ดูหนึ่งข้อความ
  #18  
Old 23 มีนาคม 2010, 22:53
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Siren-Of-Step View Post
$$A= (1!)^{2000} + 2(2!)^{2000} + 3(3!)^{2000} +.....+2000(2000!)^{2000}$$

จงหาเศษเหลือจากการหาร $A$ ด้วย $7$
จากที่เรารู้แล้วว่าตั้งแต่พจน์ของ$7(7!)^{2000}+8(8!)^{2000}+.....+2000(2000!)^{2000}$จะมีตัวประกอบของ$7$ทุกพจน์ ดังนั้นเศษจากการหารจึงเกิดจากพจน์ของ$(1!)^{2000} + 2(2!)^{2000} + 3(3!)^{2000} +4(4!)^{2000}+5(5!)^{2000}+6(6!)^{2000}$
จากที่ยกตัวอย่างให้เห็นในreplyก่อน เราต้องหาเศษจากการหารแต่ละจำนวนแล้วเอาเศษมารวมกันหารด้วย$7$อีกทีถึงจะได้คำตอบ....ผมคงต้องอ้างเรื่องทวินามหน่อยครับ ไม่งั้นคิดกันทีละวงเล็บปวดหัวตาย
เวลาเรากระจาย$(a+b)^n$ เมื่อกระจายพจน์แล้ว ถ้าถามว่าเศษจากการหาร$(a+b)^n$ด้วย$a$ เท่ากับพจน์ที่ไม่มี$a$เป็นตัวประกอบ คือ $b^n$
มาดู$(1!)^{2000}$.....ได้เศษจากการหารด้วย7 คือ $1$
$2(2!)^{2000}$....คือ$2^{2001}$ เรารู้ว่า$2^3=8=7+1$ แปลงเป็น$(7+1)^{667}$ เหลือเศษคือ $1$
$3(3!)^{2000}$ $ = 3(6)^{2000}$ เราเห็นแล้วว่า$6^2=36=35+1=7(5)+1$ จะได้$(35+1)^{1000}$
เศษของการหาร$(35+1)^{1000}$ด้วย$7$คือ 1แต่นอกวงเล็บยังเหลือเลข 3...เศษจึงได้ $3$
$4(4!)^{2000}$ $ =4(24)^{2000}$ แยก$24=6\times 4$ จะเป็น$4(6^{2000})(4^{2000})$
เราเห็นแล้วว่า$4^3=64=63+1=7(9)+1$ จะได้ว่า$4^{2001} =(7(9)+1)^{667}$ซึ่งพจน์นี้มีพจน์ที่ไม่มีเลข 7 คือ $1^{667}$ ส่วน$6^{2000}$ เมื่อกี้ได้เศษคือ 1.....ดังนั้น$4(6^{2000})(4^{2000})$หารด้วย7เหลือเศษ $1$
$5(5!)^{2000}$ $=5(120)^{2000} =5(119+1)^{2000} =5(7(17)+1)^{2000}$ จะได้ว่าพจน์$(7(17)+1)^{2000}$เหลือเศษจากการหารด้วย 7 คือ 1 แต่ยังเหลือการคูณด้วย 5...ดังนั้นเหลือเศษเท่ากับ $5$
$6(6!)^{2000}$ $=6(720)^{2000} = 6(120^{2000})(6^{2000})$...จากที่เราทำมาก่อนนี้แล้วจะได้ว่า$120^{2000}$เหลือเศษจากการหารด้วย7เท่ากับ1....และ$6^{2000}$เหลือเศษจา กการหารด้วย7เท่ากับ1
ดังนั้น$6(120^{2000})(6^{2000})$เหลือเศษจากการหารด้วย7 เท่ากับ$6$
รวมทั้งหมดเศษเหลือเท่ากับ$1+1+3+1+5+6 = 17$หารด้วย$7$เหลือเศษ$3$....
วิธีที่ผมตอบอาจยาวไปหน่อย ตามอายุกับสนิมที่เกาะในร่องสมอง อาจมีวิธีที่ลัดกว่านี้ เดี๋ยวคงมีคนมาช่วยตอบครับ
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)

28 มีนาคม 2010 12:03 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 4 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กิตติ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้