ดูหนึ่งข้อความ
  #18  
Old 13 กรกฎาคม 2009, 23:55
GunUltimateID GunUltimateID ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 เมษายน 2008
ข้อความ: 229
GunUltimateID is on a distinguished road
Default

หน้า 181-183 มันน่าจะเกี่ยวกับรถด้วยว่า ขับเคลื่อนล้อหน้าหรือล้อหลัง
ลองดู http://mpec.sc.mahidol.ac.th/index.p...4&topic=1797.0
http://mpec.sc.mahidol.ac.th/forums/...ic,1932.0.html
จากลิ้งบน
ถ้าให้ผมเรียงดู

h-man:ล้อกำลังหมุนตามเข็มนาฬิกา จุดที่สัมผัสกำลังจะเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ถ้าไม่มีแรงเสียดทาน ดังนั้นแรงเสียดทานสถิตที่ทำต่อล้อจึงมีทิศไปทางขวา อย่างนี้ใช่เปล่าครับ
อ.ปิยะพงษ์ :ใช่แล้ว

ข้อมูลเพิ่มเติมจากอ.ปิยะพงษ์
"
แรงเสียดทานจลน์: แรงมีทิศต้านการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างผิวสองผิวที่สัมผัสกัน

ตัวอย่างเช่น ถ้ากล่องวัตถุไถลไปทางขวาบนพื้น (เทียบกับพื้น) พื้นออกแรงเสียดทานต่อวัตถุไปทางซ้าย

ถ้าลูกบอลกลิ้งแบบไถลไปบนพื้น ก็ให้ดูว่าผิวลูกบอลที่สัมผัสพื้นมีความเร็วสัมพัทธ์กับพื้นไปทางไหน แรงเสียดทานที่พื้นทำต่อผิวลูกบอลมีทิศตรงข้าม


แรงเสียดทานสถิต: ถ้าไม่มีความพยายามที่จะเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างผิวสัมผัสก็ไม่มีแรงเสียดทาน แต่ถ้ามีความพยายามที่จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่สัมพัทธ์ไปบนผิว แรงเสียดทานสถิตที่ทำต่อวัตถุมีทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ที่อาจเกิดถ้าไม่มีแรงเสียดทาน

ตัวอย่างเช่น ถ้าเอาก้อนวัตถุวางบนแผ่นกระดาษ แล้วดึงแผ่นกระดาษไปทางขวาโดยที่วัตถุไม่ไถลเทียบกับกระดาษ แรงเสียดทานที่ทำต่อวัตถุเป็นแรงเสียดทานสถิต ถ้าไม่มีแรงเสียดทานนี้ ก้อนวัตถุจะอยู่นิ่งเทียบกับกรอบเฉื่อย (ผิวโต๊ะ) แต่จะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายเมื่อวัดเทียบกับผิวกระดาษที่สัมผัสก้อนวัตถุ ดังนั้นแรงเสียดทานสถิืตมีทิศไปทางขวา (ตรงข้ามกับการกระจัดที่อาจเกิดนี้) ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่ไปกับกระดาษ
ในกรณีของลูกบอลกลิ้งโดยไม่ไถลบนพื้นเอียง ไม่มีการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างผิวสัมผัส แต่มีแรงโน้มถ่วงทำต่อลูกบอล ทำให้มีความพยายามที่จะเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันระหว่างผิว จึงมีแรงเสียดทานสถิตต้านความพยายามเคลื่อนที่สัมพัทธ์นี้

ลองเอาหลักการเหล่านี้ไปใช้ตอบคำถามที่ถามมาตอนต้นดู "


สำหรับโจทย์ข้อหนึ่งทำให้หมุนในทิศทวนเข็ม ถ้าเข้าใจไม่ผิดน่าจะตอบไปทางซ้ายนะครับ

13 กรกฎาคม 2009 23:58 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ GunUltimateID
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้