หัวข้อ: มีคำถามครับ
ดูหนึ่งข้อความ
  #2  
Old 05 มิถุนายน 2008, 21:17
คusักคณิm's Avatar
คusักคณิm คusักคณิm ไม่อยู่ในระบบ
เทพยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 มีนาคม 2008
ข้อความ: 4,888
คusักคณิm is on a distinguished road
Default

ตรรกศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาถึงหลักการของเหตุผลที่แท้จริง ศึกษาถึงเกณฑ์การใช้เหตุผล การอ้างเหตุผลแบบใดถือว่าสมเหตุสมผล ถูกต้อง ไม่บกพร่อง ตรรกวิทยาเป็นเสมือนประตูที่จะนำเราเข้าสู่วิชาปรัชญา นั่นคือ ตรรกวิทยาไม่ใช่สิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นความรู้ แต่ตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือที่สำคัญของวิชาปรัชญาในการค้นคว้าหาความรู้ ความจริงต่าง ๆ

ตรรกวิทยาเป็นวิชาที่ต้องใช้เหตุผลอยู่ตลอดเวลา เหตุผลต่าง ๆ จะอยู่ในความคิด หรือในสมองที่ทำการคิด โดยเราสามารถทำให้ผู้อื่นรู้ถึงเหตุผลของเราได้โดยการแสดงความคิดของเราออกมาผ่านทางการใช้เครื่องหมายที่รู้กัน
ระหว่างผู้แสดงออกกับผู้รับรู้ ซึ่งเครื่องหมายที่ใช้แสดงความคิดเห็นของเราออกมานี้ ในระบบ

หนึ่งๆ เราเรียกว่า “ ภาษา ” โดยจะเป็นภาษาในรูปแบบใดก็ได้ แต่โดยหลัก ๆ แล้ว เราจะใช้ภาษาพูดเป็นภาษาที่จะใช้สื่อความคิดของเราเป็นพื้นฐาน

ภาษาที่ใช้นั้น ไม่จำเป็นว่า จะต้องแสดงเหตุผลเสมอไป เพราะนอกจากจะใช้ภาษาแสดงเหตุผลแล้ว ยังอาจใช้แสดงการบอกเล่าและสื่อถึงอารมณ์ได้ด้วย ภาษาอาจแสดงออกมาได้ 3 ลักษณะคือ

1. เหตุผล ( Reason )

2. สาธยาย ( Informatiom)

3. อารมณ์ (Emotion )



ภาษาที่ใช้แสดงเหตุผลนั้นมีลักษณะ ดังนี้

- ต้องมี 2 ข้อความ

- ข้อความหนึ่ง ต้องสนับสนุนอีกข้อความหนึ่ง เรียกว่า “ ข้ออ้าง ” ( Premise )

- ข้อความที่ถูกสนับสนุน เรียกว่า ข้อสรุป ( Conclusion )

โดยลักษณะการใช้ภาษาแบบนี้ เรียกว่า การพิสูจน์ ( Proof ) นั่นคือ การที่เราใช้เหตุผลเพื่อทำการพิสูจน์ นั่นเอง

การพิสูจน์ คือ การอ้างสิ่งที่แน่ใจได้ก่อน (ข้ออ้าง) ไปสนับสนุนเพื่อยืนยันสิ่งที่แน่ใจได้ทีหลัง (ข้อสรุป) มีวิธีการพิสูจน์ 2 วิธีด้วยกัน ดังนี้



1. วิธีนิรนัย ( Deduction ) คือ การพิสูจน์ โดยอ้างข้อความทั่วไปที่แน่ใจได้ก่อนไปสนับสนุนข้อความทั่วไปที่แน่ใจได้ทีหลัง

2. วิธีอุปนัย (Induction) คือ การพิสูจน์ โดยอ้างประสบการณ์เฉพาะหน่วยที่แน่ใจแล้ว ไปสนับสนุนข้อความทั่วไปที่ยังไม่แน่ใจให้มีความแน่ใจมากยิ่งขึ้น
__________________
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้