ดูหนึ่งข้อความ
  #1  
Old 10 กันยายน 2008, 20:36
คusักคณิm's Avatar
คusักคณิm คusักคณิm ไม่อยู่ในระบบ
เทพยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 มีนาคม 2008
ข้อความ: 4,888
คusักคณิm is on a distinguished road
Talking เก็บตกจาก forward mail

กับดักของคนเก่ง / Intelligence Trap

มองไปรอบ ๆ ตัวของเราท่านๆ ดูสิว่า มีคนเก่ง ๆ (Highly Intelligence) จำนวนมากน้อยเพียงไรในสังคม
ครอบครัว หรือที่ทำงานของเรา บางครั้งเราเองก็คงแอบคิด (หรือคิดดัง ๆ) อยู่เหมือนกันว่าเราก็เป็นคนเก่งคนหนึ่ง
หากเราพิจารณาให้ลึกลงไปอีก เราก็จะพบว่าคนเก่ง ๆ ของเราบางท่าน ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จ
ในหน้าที่การงาน รวมไปถึงความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ในบางกรณีอาจจะหนักข้อไปถึง การถูกคนรอบข้าง
มองว่าเป็นคนเผด็จการ ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเอาเสียเลย

Edward Buono ได้อธิบายกับดักของคนเก่ง หรือ Intelligence Trap
ไว้อย่างแยบยลในหนังสือชื่อ Thinking Course

Buono ได้เปรียบเปรยว่า ความฉลาดของคนเปรียบเสมือนแรงม้าของรถยนต์ (Horse power)
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของรถยนต์คันนั้น ๆ ไม่ได้ขึ้นกับแรงม้า
แต่กลับขึ้นอยู่กับความสามารถในการขับขี่รถยนต์ (Driving Skill) ของแต่ละบุคคล
ความหมายที่แท้จริงที่เขาหมายถึง ณ ที่นี้คือ เมื่อคุณมีความฉลาดแล้ว คุณยังจำเป็นที่จะต้องมี
ความสามารถในการคิด (Thinking Skill) ซึ่งจะนำมาซึ่งการทำงานที่ประสบความสำเร็จหรือประสิทธิภาพที่ดีของผลงาน

มีข้อสรุป 2 ข้อ ของเขา ที่น่าสนใจดังนี้

1. ถ้าหากว่าเรามีรถยนต์ที่มีแรงม้าที่ดีอยู่แล้ว เราต้องพัฒนาความสามารถในการขับขี่ของเราให้ดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับรถที่มีแรงม้าแรง ๆ หากผู้ขับขี่ขาดทักษะในการขับรถนั้นจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
ต่อตนเองและผู้อื่น เปรียบเทียบไป ก็ไม่แตกต่างกับคนที่เกิดมาพร้อมกับมันสมองอันชาญฉลาด
แต่ขาดทักษะในการคิด เขาอาจจะไม่สามารถมีโอกาสได้ใช้ความฉลาดของเขาได้อย่างเต็มที่

2. หากว่าเราบังเอิญมีรถยนต์ที่มีแรงม้าต่ำ เราจะทำอย่างไร เหมือนกันกับความสามารถทางมันสมอง (IQ)
ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุกรรมมากกว่าอย่างอื่น Buono เสนอว่าในกรณีนี้ ความจำเป็นในการพัฒนาทักษะทางความคิด
(Thinking Skill) มีความจำเป็นอย่างมาก

Buono ยังสรุปต่อไปว่า จากประสบการณ์และงานวิจัยของเขากว่า 25ปี พบว่า คนจำนวนมากที่คิดว่าตนเอง
เป็นคนที่มีความฉลาดสูง (Highly Intelligence) ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีทักษะทางการคิดที่ดี

มีเหตุผลที่สำคัญ 2 ประการที่เขาได้อธิบายไว้ได้อย่างน่าสนใจดังนี้

- คนที่คิดว่าตนฉลาดนั้น มักจะมีมุมมองของตนเองในการมองเรื่องราวต่าง ๆ และใช้ความฉลาดของตน
อธิบายมุมมองของตนเอง ยิ่งคน ๆ นั้นฉลาดมากเท่าไร เขาก็ยิ่งอธิบายมันได้ดีมากขึ้นเท่านั้น
และนั่นหมายความว่าคน ๆ นี้จะยิ่งเข้าใจผิด ๆ ว่า ไม่มีใครคิดหรือตัดสินใจได้ดีกว่าตนเอง
และหากนานเข้า เขาก็จะเริ่มไม่เห็นความสำคัญที่จะต้องสอบถามหาความคิดเห็นของคนอื่น ๆ
(ก็ในเมื่อคิดเอาเองว่าตนเองคิดได้ดีที่สุดอยู่แล้ว แล้วทำไมต้องพยายามหาความคิดเห็นที่ต่างออกไปเล่า)

- ที่มากไปกว่านั้น คนที่คิดว่าตนเองเก่งกว่าคนอื่น ๆ นั้น ก็จะพยายามหาวิธีที่เขาจะสามารถใช้ความฉลาดของตนเอง
ให้ได้มากที่สุด ดังนั้นเขาจะพยายามเสาะแสวงหาวิธีการที่เร็วที่สุดเข้าสู่ความต้องการของตนเอง (ที่คิดว่าถูกต้อง)
โดยการบอกว่าคนอื่น ๆ คิดผิดหรือหาวิธีการพิสูจน์ว่าคนอื่น ๆ คิดผิด
เพื่อจะให้คนอื่น ๆ รอบตัวเห็นด้วยกับวิธีคิดของตนเองภายในระยะเวลาอันสั้น

หากคนเก่งของเรายังไม่รู้ตัวว่า เขาหรือเธอ ติดกับดักความเก่งของตัวเองเสียแล้ว
มันก็ยากยิ่งนักที่จะออกมาจากกับดักได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีตำแหน่ง
เป็นผู้บริหารระดับกลางหรือสูง เขาจะสร้างความลำบากใจให้เพื่อนร่วมงาน
เนื่องจากว่าเอาแต่ความคิดตัวเองเป็นใหญ่ จะทำการใดก็อาจจะสำเร็จได้ยาก
เพราะคนอื่นรอบตัวก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่มีความคิดเห็น และก็คงอยากได้โอกาส
ได้แสดงออกถึงความคิดของตนเองเช่นเดียวกัน ที่นอกเหนือไปจากนี้
ลูกน้องของคนที่ติดกับดักแบบนี้ ก็จะรู้สึกว่ามีเจ้านายที่เผด็จการ ลูกน้องของเขาอาจเริ่มต้น
ด้วยการพยายามจะแสดงความคิดเห็น แต่กาลเวลาผ่านไป เขาย่อมเรียนรู้ว่า
พูดไปไร้ประโยชน์ เจ้านายไม่ชอบให้คิด ก็จะเริ่มหยุดคิดทีละน้อย จนสุดท้ายก็พาลไม่คิดเสียเลย
ลูกน้องบางคนอาจจะถึงกับลาออก และที่สำคัญเราจะหาคนที่จะพยายามบอก เขาหรือเธอ
ให้เข้าใจถึงกับดักที่เขาติดอยู่ ก็ดูว่าจะยากยิ่ง
__________________
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้