ดูหนึ่งข้อความ
  #10  
Old 30 สิงหาคม 2008, 20:02
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ผมก็ติดตามดู LHC อยู่เหมือนกันครับ แต่ไม่ได้สนใจในรายละเอียด เอาแค่ขอให้มันทำงานได้ แล้วก็รอฟังผลการค้นพบลูกเดียว ผมเคยต้องผิดหวังที่ project SSC (Superconducting Super Collider) เจ๊งไปทีนึงแล้ว ถ้าจำไม่ผิด SSC นี่น่าจะใหญ่กว่า LHC ด้วยซ้ำ

สำหรับผมซึ่งขนาดเรขายูคลิดยังไม่เอาไหน ก็คงไม่ต้องพูดถึง noncommutative geometry แล้วล่ะ

ส่วนข้างล่างนี่เขียนตามความเข้าใจของผมนะครับ โปรดใช้วิจารณญาณประกอบด้วย

ลำอนุภาคที่ใช้ใน LHC เป็น proton ไม่ใช่ electron และพลังงาน 5 TeV นั่นก็เป็นพลังงานต่อ 1 อนุภาคเท่านั้น นั่นคือใน head-on collision ของ 2 protons ที่วิ่งสวนกันใน LHC จะมีพลังงานได้ไม่เกิน 10 TeV แปลว่า ถ้า Higgs boson มีอยู่จริง แต่มีมวล (rest mass) มากกว่า 10 TeV LHC ก็หมดสิทธิ์ที่จะค้นพบ ยกเว้นจะ upgrade ให้เครื่องมีกำลังมากกว่านี้

สำหรับ photon ซึ่งเป็น boson ของ electromagnetic interaction (ประมาณว่าคือ ตัวที่ถ่ายทอดแรง) มีมวลเป็น 0 สนิท และนั่นคือสิ่งที่ทำให้ range ของ electromagnetic force เป็นอนันต์ (ไม่ว่าประจุไฟฟ้า 2 อันจะอยู่ไกลกันแค่ไหน ก็ยังมีแรงกระทำกันอยู่เสมอ) ในขณะที่ bosons ของ nuclear interactions หนักมาก range ของ nuclear interactions จึงสั้นมาก จำกัดอยู่แค่ระยะทางขนาดนิวเคลียสของอะตอมเท่านั้น

อันที่จริงอนุภาคจะทำร้ายเราได้มากแค่ไหน นอกจากจะขึ้นกับมวลและความเร็วแล้ว ยังขึ้นกับว่ามันทำปฏิกิริยากับสสารอย่างไรด้วย อย่าง neutrino ซึ่งมีมวล > 0 และมีความเร็วเกือบเท่าแสง ที่สาดเข้าสู่โลกอย่างมากมายมหาศาล แต่กลับแทบไม่มีผลอะไรเลย เพราะมันจะทำปฏิกิริยากับสสารผ่าน weak nuclear interaction (และ gravitational interaction) เท่านั้นครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้