ดูหนึ่งข้อความ
  #32  
Old 03 มกราคม 2005, 01:33
aaaa's Avatar
aaaa aaaa ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 มกราคม 2005
ข้อความ: 109
aaaa is on a distinguished road
Post

ครับสุดยอดจริงๆสำหรับแนวคิด เอาเป็นว่าผมขอเสนอวิธีของผมด้วยละกัน

ให้ \(a_n\) แทนเทอมที่ต้องการหาลิมิต จะเห็นได้ว่า \(a_n\) เป็นลำดับเพิ่ม และยิ่งกว่านั้น \(a_n<3\) เนื่องจากหากแทนพจน์ \(\sqrt{1+n}\) ด้วย \(1+n\) ในสูตรของ \(a_n\) ค่าที่ได้(ซึ่งเพิ่มขึ้น) จะเท่ากับ 3 พอดี ดังนั้นลำดับ \(a_n\) ลู่เข้า และ \(\lim_{n\to\infty}a_n\leq3\)

พิจารณาลำดับ
\[
b_N=\sqrt{1+N\sqrt{1+(N+1)\sqrt{1+\cdots}}}
\]
ซึ่งพิสูจน์ได้ทำนองเดียวกับข้างบนว่า \(b_N\) ลู่เข้า จะเห็นว่าถ้าตัด 1 ออกจากสูตรของ \(b_N\) ค่าที่ได้จะน้อยลง ดังนั้น
\[
b_N\geq\sqrt{N\sqrt{(N+1)\sqrt{(N+2)\sqrt{\cdots}}}}\geq\sqrt{N(N+1)}
\]

ดังนั้นเราได้ว่า
\[
\lim_{n\to\infty}a_n=\sqrt{1+2\sqrt{1+3\sqrt{1+\cdots\sqrt{1+(N-1)b_N}}}}
\]

แต่เนื่องจาก \(\sqrt{N(N+1)}=O(N+1)\) เมื่อ \(N\) มากๆ และ หากแทนพจน์ \(b_N\) ด้วย \(N+1\) ค่าที่ได้เท่ากับ 3 พอดี ดังนั้นเราสรุปได้ว่า \(\lim_{n\to\infty}a_n\geq3\)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้