ดูหนึ่งข้อความ
  #25  
Old 28 มิถุนายน 2009, 12:16
Puriwatt's Avatar
Puriwatt Puriwatt ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 กันยายน 2006
ข้อความ: 1,435
Puriwatt is on a distinguished road
Default

ผมมีความคิดเห็นคล้ายกับคุณหยินหยางมาก เพราะว่า ตอนผมเรียนมัธยมฯ ก็ไม่ได้ไปเรียนพิเศษ เนื่องจากเรียนที่โรงเรียนมาพอแล้ว และการบ้านก็น้อยมากๆ จึงมีเวลาหัดเล่นดนตรี, ว่ายน้ำ, อ่านหนังสือ ฯลฯ วัยเรียนเป็นวัยที่มีความสุข, สนุกสนานมากๆ จนบัดนี้ผมยังจำเนื้อหาที่เรียนได้หลายวิชาเลยครับ (การเรียนแบบนี้หายไปใหน?)

และจากการสังเกตุวิธีการเรียนการสอนของโรงเรียนดังๆ ในจังหวัดระยองที่ผมอยู่ และจากหลายท่านที่โพสลงในกระทู้นี้ ทำให้ผมทราบว่าเป็นปัญหาเดียวกัน คือ หลายๆโรงเรียนพยายามวางระบบจัดการ การศึกษาพื่อที่โรงเรียนจะได้มีชื่อเสียงเป็นเลิศด้านวิชาการมากขึ้น แต่อนิจจา.. การวางระบบเพื่อจัดการการศึกษาที่คิดว่าดีนั้น กลับสร้างความถดถอยมากขึ้น ทำให้ความเป็นเลิศทางวิชาการไม่สามารถเป็นจริงได้ในภาวะปกติ จึงเกิดระบบการศึกษาพิเศษนอกโรงเรียนขึ้นมากมาย สำหรับนักเรียนที่อยากจะเป็นเลิศในด้านวิชาการต่างๆ เพราะอะไร? ทำไม?

1. ผมคิดว่าผู้รับนโยบายแต่ละท่านคงจะไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ และจัดลำดับความสำคัญของแต่ละรายวิชาไม่ถูก จึงกลัวที่จะไม่มีความสำคัญ เลยให้งานหรือการบ้าน แก่เด็กแบบมากๆ จนน่าใจหาย ไม่ทราบว่าจะเรียนเพื่อให้รู้วิธีการ, ทำความเข้าใจถึงอาชีพต่างๆ(คหกรรม, ช่างไฟ, ช่างไม้, วาดเขียน ฯลฯ) หรือจะให้จริงจังถึงขนาดผู้ประกอบอาชีพนั้นๆ โดยไม่ได้ตระหนักถึงระยะเวลาที่มี และเป้าหมายการเรียนรู้ที่ได้ตั้งไว้เดิม (คล้ายกับหลงทาง) หรือ อาจจะเกิดจากประสพการณ์เดิมของครูที่ผ่านการเรียนรู้มาด้วยความยากลำบาก จึงคิดว่าเด็กทุกคนเรียนรู้ได้ด้วยวิธีการนี้อย่างเดียว ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กสามารถแยกได้ตามเด็กทั้งสี่แบบคือ อุคฆฏิตัญญู, วิปจิตัญญู, เนยยะ และปทปรมะ ตามหลักของดอกบัวสี่เหล่านั่นเอง

"อยากสร้างความเป็นเลิศ แต่ใช้วิธีการสร้างที่ผิด แล้วผลงานจะเลิศได้อย่างไร"

2. ครูบางท่านในห้องเรียนจะสอนแบบผ่านๆ แล้วแนะนำนักเรียนให้ไปเรียนพิเศษนอกเวลา จึงจะสอนละเอียด และมีตัวอย่างข้อสอบมาให้ทำ เมื่อผลสอบกลางภาคออกมา มักพบว่าเด็กที่เรียนพิเศษกับครูคนนั้น ได้คะแนนสูงกว่าเด็กอื่นที่ไม่ได้เรียนด้วย เพราะข้อสอบดันคล้ายกับโจทย์ที่ครูให้เป็นตัวอย่างนั่นเอง ทำให้ผู้ปกครองเครียดไปหลายคน เลยส่งลูกไปเรียนกับครูคนนั้นเพิ่ม ครูสร้างเวร แต่เด้กรับกรรม

ผมก็ได้แต่คิดว่า "สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามเวรตามกรรม"

3. การที่เด็กจะสอบเข้าเรียนต่อในสถาบันที่มีการแข่งขันสูงได้นั้น ต้องมีการเตรียมตัวดี ทั้งความรู้, ประสพการณ์, สภาพจิตใจ ฯลฯ ในโรงเรียนที่มีการจัดการดี จะลดปริมาณงานและการบ้านในปีสุดท้ายลงเพื่อให้เด็กมีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น อย่างที่โรงเรียนเตรียมอุดม ทำมาตลอดนั่นเอง เหมือนโค้ชที่จัดดปรแกรมฝึกซ้อมให้นักกีฬา และภายในโรงเรียนเตรียมยังมีการจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการในวิชาต่างๆ บนเวทีให้ซ้อมมืออีกด้วยครับ

(วันเดือนปีที่ผ่านมา โอ้ ต.อ.จ๋ารักยังแจ่มจ้าไม่เลือน สระน้ำคูบัวตามเตือน... )

4. ผู้ปกครองมักจะมีความอยากให้ลูกเด่นดังและเลือกเรียนอย่างที่ตนเองหวัง จึงกดดันลูกทั้งแบบที่รู้ตัวบ้างลืมตัวบ้าง ทำให้ลูกเกิดความเครียดจนขาดความสุขสดใสที่ควรจะมีจะได้ในวัยเด็ก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้และจดจำ ซึ่งทางที่ดีควรมองโลกในแง่ดี และสร้างความสุขให้ลูก เพื่อที่จะได้เป็นภูมิคุ้มกันจิตใจให้สามารถเกิดความสว่างในยามที่คิดว่าทุกข์ที่สุดในชีวิตได้ ขอฝากไว้ให้คิดครับ

"ไม่อยากทุกข์มาก ก็อย่าตั้งความหวังมากเกินไปอย่างไม่มีเหตุผล
เมื่อพยายามดีที่สุดแล้ว ถึงแม้ผลจะไม่สำเร็จดังที่หวัง ก็ยังได้ความรู้ติดตัว เอาไว้สู้ในครั้งหน้า "


5. ในแง่ของต้องการผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์ เพียงแค่ความรู้ และความเข้าใจ ยังไม่เพียงพอที่จะทำข้อสอบได้ ต้องหมั่นฝึกฝนตนเองด้วยการทำโจทย์ที่หลากหลาย จึงจะมีความชำนาญอย่างแท้จริง เสมือนการเรียนกวดวิชาเพื่อเพิ่มความมั่นใจและแสวงหาโจทย์พร้อมแนวคิดใหม่ๆ มาเพิ่มเติม แบบที่คุณหยินหยางกล่าวไว้นั่นเอง

"ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ข้อบกพร่องของตัวเองได้ และหมั่นแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ แล้วผลก็จะดีเอง
เหตุสงสัย --> ผลก็สงสัย , เมื่อทำลายความสงสัยในที่ใด ก็สิ้นสงสัยลงในที่นั้น "


ฝากไว้แค่นี้ก่อนครับ เพราะเป็กระทู้เกาหลี (แต่ก็อยากตอบ คงไม่ว่ากัน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้