้อหาโดยคร่าว ๆ เขาบอกว่าเหตุที่มีการทำโครงงานคณิตศาสต์ก็เพราะว่า นักเรียนที่เรียนเลขมักจะมีคำถามว่า เรียนแล้วเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง จึงมีการคิดที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ใช้ในชีวิตจริงได้
ทีนี้ในหนังสือเขาก็แบ่งเนื้อหาของประเภทของโครงงานออกเป็นประมาณ 10 กว่าประเภท เช่น นันทนาการ,ความคิดสร้างสรร , เทคโนโลยี , ... ผมก็ลองเปิดผ่าน ๆ อ่านดู ๆแล้วส่วนใหญ่ก็รู้สึกว่า มัน Children เกินไป คือ ดูแล้วเหมือนจะเหมาะกับเด็กระดับเล็ก ๆ ไม่เกิน ม.ต้นเสียมากกว่า ผมเปิดผ่านจนเบื่อเหมือนกัน จนมาถึงอันนึง ที่ผมรู้สึกว่าเออ อันนี้น่าสนใจ น่าไปทำจริง ๆ และมีประโยชน์จริง ๆ ได้ ก็ เรื่อง บาร์โค้ด ไงครับ.

คงรู้กันอยู่แล้วนะครับ เรื่องนี้ เนื้อหามันอยู่ใน เรื่อง ทฤษฎีจำนวน แต่รายละเอียดการคำนวณนั้นเด็กมัธยมที่คูณเลขเป็นหารเลขเป็น ก็สบายบรื๋อครับ. มันก็จะเป็นเลขสิบกว่า ตัว เช่น 9 52128 54781 0 ซึ่งแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ คือด้านซ้ายและขวา อะไรอย่างนี้ รายระเอียดลงไป ดูเองนะครับ. เช่น ความหนา , ขอบดำขาว ด้านขวาหรือซ้ายมือแทนอะไร ถ้าสนใจจะนำไปทำ ทีนี้เลขมันก็ไม่ใข่ว่าตั้งสุ่มสี่สุ่มห้า มันจะมีอัลกอรึทึมของมัน เพื่อสามารถตรวจสอบได้ เช่น อาจจะเป็น (5 * 9 ) + (2*8) + (1*7) + ... (8 * 1) ต้อง = 0 mod 17 (สมมติ) หรืออาจจะะเป็นว่า ถ้าสุ่มตัวเลขมาแล้ว check ก็จะต้องสามารถตรวจสอบความถูกต้อง ได้

คราวนี้รายละเอียดที่น่าสนใจก็คือ เราสามารถให้เด็กนี่ไปเก็บบาร์โค้ดของสินค้าประเภทต่าง ๆ เช่น หนังสือ ภาษาไทย (และ TexT) , ผลิตภัณต์ต่าง ๆ เช่น ขนม, น้ำอัดลม ฯลฯ แล้วให้เด็กมาวิเคราะห์ดูว่า มันมีรูปแบบที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร จากนั้นเมื่อมีตัวอย่างมากพอจนเห็นรูปแบบ ก็อาจจะ classified ลงไปว่า หมวดผลิตภัณฑ์อย่าง ๆ นี้ จะมี รูปแบบอย่างนี้อย่างนั้น หรือ สินค้าที่ผลิตในอเมริกาจะต้องมี รหัสตัวแรก เป็นอย่างนี้ หรือ รหัส 3 ตัวต่อมาอาจจะเป็นชื่อบริษัทที่ผลิต ดังนั้นถ้ามีมากพอ เด็กก็จะมีความรู้ ถึงขนาดที่ว่าดูปั๊บรู้เลยว่ามาจากไหน ใครผลิต ฯลฯ

ต่อไปถ้ามีเวลาพอและเด็กมีความสามารถในการเขียนโปรแกรม ตรงนี้ก็น่าที่จะลองให้เด็กไปเขียนโปแกรมที่ใช้ติดต่อระหว่างบาร์ดโค้ด กับสินค้า ซึ่งตรงนี้ถ้าทำได้ เด็กก็จะมีความรู้ที่ใช้หากินได้ติดตัวไป เช่นอาจจะนำเขียนโปรแกรมให้เช่ายืมหนังสือการ์ตูน (โปรเจ็คผมในอนาคต เวลาว่างล่ะ) หรืออะไรซึ่งผมคิดว่ามันประยุกต์ได้มากมายเลย .

เอ๊ะ . เดี๋ยวผมตอบไม่ตรงคำถามล่ะมั้งนี่ สิ่งประดิษฐ์ อ๋อ. พวกที่ผมเปืดผ่านนั่นเอง เดี๋ยวจะแวะไปดูให้อีกที รู้สึกว่ามันจะมีนะ

01 สิงหาคม 2002 20:50 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้