หัวข้อ: Physic M.4
ดูหนึ่งข้อความ
  #6  
Old 18 มีนาคม 2010, 16:13
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Talking

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Siren-Of-Step View Post
คือ ผมไปเรียนพิเศษ มาครับ

ผมงงว่า เลขที่มีค่าเท่ากัน มีัเลขนัยสำคัญไม่เท่ากัน ก็ได้ ถ้าเขียนรูปแบบไม่เหมือนกัน อันนี้จริงปล่าวครับ

Ex. 7 หมื่น 6 พันล้าน >> $76,000,000,000$ เลขนัยสำคัญ กี่ตัว ?

$76*10^9$ เลขนัยสำคัญกี่ตัว ?


ข้อ 2. แล้ว $2.00$ มันมีเลขนัยสำคัญกี่ตัว เพื่อนผมมันบอกว่า 3 ตัว

ผมคิดว่ามันมีอนันต์ อะครับ
ก่อนที่จะสนใจว่ามีเลขนัยสำคัญมีเท่าไร เราต้องทำความเข้าใจแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ก่อนว่า เลขนัยสำคัญนั้นมาจากไหน กำหนดมีหรือมีขึ้นเพื่ออะไร

เลขนัยสำคัญในทางวิทยาศาสตร์ มาจากการวัด เครื่องมือที่ใช้วัด และวัตถุที่จะวัด เช่น เรามีไม้บรรทัดแบบทั่วไปที่ใช้กันอยู่ แล้วต้องการวัดความยาวของสมุด เรานำไม้บรรทัดฝั่งเซนติเมตรไปแนบ สิ่งที่อ่านได้คือ ค่าที่เห็นที่แท้จริง และ ค่าประมาณที่เราต้องเดาอีก 1 ค่า

เช่น ความยาวที่แท้จริงมันไปตกอยู่ระหว่าง 14.7 กับ 14.8

ดังนั้น ค่าที่เราอ่านได้แน่ ๆ คือ 14.7 เซนติเมตร ส่วนที่อยู่ก้ำกึ่งนั้นเราต้องเดา เช่นเราเดาว่า 14.73

แบบนี้เลขนัยสำคัญคือ 4 ตัว

76,000,000,000 โดยทั่วไปนับ 11 ตัวครับ

แต่ถ้าบันทึกไว้ในสมุดหรือตารางว่า $76,000 \times 10^6$ แบบนี้มีเพียง 5 ตัวเท่านั้นครับ

2.00 มี 3 ตัว หมายความว่าเราอ่านจริง ๆ ได้ 2.0 แล้วเดาอีก 1 ตัว

วิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมปลาย โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าไม่มีเรื่องใดยากเป็นพิเศษนะครับ ง่ายทุกเรื่อง แต่มันจะกลายเป็นยากทุกเรื่องหรือเกือบทุกเรื่อง ถ้าพื้นความรู้ทางคณิตศาสตร์ยังไำม่ถึงพอที่จะเข้าใจที่มาของมัน ถ้าจะเรียนให้ง่าย ให้รีบศึกษาคณิตศาสตร์ ม.ปลายให้หมดเกือบทุึกเรื่อง ให้เร็วที่สุดครับ ยกเว้นบางเรื่องเช่น ทฤษฎีกราฟ, กำหนดการเชิงเส้น

ทั้งนี้เพราะฟิสิกส์มีแนวคิดซึ่งไม่ได้ลึกลับซับซ้อนอะไร แต่ใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการจัดการ การหาสูตร คำนวณ ถ้าไม่เข้าใจคณิตศาสตร์ก็จะไม่เข้าใจว่า สูตรหรือแนวคิดพวกนี้มันลอยมาจากไหน

นอกจากนี้ยังต้องเป็นคนชอบเล่นหรือสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยนะครับ เช่น เด็กผู้ชายบางคนเกิดมาไม่รู้จักไขควง ไม่เคยจับไขควงหมุนตัวน็อต เวลาไปเรียนเรื่องไฟฟ้าเรื่องกฎของสกรู ก็จะงง ต้องอ้อมไปอธิบายโดยใช้กฏมือขวาแทน อ้อ หนังสือก็มีส่วนนะครับ ถ้าหาหนังสือที่อธิบายได้ดี เรื่องดูตอนแรกงง ก็จะเข้าใจได้ไม่ยาก

สำหรับผมแล้วจัดอันดับความยากในการศึกษาของตัวเองสมัยเรียนไว้ดังนี้ครับ
คณิตศาสตร์ 100%
ฟิสิกส์ 50%
เคมี 25%

18 มีนาคม 2010 16:15 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้